Deep vein thrombosis (DVT) โรคหลอดเลือดดำอุดตัน
ระบบการไหลเวียนของหลอดเลือดดำในร่างกายทำหน้าที่ลำเลียงเลือดดำที่มีปรีปริมาณออกซิเจนน้อยจากขาและส่วนต่างๆ ของร่างกายเข้าสู่หัวใจห้องขวาบน และไปฟอกที่ปอดเปลี่ยนเป็นเลือดแดงที่มีปริมาณออกซิเจนสูงส่งไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย นอกจากหลอดเลือดดำจะทำหน้าที่ลำเลียงเลือดแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นที่เก็บสำรองเลือด (reservoir of blood) ซึ่งพบว่าปริมาณเลือดถึงร้อยละ 75 ของปริมาณเลือดทั้งหมดในร่างกายอยู่ในระบบไหลเวียนของหลอดลดดำ
ภาวะหลอดเลือดดำอุดต้น (Deep Vein Thrombosis หรือ DVT) หรือภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ เกิดจากลิ่มเลือดอุดตันภายในหลอดเลือดดำที่ขาลึก ทำให้เกิดอาการขาบวม และขาอักเสบ การอุดตันทำให้เกิดอันตราย โดยที่อิ่มเลือดมีโอกาสหลุดจากหลอดเลือดดำลึกที่ขาขึ้นไปยังหัวใจชีกขวาและหลอดเลือดแดงปอดอุดตัน ทำให้ปอดขาดเลือดไปเลี้ยง ซึ่งอาจทำให้หัวใจหยุดเต้นอย่างเฉียบพลัน ภาวะช็อด
ไอเป็นเลือด หรืออาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงได้
สาเหตุ
Deep Vein Thrombosis เกิดจากลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำลึก ทำให้เลือดไม่ไหลเวียนไปเลี้ยงร่างกายได้ตามปกติ โดยมักเกิดการอุดตันบริเวณขา เชิงกราน หรือแขน ซึ่งการอุดตันของลิ่มเลือดเกิดได้จากหลายปัจจัยดังนี้
– ความเสียหายของผนังหลอดเลือดจากการได้รับบาดเจ็บ เช่น การบาดเจ็บของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง หรือกระดูกหัก ทำให้หลอดเลือดตีบแคบหรืออุดตัน
– การไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย โดยเฉพาะการนั่งหรืออยู่ในอิริยาบถเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เลือดไปสะสมที่บริเวณขา การไหลเวียนของเลือดจะช้าลงและทำให้เกิดลิ่มเลือดขึ้น เช่น การนั่งเครื่องบินหรือเดินทางเป็นเวลานาน รวมทั้งผู้ป่วยอัมพาตและผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถขยับตัวได้
– ความเสียหายของหลอดเลือดระหว่างการผ่าตัด และการพักฟื้นหลังผ่าตัดโดยไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย
– การได้รับยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด หรือการให้ฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy) เป็นต้น
– โรคผิดปกติทางพันธุกรรมบางโรคที่ทำให้เกิดการอุดตันของเลือดง่ายกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดร่วมกับปัจจัยอื่นที่ทำให้ลิ่มเลือดอุดตันในร่างกาย
– ภาวะตั้งครรภ์ ซึ่งทำให้เกิดแรงกดทับที่หลอดเลือดดำบริเวณขาและเชิงกราน โดยเฉพาะหญิงที่ได้รับการถ่ายทอดความผิดปกติทางพันธุกรรม บางกรณีอาจมีอาการต่อเนื่องไปจนถึงหลังคลอด 3–6 สัปดาห์
– โรคประจำตัวของผู้ป่วย เช่น โรคมะเร็ง โรคปอด โรคหัวใจ โรคที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น
– ปัญหาการแข็งตัวของเลือด ซึ่งสามารถเกิดได้จากการใช้ยา อายุที่มากขึ้น หรือภาวะโรค
– ผู้สูงอายุที่มีภาวะหลอดเลือดเสื่อม
– ผู้ที่ที่มีน้ำหนักเกิน
– ผู้ที่สูบบุหรี่
อาการ
ผู้ป่วยกว่าครึ่งอาจไม่มีอาการใด ๆ แสดงให้เห็น แต่อาการที่พบได้บ่อยของผู้ป่วย Deep Vein Thrombosis ได้แก่
– ปวด เป็นตะคริว หรือกดแล้วเจ็บบริเวณขาข้างใดข้างหนึ่ง มักเริ่มที่บริเวณน่อง บางกรณีอาจปวดขาทั้งสองข้างแต่พบได้น้อย
– บริเวณขา ข้อเท้า หรือเท้ามีอาการบวม อาจมีอาการปวดร่วมด้วย
– ผิวหนังบริเวณที่มีอาการอาจรู้สึกร้อนหรืออุ่นกว่าผิวหนังรอบ ๆ
– ผิวหนังเปลี่ยนสี เช่น ผิวซีดลง เป็นสีแดงช้ำ หรือสีม่วง เป็นต้น
– ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการลิ่มเลือดอุดตันบริเวณแขน (Upper Extremity DVT) ซึ่งอาจทำให้รู้สึกปวดคอ ปวดไหล่
– ผิวหนังมีสีเขียวคล้ำ แขนและมือบวม อาการเจ็บปวดอาจลามจากต้นแขนมาสู่ปลายแขน หรือรู้สึกมืออ่อนแรงลง
ภาวะแทรกซ้อนของ Deep vein thrombosis
เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ทันทีหลังจากมีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำหรืออาจเกิดภายหลัง โดยอาจพบอาการ ดังต่อไปนี้
1. เวียนศีรษะ
2. เหงื่อออกมาก
3. หายใจหอบถี่หรือหายใจลำบาก
4. หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
5. เจ็บหน้าอก โดยเฉพาะเมื่อไอ ก้มตัว หายใจเข้าลึก อาจจะรู้สึกเจ็บแปล๊บ ปวดแสบร้อน
หรือปวดตื้อ ๆ
6. ไอโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือไอเป็นเลือด
การรักษา
1. การดูแลตนเอง
1. เคลื่อนไหวร่างกายและเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ ในระหว่างวัน หากเป็นผู้ป่วยที่นอนพักฟื้นร่างกายหลังการผ่าตัดก็ควรขยับร่างกายเพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
2. ใช้เก้าอี้รองเพื่อหนุนขาให้สูงขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เลือดบริเวณขาไหลเวียนได้ดีขึ้น
3. ใส่ถุงน่องซัพพอร์ท (Compression Stocking) เพื่อป้องกันอาการบวม ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน และช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ทั้งนี้ ควรเลือกขนาดที่พอดีและไม่รัดแน่นจนเกินไป โดยควรสวมใส่ตลอดเวลาและใช้ตามคำแนะนำของแพทย์
3. รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และควรสังเกตอาการเลือดออกหรือผลข้างเคียงอื่นที่อาจเกิดขึ้นหลังจากรับประทานยา
ไปพบแพทย์ตามวันและเวลาที่นัดหมายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามอาการหรือปรับวิธีการรักษา และหากได้รับยาวาร์ฟาริน (Warfarin) แพทย์อาจนัดหมายให้ผู้ป่วยมาตรวจเลือดเพื่อดูค่าการแข็งตัวของเลือด
2. การรักษาโดยการใช้ยา
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants) เป็นยาที่นิยมนำมาใช้รักษาภาวะ Deep Vein Thrombosis มากที่สุด ซึ่งผู้ป่วยอาจได้รับในรูปแบบยารับประทานหรือยาฉีด เพื่อลดการจับตัวกันของเลือดเป็นลิ่มเลือด
การป้องกัน
– ไม่ควรนั่งท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน ๆ หากจำเป็นควรพักเป็นระยะ เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ หรือควรยืดขาบ่อย ๆ เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ตามปกติ
– ผู้ที่นอนพักฟื้นหลังการผ่าตัด ควรเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วและการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
– ควบคุมน้ำหนักและระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
– ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นเกินไป
ทำความรู้จักกับสมุนไพรน่ารู้
ชื่ออื่น ฝางเสน ฝางส้ม ง้าย ขวาง หนามโค้ง
สรรพคุณ ตำรายาไทย แก่นต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิต แก้ปอดพิการ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ยาฝาดสมาน แก้ท้องร่วง ธาตุพิการ แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ขับเสมหะ แก้ไอ ขับระดู เป็นยาบำรุงโลหิตสตรี แก้กำเดา ทำโลหิตให้เย็น แก้โลหิตออกทางทวารหนักและเบา แก้คุดทะราด น้ำมันระเหย เป็นยาสมานอย่างอ่อน แก้ท้องเดิน
ตำราพระโอสถพระนารายณ์ ระบุว่ายาแก้ความผิดปกติของอาโปธาตุหรือธาตุน้ำ ประกอบด้วยเครื่องยาสองสิ่งคือ เปลือกมะขามป้อมและฝางเสน ปริมาณเท่ากัน ต้มน้ำกิน 4 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน กินแก้ท้องเสียอย่างแรงและบิด
องค์ประกอบทางเคมี สารให้สีชมพูอมส้มถึงแดง (sappan red) คือ brazilein, tannin, haematoxylin, flavonoids หลายชนิด
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา จากงานวิจัยพบว่าฝางมีฤทธิ์ยับยั้งการรวมกลุ่มกันของเกล็ดเลือด ละยับยั้งการเพิ่มความเข้มข้นของแคลเซียมในเกล็ดเลือด และสารสกัดมีฤทธิ์ต้านอัดเสบอีกด้วย