What should a postpartum mother eat? คุณแม่หลังคลอก ควรรับประทานอะไร

What should a postpartum mother eat? คุณแม่หลังคลอด ควรรับประทานอะไร

หลังคลอดกินอะไรได้บ้างอาหารคุณแม่หลังคลอด ไม่ว่าจะเป็นคุณแม่ป้ายแดงที่เพิ่งคลอดบุตร หรืออยู่ในช่วงให้นมลูก คุณแม่ลูกอ่อนควรทานอาหารประเภทไหน และอาหารประเภทไหนดีที่สุดสำหรับคุณแม่และลูกน้อย คุณแม่ควรเน้นทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อฟื้นฟูร่างกายหลังคลอด

คุณแม่ยังคงต้องเข้มงวดกับการรับประทานอาหารในช่วงให้นมบุตรหลังคลอดบุตร ไม่ใช่แค่ในช่วงตั้งครรภ์เท่านั้นโดยเฉพาะในเรื่องของแคลอรีที่ต้องรับประทานมากขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อร่างกายของคุณแม่ และเพื่อผลิตน้ำนมที่มีคุณภาพและต้องมีน้ำนมเพียงพอสำหรับทารก คุณแม่ไม่ควรมองข้ามเรื่องอาหารการกิน เพราะการที่กินเข้าไปจะส่งต่อผ่านทางน้ำนมแม่ไปยังลูกน้อย ดังนั้น ไม่ว่าแม่จะกินอะไร ลูกก็จะได้รับสารอาหารเหล่านั้นเช่นกัน

1. ปลาแซลมอน ปลาที่อุดมด้วย DHA ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างสมองและระบบประสาทของเด็ก ยังช่วยปกป้องแม่จากภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอีกด้วย อย่างไรก็ตาม อย่ากินเกิน 12 ออนซ์ต่อสัปดาห์ อาจมีการสะสมของสารปรอทในตัวปลา สามารถนำไปทำเมนูง่าย ๆ เช่น โจ๊กแซลมอน สเต็กแซลมอน โจ๊กแซลมอน
2. ตระกูลถั่วในที่นี้หมายถึงถั่วเปลือกอ่อนโดยเฉพาะถั่วสีเข้มอย่างถั่วแดงนั้นมีโปรตีนและแร่ธาตุสูง จึงเหมาะสำหรับคุณแม่ที่ให้นมบุตรและผู้ทานมังสวิรัติ เพราะอุดมไปด้วยแหล่งพลังงานสูง สามารถรับประทานแทนเนื้อสัตว์ได้ดี
3. หัวปลีเป็นผักที่มีเส้นใยอาหารมาก ทั้งยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็กช่วยบำรุงร่างกาย การรับประทานหัวปลียังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของน้ำนมซึ่งสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ยำหัวปลี แกงเลียง ต้มข่าไก่ใส่หัวปลี หัวปลีต้มจิ้มกินกับน้ำพริก ทอดมันหัวปลี หัวปลีชุบแป้งทอด ผัดหัวปลี ลาบหัวปลี เป็นต้น
4. ขิงเป็นผักและสมุนไพรที่ควรรับประทานหลังคลอดบุตร ช่วยขับเหงื่อ ขับลม แก้ท้องอืด และบรรเทาอาการหวัด อาหารที่ทำจากขิง ได้แก่ ไก่ผัดขิง ข้าวปั้นในน้ำขิง เต้าหู้ในน้ำขิง มันแกวต้มขิง เป็นต้น
5. ฟักทอง ในฟักทองอุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย เช่น วิตามินเอ ฟอสฟอรัส เบต้าแคโรทีน และใยอาหาร ซึ่งดีต่อระบบย่อยอาหารของคุณแม่หลังคลอด เมนูแนะนำมีดังนี้ แกงฟักทอง แกงเลียงฟักทอง ฟักทองนึ่ง ฟักทองผัดไข่ แกงฟักทอง ฯลฯ
6. ผักและผลไม้ ที่อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุ โดยเฉพาะผักใบเขียว มีวิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม และธาตุเหล็ก เช่นเดียวกับผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะเขือเทศ แอปเปิ้ล บลูเบอร์รี่ ผักและผลไม้ช่วยเพิ่มระดับพลังงานของร่างกายรวมทั้งมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย

โภชนาการแม่ให้นมลูก กินอย่างไรให้มีคุณภาพน้ำนมที่ดี

1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ คือ อาหารที่มีโปรตีน แร่ธาตุและวิตามินต่างๆ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินโฟเลท สารโฟเลซิน วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 12 ไอโอดีน ซึ่งสารอาหารเหล่านี้มีอยู่มากในเนื้อสัตว์ เนื้อปลา อาหารทะเล ตับ เครื่องในสัตว์ นม ไข่ ถั่ว งา ผักและผลไม้
2. งดอาหารรสจัด และอาหารหมักดอง
3. รับประทานอาหารให้เพียงพอ โดยแม่ให้นมลูกโดยทั่วไปต้องการพลังงานประมาณ 2,500 กิโลแคลอรีต่อวัน
4. ดื่มนมให้ได้วันละ 2-3 แก้ว และการดื่มนมก็จะช่วยได้มาก เพราะนมมีส่วนประกอบของน้ำและสารอาหารที่ดูดซึมได้ง่ายขึ้น
5. ดื่มน้ำวันละ 1-2 ลิตร
6. เพิ่มปริมาณเนื้อสัตว์ และอาหารที่ทดแทนเนื้อสัตว์ เช่น ไข่วันละ 1 ฟอง นมแบบไขมันต่ำ 2-3 แก้ว
7. กินอาหารจำพวกธัญพืชให้ได้ประมาณร้อยละ 40 ของปริมาณอาหารที่ได้รับต่อวัน ธัญพืชที่ควรกิน ได้แก่ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต แป้งไม่ขัดสี เพราะในอาหารจำพวกธัญพืชมีบีตา-กลูแคน ช่วยเพิ่มการหลั่งของน้ำนม
8. รับประทานไขมันพืชแทนไขมันสัตว์ เพราะไม่มีโคเลสเตอรอลและยังมีกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น น้ำมันถั่วเหลือง โดย 1 วันควรได้รับไขมันทั้งหมดวันละไม่เกิน 6 ช้อนชา เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมวิตามินได้ดีมากยิ่งขึ้น
9. แม่ให้นมลูกหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ยาดอง เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และงดสูบบุหรี่
10. ออกกำลังกายพอประมาณ

อาหารต้องห้าม หลังคลอดคุณแม่ควรเลี่ยงอะไรบ้าง

1. หลังคลอด คุณแม่ต้องระมัดระวังเรื่องอาหารมากขึ้น เนื่องจากทุกสิ่งที่คุณแม่ทานสามารถส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการของลูกน้อยได้ผ่านทางน้ำนม วันนี้เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้างที่ควรเลี่ยงเพื่อให้ลูกน้อยและคุณแม่สุขภาพร่างกายแข็งแรง
2. อาหารทะเล อาหารทะเลมักมีสารเคมีปนเปื้อนสูง เช่น ปรอทหรือสารเคมีอื่นๆ ที่อาจตกค้างอยู่ในเนื้อสัตว์ทะเล หากคุณแม่ทานอาหารทะเลขณะให้นม สารเคมีเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อระบบประสาทและพัฒนาการของลูกน้อยได้
3. อาหารปรุงไม่สุกและอาหารค้างคืน การทานอาหารที่ไม่สุกหรือค้างคืนอาจทำให้คุณแม่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ท้องเสีย และหากคุณแม่ป่วย ก็อาจส่งผลต่อการให้นม ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ได้ปรุงสดใหม่และอาหารที่ค้างคืน
4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์สามารถซึมผ่านน้ำนมแม่และเข้าสู่ร่างกายของลูกน้อยได้ หากคุณแม่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยได้ แนะนำให้เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งหมดในช่วงที่ให้นม
5. ผลไม้รสเปรี้ยวบางชนิด เช่น ส้ม มะนาว และมะขาม ผลไม้รสเปรี้ยวบางชนิดอาจทำให้ลูกน้อยที่ทานนมแม่เกิดอาการผื่นคันหรือจุกเสียด เนื่องจากมีความเป็นกรดสูง ซึ่งส่งผลต่อระบบย่อยอาหารของทารกที่ยังไม่แข็งแรงพอ ควรหลีกเลี่ยงผลไม้ประเภทนี้ในช่วงให้นม
6. หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกนมถั่วเหลือง ข้าวสาลี ข้าวโพด และถั่ว อาหารเหล่านี้เป็นที่รู้กันว่ามีความเสี่ยงต่อการก่อให้เกิดอาการแพ้ในทารก หากคุณแม่บริโภคในช่วงให้นม อาจทำให้ลูกน้อยเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้ได้ ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งทานอาหารเหล่านี้
7. เครื่องดื่มและขนมที่มีสารคาเฟอีน คาเฟอีนเป็นสารที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบประสาทของทารก ทำให้ลูกน้อยมีอาการกระวนกระวายและหลับยาก ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ ชาเขียว หรือทานขนมที่มีคาเฟอีนในช่วงนี้
8. อาหารรสจัด อาหารรสจัดอาจส่งผลต่อระบบย่อยอาหารของลูกน้อย ทำให้ลูกน้อยมีอาการไม่สบายตัว จุกเสียด และอารมณ์แปรปรวนได้ ควรเลือกทานอาหารที่มีรสชาติอ่อนและย่อยง่ายเพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อย
9. อาหารที่ทำจากนมวัว โปรตีนนมวัวอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยแพ้นมได้ หากคุณแม่ทานผลิตภัณฑ์จากนมวัว ลูกน้อยอาจมีอาการแพ้ เช่น มีผื่นขึ้น ท้องอืด หรืออาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร ควรปรึกษาแพทย์หากสงสัยว่าลูกน้อยแพ้นมวัว
10. ผักและผลไม้บางชนิด เช่น กะหล่ำปลี กล้วยหอม สตรอว์เบอร์รี และพรุน ผักและผลไม้บางชนิดอาจทำให้ทารกมีอาการท้องอืด แน่นท้อง หรือมีลมในกระเพาะอาหาร ควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ในช่วงแรกๆ ที่ลูกน้อยยังต้องพึ่งพาน้ำนมแม่

ทำความรู้จักกับสมุนไพรน่ารู้

ขิง
ชื่ออื่น ขิงแกลง ขิงแดง ขิงเผือก สะเอ
สรรพคุณ ช่วยขับลม ลดอาการแพ้ท้อง และยังช่วยขับน้ำนมสำหรับคุณแม่ให้นมบุตร ช่วยคุณแม่ที่มีน้ำนมน้อย หรือน้ำนมไม่มา ให้มีน้ำนมมากขึ้นได้ โดยการเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนโพรแลคทิน ซึ่งมีหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างและหลั่งน้ำนม (lactation) เพื่อให้นมบุตรและเลี้ยงลูกอ่อนหลังคลอด
ตำรายาไทย ใช้เหง้า รักษาอาการท้องอืด เฟ้อ เสียดท้อง อาหารไม่ย่อย ปวดเกร็งช่องท้อง แก้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร รักษาอาการหวัด รักษาอาการปวดศีรษะเนื่องจากไมเกรน และรักษาอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ บำรุงธาตุไฟ ฆ่าพยาธิ สรรพคุณโบราณ ขิงแห้ง แก้ไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้หอบ แก้ลม แก้จุกเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียน อาเจียน ส่วนขิงสด ใช้แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ให้ผายลมและเรอ แก้อาเจียน ยาขมเจริญอาหาร ขับน้ำดีช่วยย่อยอาหาร แก้ปากคอเปื่อย แก้ท้องผูก ลดความดัน
      ตำราเภสัชกรรมไทย มีการใช้เหง้าขิงใน พิกัดตรีรัตตะกุลา (ตรีสัตกุลา) คือการจำกัด ตัวยาอันสามารถ 3 อย่าง ประกอบด้วย เหง้าขิงสด ผลผักชีลา และเทียนดำ ใช้อย่างละเท่าๆ กัน มีสรรพคุณ ในการบำรุงธาตุไฟ ขับลมในลำไส้ แก้อาการธาตุ
      บัญชียาจากสมุนไพร ระบุการใช้ ขิง ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ ยาธาตุบรรจบ มีส่วนประกอบของขิง ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณ บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ และอาการอุจจาระธาตุพิการ ท้องเสียที่ไม่ติดเชื้อ  ตำรับยาประสะไพล มีส่วนประกอบของเหง้าขิงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ในตำรับ มีสรรพคุณรักษาระดูมาไม่สม่ำเสมอหรือมาน้อยกว่าปกติ บรรเทาอาการปวดประจำเดือน  และขับน้ำคาวปลาในหญิงหลังคลอดบุตร  นอกจากนี้เหง้าขิงยังจัดอยู่ในบัญชียาพัฒนาจากสมุนไพรที่สามารถใช้เดี่ยว เพื่อบรรเทาอาการท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง ป้องกันและบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากการเมารถ เมาเรือ ป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน หลังการผ่าตัด


องค์ประกอบทางเคมี และ การศึกษาทางเภสัชวิทยา ของขิง

องค์ประกอบทางเคมี สารที่ให้รสเผ็ดร้อน gingerols. สาร shogaols, น้ำมันหอมระเหยและชัน (oleoresin) 4.0-7.5% ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย 1.0-3.3% สารประกอบหลักคือ sesquiphellandrene hydrocarbon 30-70% (เป็นสารที่ให้กลิ่นหอม) ได้แก่ (-)-zingiberene, (+)-ar-curcumene, (-)-beta-sesquiphellandrene, beta-bisabolene, camphene, alpha-pinene, nerol, geranyl acetate, linalool, borneol
การศึกษาทางเภสัชวิทยา พบว่ามีฤทธิ์บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ลดการอักเสบของลำไส้ใหญ่ แก้ท้องเสีย ฤทธิ์ในการลดการหดเกร็งของลำไส้ ฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคกระเพาะอาหาร ฤทธิ์ต้านการอักเสบเซลล์ในระบบประสาท ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านเชื้อปรสิต

สามสิบ (แบบกระปุก) ตรา คุณสัมฤทธิ์ สูตรใหม่

400.00 บาท740.00 บาท
Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top