How Women's Skin Changes at Every Age ผิวหนังของผู้หญิงในแต่ละวัย และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

How Women’s Skin Changes at Every Age ผิวหนังของผู้หญิงในแต่ละวัย และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

How Women’s Skin Changes at Every Age ผิวหนังของผู้หญิงในแต่ละวัย และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ผิวพรรณถือว่าเป็นสิ่งสำคัญและเป็นจุดแรกที่จะทำให้เกิดความประทับใจต่อคนที่พบเห็น โดยเฉพาะที่ใบหน้า คนผิวสวยจึงเป็นที่ชื่นชอบของบุคคลรอบข้าง ดังนั้น การดูแลรักษาผิวจึงนับว่าเป็นเรื่องสำคัญอันจะนำไปถึงสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี

เด็ก ๆ อาจจะมีผิวบางใสนุ่มนวลจนน่าอิจฉา ซึ่งเป็นลักษณะของเซลล์ที่อ่อนวัย อีกทั้งยังไม่เคยเจอกับสารพิษต่าง ๆ ที่จะทำลายผิว ไม่ว่าจะจากสภาพแวดล้อมหรือเครื่องปรุงแต่งต่าง ๆ พอเริ่มโตขึ้นมาจนถึงช่วงอายุ 30 กว่า เซลล์ผิวหนังจะเริ่มเสื่อม ความงดงามก็เริ่มลดน้อยลง การดูแลรักษาผิวจึงแตกต่างกันไปตามวัย ได้แก่ วัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยกลางคน และวัยชรา

การเปลี่ยนแปลงผิวหนังของผู้หญิงในแต่ละวัย

1. วัยเด็ก ผิวหนังมักไม่ค่อยมีปัญหา นอกจากมีการผิดปกติของผิวหนังที่ได้รับถ่ายทอดทางพันธุกรรมอยู่แล้วจนเข้าสู่วัยเรียน เมื่อเข้าโรงเรียนจะมีโอกาสเกิดผิวหนังอักเสบติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น หัด หัดเยอรมัน สุกใส หูด หูดข้าวสุก แผลพุพอง จนไปถึงหิดและเหาซึ่งจะติดต่อกันง่ายในโรงเรียน
2. วัยรุ่น ด้วยอิทธิพลของฮอร์โมนเพศ ทำให้มีขนขึ้นตามที่ต่าง ๆ ของร่างกาย และต่อมไขมันทำงานมากขึ้นจึงทำให้เกิดสิว ซึ่งเป็นโรคที่พบได้ในวัยรุ่นเกือบทุกคน รวมถึงผื่นแพ้สัมผัสจากเครื่องสำอางก็สามารถพบได้เพราะวัยรุ่น เป็นวัยที่รักสวยรักงาม และเริ่มมีการใช้เครื่องสำอางต่าง ๆ มากขึ้น อีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อย คือ ปัญหากลิ่นตัว เนื่องด้วยอิทธิพลของฮอร์โมน ทำให้ต่อมเหงื่อ ต่อมสร้างกลิ่นทำงานมากขึ้นนั่นเอง
3. วัยผู้ใหญ่วัยทำงาน เป็นวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งมีระดับฮอร์โมนเพศหญิงเปลี่ยนแปลงตามรอบเดือน ซึ่งผิวหนังก็ได้รับอิทธิพลของฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงนี้ด้วยที่พบได้บ่อย คือ ผิวหน้า เส้นผม รู้สึกมันขึ้นหรือแห้งลง ผิวหนังบวมน้ำขึ้น เป็นสิว ถ้ามีโรคผิวหนังอยู่แล้ว เช่น สะเก็ดเงิน ผื่นหน้าแดง เริม ช่วงมีรอบเดือนจะมีอาการของโรคนั้น ๆ มากขึ้นได้
4. วัยทำงาน ในบางอาชีพที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี โลหะบางอย่าง อาจทำให้เกิดผื่นผิวหนังต่าง ๆและโรคที่เกิดจากอาชีพการงานได้ ผื่นแพ้สัมผัสที่เกิดจากเครื่องสำอาง ก็พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยนี้เพราะเป็นวัยที่มีการใช้เครื่องสำอางกันทั่วไป

5. ผู้หญิงตั้งครรภ์ เป็นช่วงระยะเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนต่าง ๆ มากมาย ส่งผลทั้งต่อร่างกายและจิตใจและส่งผลต่อผิวหนัง คือ มีการสร้างเม็ดสีที่ผิวหนังบริเวณต่าง ๆ มากขึ้น เช่น หัวนม อวัยวะสืบพันธุ์ ผิวหนังบริเวณตรงกลางของหน้าท้อง ร่วมกับมีการขยายของผิวหนังมากในทุกส่วน ทั้งหน้าท้อง แขนขา ซึ่งจะทำให้เกิดรอยแตกลาย และผื่นคันได้มากกว่าปกติ ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อก็ทำงานมากขึ้นระหว่างที่ตั้งครรภ์ จึงอาจพบว่ามีเหงื่อออกมากจนเกิดผื่น ผิวหนังอักเสบจากเหงื่อ ผิวจะมันขึ้นจนอาจพบสิวที่ใบหน้า หน้าอกและแผ่นหลังได้มากขึ้น เล็บ ผมและขนตามร่างกายก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน บางคนจะมีขนตามร่างกายมากขึ้นได้ เล็บมีการร่อนได้ ส่วนผมไม่พบว่ามีการร่วงมากขึ้นหรือขึ้นดกกว่าปกติ จนกระทั่งหลังคลอดซึ่งจะมีโอกาสเกิดผมร่วงบางหลังคลอดได้
6. วัยหมดประจำเดือน เมื่อเข้าสู่อายุ 45- 55 ปี ผู้หญิงจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ในวัยนี้ฮอร์โมนเพศจากรังไข่จะลดลงมาก ซึ่งมีผลต่อผิวหนังโดยตรง ทั้งผิวหนัง ร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์ ผิวหนังจะเสียความยืดหยุ่นไป ผิวจะแห้งและบางลง ทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อของผิวหนังได้ง่ายขึ้น ผิวหนังที่แห้งก็เป็นผื่นได้ง่ายเช่นกัน
การใช้ฮอร์โมนทดแทนในวัยนี้ ก็มีผลโดยตรงต่อผิวหนัง โดยฮอร์โมนทดแทนสามารถกระตุ้นให้เกิดฝ้า หลอดเลือดฝอยที่ผิวหน้าขยาย ไฝที่มีอยู่เข้มขึ้น โตขึ้น นอกจากนี้มีรายงานว่าการให้ฮอร์โมนทดแทนอาจเกี่ยวข้องกับการเกิดผื่นลมพิษเรื้อรัง และโรคผิวหนังบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับแสงแดด
7. วัยหลังหมดประจำเดือน ผิวหนังของผู้หญิงวัยนี้ จะเสียความยืดหยุ่นไปมาก อีกทั้งเกิดริ้วรอย จุดด่างดำมากโดยเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงแดด ซึ่งผิวหนังบางลงและมีเนื้องอกของผิวหนังต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น กระเนื้อ ติ่งเนื้อ ซีสต์ ใต้ผิวหนังและมะเร็งผิวหนังชนิดต่าง ๆ ต่อมไขมันทำงานน้อยลงมาก ส่งผลให้ผิวหนังแห้ง ในบางคนผิวจะแห้งมาก จนเกิดอาการคันที่ผิวหนังเรื้อรัง และอาการคันที่ผิวหนังเรื้อรัง บางครั้งก็เป็นอาการแสดงของโรคบางโรคได้ ผมจะบางลง และมีสีผมจางลง มีผมหงอกมากขึ้น หลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนังเปราะแตกง่าย จึงอาจเกิดรอยช้ำ จ้ำเลือดใต้ผิวหนังได้บ่อย

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนมีผิวแตกต่างกัน

ได้แก่ กรรมพันธุ์ อาหาร งานอาชีพ สุขภาพอนามัย และสุขภาพจิตใจ กล่าวคือ ถ้าเกิดมาผิวพรรณดี ทำงานในร่มไม่ต้องถูกแสงแดด กินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีความวิตกกังวล หรือเคร่งเครียดมาก ย่อมจะมีผิวที่สวยงามและชะลอความแก่ลงไปได้มาก

ทำความรู้จักกับสมุนไพรน่ารู้

ว่านหางจระเข้
ชื่ออื่น ว่านไฟไหม้ (เหนือ) หางตะเข้ (ภาคกลาง)
สรรพคุณ ตำรายาไทย วุ้นใสจากใบสด รสจืดเย็น ใช้ภายนอก รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลสด แผลอักเสบเรื้อรังที่เกิดจากการติดเชื้อฝีหนอง ลดการอักเสบร้อนแดงของผิวหนัง ลดรอยแผลเป็น รักษาอาการอักเสบของผิวหนังจากสิว ฝ้า แผลถลอก แผลถูกของมีคม ทาผิวป้องกันและรักษาอาการไหม้จากแสงแดดหรือรังสี เหน็บทวารรักษาริดสีดวงทวาร ฝานวุ้นให้กลมทาปูนแดงนำมาปิดขมับทำให้เย็นดูดพิษแก้ปวดศีรษะ วุ้นจากใบสดเป็นยาเย็นใช้ชโลมเส้นผม ทำให้ผมดกเงางาม และเส้นผมสลวย เนื่องจากทำให้รากผมเย็น เร่งการงอกของผม และรักษาแผลบนหนังศีรษะ ใช้ภายใน วุ้นใสรับประทานรักษาโรคกระเพาะอาหาร บำรุงร่างกาย แก้ร้อนใน ดูดพิษร้อนภายในร่างกาย ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้อาการปวดตามข้อ ทั้งต้น รสเย็นเอียน ดองสุราดื่มขับน้ำคาวปลาหลังคลอด ราก รสขมขื่น กินถ่ายโรคหนองใน แก้มุตกิด ช้ำรั่ว น้ำยางสีเหลืองจากใบ เคี่ยวให้แห้งเรียกว่า ยาดำ  มีรสเบื่อ และเหม็นขม ใช้กินเป็นยาถ่ายยาระบายที่ออกฤทธิ์แรงมากควรใช้ในปริมาณที่น้อยมาก
ใช้ว่านหางจระเข้เพื่อบำรุงผิว โดยปอกเปลือกออกออกใช้แต่เมือกวุ้นสีขาวใสที่อยู่ภายใน ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการแพ้ ก่อนใช้ควรตรวจสอบว่าตนเองจะเกิดอาการแพ้หรือไม่ โดยใช้น้ำที่ได้จากวุ้นสีขาวของว่านทางจระเช้ทาตรงบริเวณแล้วทิ้งไว้สักครู่ ถ้าเกิดการระคายเคืองเป็นผื่นแดงแสดงว่าแพ้ ไม่เหมาะที่จะใช้กับผิวหน้าอีกต่อไป ถ้าไม่ใช้ได้ตลอด แต่บางคนก็จะเห็นผลได้เหมือนกัน เมื่อใช้ว่านหางจระเข้ทาบริเวณหัวสิว จะทำให้หัวสิวแห้งเร็ว นอกจากนี้ว่านทางจระเข้ยังสามารถลดความแห้งกร้านและละลดความมันของผิวหน้าได้โดยคนที่มีผิวที่มันก็จะช่วยให้ลดความมัน คนที่มีผิวหน้าแห้งก็ยังรักษาความชุ่มชื่นของผิวไว้ได้

องค์ประกอบทางเคมี
สารไกลโคโปรตีนจากวุ้นใส ชื่อ aloctin A, B มีฤทธิ์ลดการอักเสบ และเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นแผล แต่สลายตัวง่ายเมื่อถูกความร้อน
สารที่เป็นองค์ประกอบใน ยาดำ (น้ำยางสีเหลืองที่เคี่ยวน้ำออกหมดจนเป็นก้อนสีดำ) คือสารกลุ่มแอนทราควิโนน เช่น aloin, barbaloin (aloe-emodin), chrysophanic acid ออกฤทธิ์เป็นยาระบาย ยาถ่าย

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา 
ว่านหางจรเข้ มีฤทธิ์ในการรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ฤทธิ์ในการสมานแผล ฤทธิ์รักษาแผลไหม้จากการฉายรังสี จากความร้อน ฤทธิ์ลดการอักเสบ และฤทธิ์เป็นยาระบาย

ข้อควรระวัง 
การนำวุ้นใสจากใบมาใช้กับผิวหน้า หรือเส้นผม ต้องล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด เพราะน้ำยางสีเหลืองหากถูกผิวหนังทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังได้

สามสิบ (แบบกระปุก) ตรา คุณสัมฤทธิ์ สูตรใหม่

400.00 บาท740.00 บาท
Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top