การตอบสนองของการอักเสบของเยื่อบุผิวระบบทางเดินปัสสาวะต่อการบุกเข้าของแบคทีเรีย เนื่องจากเยื่อยุผิวระบบปัสสาวะทั้งหมดเชื่อมต่อกันทั้งหมด ทำให้ทั้งระบบของทางเดินปัสสาวะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อทั้งหมดและมีอาการของการติดเชื้อระบบปัสสาวะได้หลายแบบ ซึ่งมักสัมพันธ์กับการมีแบคทีเรียในปัสสาวะ (bacteriuna) และปัสสาวะเป็นหนอง (pyuria)
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (cystitis)
เป็นการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะซึ่งใช้ในการอธิบายทางพยาธิวิทยา จุลชีววิทยา หรือจากการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ หรือกลุ่มอาการที่ประกอบด้วยปัสสาวะขัดที่เกิดทันที ปัสสาวะบ่อย ปวดปัสสาวะต้องรีบปัสสาวะ (urgency) และปวดบริเวณท้องน้อย (suprapubic pain) ท่อปัสสาวะอักเสบ (urethritis) เป็นการอักเสบของท่อปัสสาวะในผู้หญิงอาการที่เกิดจากท่อปัสสาวะอักเสบ มักจะแยกยากจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ และพบน้อยมาก ซึ่งไม่เหมือนกับการอักเสบของท่อปัสสาวะในผู้ชาย เช่น non-gonococcal urethritis
เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ระบบทางเดินปัสสาวะอย่างไร
1. การติดเชื้อย้อนกลับขึ้นไปจากท่อปัสสาวะ (ascending infection)
แบคที่เรียส่วนใหญ่เข้าสู่ระบบทางเดินปัสสาวะจากบริเวณทวารหนักย้อนกลับขึ้นไปที่ท่อปัสสาวะแล้วเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะการย้อนกลับเข้าสู่ระบบทางเดินปัสสาวะจะพบมากขึ้นในแบคทีเรียที่มี Adbesions (เช่น P.Pilli) ที่อยู่บนผิวของแบคทีเรีย ซึ่งบอกถึงการเฉพาะเจาะจงของอวัยวะที่จะบุกเข้าไปและสามารถปรับตัวเข้ากับปัจจัยของร่างกาย
2. เชื้อโรคกระจายตัวมาทางกระแสเลือด (hematogenous route)
การติดเชื้อของไตโดยเชื้อโรคกระจายตัวมาทางกระแสเลือด พบได้ไม่บ่อยในคนปกติทั่วไป และสามารถติดเชื้อด้วย Staphylococcus aureus ในกระแสเลือด จากแผลบริเวณผิวหนัง หรือจากเข็มฉีดยา หรือ เชื้อรา (Candida) ในปาก
3. เชื้อโรคกระจายมาทางน้ำเหลือง (lymphatic route)
เป็นการกระจายโดยตรงของแบคที่เรียจากอวัยวะข้างเคียง การกระจายทางกระแสน้ำเหลืองพบน้อยมาก เช่น การติดเชื้อของลำไส้อย่างรุนแรงหรือ การเป็นหนองบริเวณหลังเยื่อบุช่องท้อง ( retroperitoneal abscesses)
ชนิดของการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (Classincation)
1. การติดเชื้อครั้งแรก (First or Isolated infection)
หรือเป็นการติดเชื้อหลังจากการติดเชื้อครั้งก่อนอย่างน้อย 6 เดือน ประมาณ 1 ใน 4 รายจะมีโอกาสติดเชื้อได้อีกในเวลา 1 – 2 ปี
2. การไม่หายจากการมีแบคทีเรียในปัสสาวะระหว่างการรักษา (Unresolved bacteriuria)
3. การติดเชื้อใหม่แบบเป็นๆหายๆ (Recurrent infections)
แบ่งได้ดังนี้ การติดเชื้อที่เป็นผลจากการคงอยู่ของแบคทีเรีย (bacterial persisis) และการติดเชื้อใหม่จากแบคทีเรียชนิดใหม่ (reinfection)
แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการอักเสบติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary pathogens)
E.Coli เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุพบบ่อยมากที่สุดในระบบทางเดินปัสสาวะ คือร้อยละ 85 นอกจากนี้ก็มีแบคทีเรียแกรมลบ (Gram-negative) ชนิด Enterobacteriaceae อื่นๆ ประกอบด้วยProteus , Klebsiella , แกรมบวก (Gram positive) E. Faecalis 10: Staphylococcus Saprophyticus
บทความที่เกี่ยวข้อง
ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ
-
Sale Product on saleผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสามสิบ ตราสมุนไพรคุณสัมฤทธิ์400.00 บาท – 740.00 บาท
-
Sale Product on saleยาน้ำผสมรากสามสิบ600.00 บาท – 1,110.00 บาท
-
Sale Product on saleยาแคปซูลผสมสมุนไพรรากสามสิบ ตรา สมุนไพรคุณสัมฤทธิ์ สูตร 2400.00 บาท – 740.00 บาท