4. แว๊กซ์ดีกว่า น้องสาวจะได้สะอาดในช่วงที่ประจำเดือนมา
ขนบริเวณจุดซ่อนเร้นที่ใคร ๆ ก็บอกว่าไม่มีประโยชน์ แถมยังทำให้หมักหมม ทำให้เกิดกลิ่นอับอันไม่น่าพึงประสงค์จนต้องกำจัดออก
แต่ว่าขนน้องสาวมีประโยชน์มากกว่าที่คิดนะคะ ซึ่งมีหน้าที่คอยปกป้อง ดูแลจุดซ่อนเร้นของเราจากสิ่งสกปรก และเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ มากมาย แต่หากใครจะตกแต่งก็ขอให้เว้นในช่วงที่มีประจำเดือนไปก่อนนะคะ เพราะในช่วงที่มีประจำเดือน เป็นช่วงที่ผิวไวต่อความเจ็บปวดได้ง่าย การกำจัดขนในช่วงนั้นอาจทำให้รู้สึกเจ็บมากกว่าปกติ ในช่วงที่เหมาะคือหลังจากที่เป็นประจำเดือนผ่านไปสักพักประมาณ 1-2 สัปดาห์
5. มีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ป้องกัน
ช่วงมีประจำเดือนหลายคนอาจคิดว่าหากมีกิจกรรมเข้าจังหวะคงปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์ แถมช่วงนี้ฮอร์โมนยังพลุ่งพล่านกว่าปกติ ถ้าไม่ป้องกันคงไม่เป็นอะไร เพราะเป็นช่วงที่ไข่ตกแล้วยังไงก็ไม่ท้องแน่นอน แต่ว่าการมีเซ็กส์ช่วงมีประจำเดือนแบบไม่ป้องกันเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเลย เพราะว่าก็มีโอกาสตั้งครรภ์ได้เช่นกัน และไม่ว่าตอนไหนก็ควรที่จะป้องกันนะคะ เพราะนอกจากจะไม่ตั้งครภ์แล้วยังลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย
และช่วงที่มีประจำเดือน เลือดยังสามารถเป็นตัวกลางในการแพร่กระจายเชื้อโรค และไวรัสต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายของเราได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
6. สายอึดนอนดึก ปั่นงาน ปาร์ตี้
สายนอนดึก ทำงานตอนกลางคืน ดูหนัง ปาร์ตี้โต้รุ่งไม่มีพักแม้วันที่ประจำเดือนมามาก เพราะคิดว่าประจำเดือนไม่สามารถเปลี่ยนการใช้ชีวิตของเราได้ ซึ่งหลายคนที่เป็นแบบนี้อาจไม่มีอาการ PMS มากวนใจ หรือไม่รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย แต่ถึงยังไงก็ควรพักนะคะ เพราะช่วงที่มีประจำเดือนร่างกายของเราต้องการพักผ่อน หากเราพักผ่อนไม่เพียงพอฮอร์โมนเกี่ยวกับความเครียดในร่างกายอาจเพิ่มขึ้น จนทำให้เสียสมดุลไปได้และส่งผลต่อรอบเดือนได้
7. ใส่ผ้าอนามัยแผ่นเดียวทั้งวัน
ผ้าอนามัยทั้งแบบแผ่น และแบบสอด ถูกออกแบบมาให้มีระยะการใช้งานประมาณ 4-6 ชั่วโมง จนกว่าประสิทธิภาพในการรองรับประจำเดือนจะเอาไม่อยู่ ถึงแม้ว่าในวันนั้นจะมาน้อยก็ตาม เพราะหากใส่ผ้าอนามัยเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนด ผ้าอนามัยอาจกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคแทน
