เช็คด่วน คุณเข้าข่ายผู้ที่มีน้ำอสุจิไม่แข็งแรงหรือไม่

เช็คด่วน คุณเข้าข่ายผู้ที่มีน้ำอสุจิไม่แข็งแรงหรือไม่

อสุจิเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชายที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่า อาจจะไม่ใช่น้ำอสุจิที่มีคุณภาพอย่างที่คิด ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับน้ำอสุจิในประเทศไทยยังคงมีเป็นจำนวนมาก โดยจากสถิติสาเหตุการมีบุตรยากที่มาจากฝ่ายชายนั้นมีมากถึง 25 % โดยหากต้องการทราบว่าน้ำอสุจิที่เรามีถูกต้องตามเกณฑ์ไหม มีความผิดปกติหรือไม่ จะมีขั้นตอนอย่างไรและมีวิธีบำรุงอย่างไรให้อสุจิของเราแข็งแรงได้อย่างไร

น้ำอสุจิ (Semen) หรือ อสุจิ (Sperm) คือ เซลล์สืบพันธุ์ของเพศชาย ตัวอสุจิจะถูกหลั่งออกมาระหว่างมีการร่วมเพศ การหลั่งน้ำอสุจิหนึ่งครั้งอาจมีปริมาณอสุจิน้อยกว่า 1% ที่เหลือคือส่วนประกอบอื่นๆ ในน้ำอสุจิที่จะทำหน้าที่คล้ายกับพลังงานเพื่อให้อสุจิใช้เดินทางไปยังระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงและปฏิสนธิกับไข่ หากการปฏิสนธิสมบูรณ์ก็ทำให้เกิดการตั้งครรรภ์ได้

วิธีสังเกตลักษณะของน้ำอสุจิที่ดี มีดังนี้

  • ปริมาตรของน้ำอสุจิ (น้ำอสุจิโดยปกติต่อการหลั่ง 1 ครั้งจะต้องมีปริมาณ 1.5 มิลลิลิตร ขึ้นไป)
  • สีของน้ำอสุจิที่หลั่งออกมา ซึ่งน้ำอสุจิที่ปกติจะมีสีเทาขาว 
  • การละลายตัว ซึ่งน้ำอสุจิจะละลายตัวกลายเป็นน้ำของเหลวประมาณ 30นาที-1ชั่วโมง
  • ความหนืด ความเป็นกรดด่างของน้ำอสุจิ น้ำอสุจิที่ปกติ เมื่อหยดด้วยไปเปตต์จะยืดยาวไม่เกิน 2 เซนติเมตร

ลักษณะของตัวอสุจิ

  • ส่วนหัว (Head) เป็นส่วนที่ประกอบไปด้วยนิวเคลียส (Nucleus) ทางส่วนหน้าสุดของส่วนหัวจะมีลักษณะเป็นถุง เรียกว่า อะโครโมโซม (acrosome) ซึ่งพัฒนามาจาก golgo bodies มีเอนไซม์ซึ่งสามารถย่อยสลายผนังเซลล์ของไข่ เรียกว่า ไฮยาลูโรนิเดส (hyaluronidase) หรือ ไฮโดรไลติก เอนไซม์ (hydrolytic enzyme) หรือ ไลซิน (lysin)
  • ส่วนลำตัว (Midpiece หรือ Middle piece) เป็นส่วนที่ต่อจากส่วนหัว มี mitochondria จำนวนมากเรียงเป็นเกลียว ทำหน้าที่สร้างพลังงานให้กับสเปิร์ม
  • ส่วนหาง (Tail หรือ Flagellum) เป็นส่วนของหลอดโปรตีน (microtubule) ที่ยื่นออกมาจาก เซนตริโอล มีหน้าที่พัดโบกให้สเปิร์มเคลื่อนที่ไปได้

สัญญาณเตือน น้ำอสุจิไม่แข็งแรง คุณภาพอสุจิไม่แข็งแรงมักเกิดจากหลายสาเหตุและพฤติกรรมบางอย่างที่ส่งผลให้อสุจิของผู้ชายอ่อนแอลง มีดังนี้

  • น้ำหนักตัวที่มากจนเกินไปจะทำให้มีปริมาณน้ำอสุจิและจำนวนตัวอสุจิน้อยลง
  • ความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ตั้งแต่กำเนิด
  • ความผิดปกติของการทำงานของต่อมไร้ท่อ
  • ยา จำพวกเคมีบำบัดบางชนิด หรือสารเคมีบางชนิดที่อาจเข้าสู่ร่างกายทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ตะกั่ว ทองแดง ยาฆ่าแมลง
  • ความผิดปกติของภูมิคุ้มกันทำให้ร่างกายทำให้สร้างสารที่เป็นอันตรายต่ออสุจิ
  • การดื่มสุรา สูบบุหรี่ทำให้การผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนและการสร้างตัวอสุจิน้อยลง
  • ภาวะเครียด ส่งผลต่อฮอร์โมนที่ใช้ผลิตอสุจิทำให้อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว
  • การออกกำลังกายที่มากเกินไป ทำให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำมีผลทำให้การผลิตอสุจิลดลง

น้ำอสุจิไม่แข็งแรง เกิดจากสาเหตุใด

ส่วนใหญ่มักเกิดจากหลายสาเหตุ การที่อสุจิอ่อนแอ ตัวอสุจิมีน้อยมักเกิดจากการที่ฮอร์โมนที่ใช้สร้างอสุจิผลิตน้อยลง หรือมีการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อคางทูมลงลูกอัณฑะ บางคนลูกอัณฑะไม่ลงถุง และอาจมีความผิดปกติของภูมิคุ้มกันทำให้ร่างกายสร้างสารที่เป็นอันตรายต่ออสุจิ สารเคมีบางชนิดที่อาจเข้าสู่ร่างกายทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ตะกั่ว ทองแดง ยาฆ่าแมลง สุรา บุหรี่และยาเสพติด ทำให้การผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนและการสร้างตัวอสุจิน้อยลง ความเครียดก็มีผลต่อฮอร์โมนที่ใช้ผลิตอสุจิในผู้ชายเช่นกัน และทำให้อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัวอีกด้วย

การตรวจน้ำอสุจิ (Semen Analysis)

สาเหตุที่ควรตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ สาเหตุที่ควรตรวจคุณภาพอสุจิ เพราะคุณภาพอสุจิไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจะต้องตรวจโดย สถานพยาบาลและผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น การตรวจดูคุณภาพอสุจิจะสามารถช่วยให้ทราบได้ถึง เกณฑ์คุณภาพอสุจิที่เรามี หากครอบครัวใดที่กำลังวางแผนจะมีบุตรแต่ปล่อยมามากกว่า 1 ปีแล้วยังไม่ตั้งครรภ์ การตรวจคุณภาพอสุจิจะเป็นการประเมินคุณภาพการสืบพันธุ์ของฝ่ายชายได้ว่า สาเหตุที่ยังไม่ตั้งครรภ์นั้นเกิดจากฝ่ายชายหรือไม่ รวมถึงหากตรวจพบเจอความผิดปกติที่ร้ายแรงจะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

ขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ การตรวจน้ำอสุจิเป็นการตรวจหาปริมาณ จำนวน การเคลื่อนไหว และความผิดปกติทางรูปร่างของตัวอสุจิ มีอยู่ 2 วิธี คือ

การตรวจดูด้วยตาเปล่า (Macroscopic Examination) เพื่อดูลักษณะทั่วไปของอสุจิ

  • ความผิดปกติของสีน้ำอสุจิโดยรวมที่หลั่งออกมา
  • ความขุ่นใสของน้ำอสุจิ
  • การละลายตัว (การละลายตัวของน้ำอสุจิไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมง)
  • ปริมาตรของน้ำอสุจิ (น้ำอสุจิโดยปกติต่อการหลั่ง 1 ครั้งจะต้องมีปริมาณ 1.5 มิลลิลิตร ขึ้นไป)
  • ความหนืด ความเป็นกรดด่างของน้ำอสุจิ

การตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic Examination)

  • จำนวนตัวอสุจิ อัตราการเคลื่อนไหว (ควรมีตัวอสุจิเคลื่อนที่อย่างน้อย 40%)
  • อัตราการมีชีวิตของอสุจิ (การรอดของตัวอสุจิโดยปกติจะต้องรอด 58% ขึ้นไป)
  • เปอร์เซ็นต์ของตัวอสุจิที่มีรูปร่างปกติ (ควรมีรูปร่างที่ปกติ 4% ขึ้นไป)
  • เม็ดเลือดขาว (เม็ดเลือดขาวในน้ำอสุจิควรมีไม่เกิน 1 ล้านเซลล์ต่อมิลลิลิตร ถ้าเกินอาจมีการติดเชื้อ)
  • เม็ดเลือดแดง (เม็ดเลือดแดงควรมีน้อยกว่า 1 ล้านเซลล์ต่อมิลลิลิตร หากพบมากกว่านี้อาจเกิดการติดเชื้อ)
Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top