Chronic Constipation ท้องผูกเรื้อรัง
อาการที่บ่งบอกได้ คือมีการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อุจจาระก้อนเล็กลงหรือแข็งขึ้น ต้องใช้แรงเบ่งมากกว่าปกติ เบ่งอุจจาระไม่ออก หรือไม่สุด ปัญหานี้ต้องได้รับการแก้ไข เพราะหากปล่อยให้เกิดภาวะเรื้อรังไปนานๆ อาจนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเป็นริดสีดวงทวาร ลำไส้ผิดปกติ หรือร้ายแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
สาเหตุ
ภาวะท้องผูก มักเกิดขึ้นเมื่อลำไส้บีบตัวหรือเคลื่อนตัวช้าในระหว่างที่ย่อยอาหาร ทำให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อมีของเสียตกค้างในลำไส้ใหญ่เป็นเวลานานจะทำให้เกิดอุจจาระที่แห้ง แข็ง และมีขนาดใหญ่ขึ้นจนขับถ่ายลำบาก เกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุหลักๆ ได้แก่
1. พฤติกรรมในชีวิตประจำวันอาจทำให้เกิดเรื้อรัง เช่น การรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อย รับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ รวมถึงอาหารแปรรูปที่มีไขมันและน้ำตาลปริมาณมาก ออกกำลังกายน้อยหรือไม่ออกเลย กลั้นอุจจาระบ่อยๆ
2. ยาบางประเภทอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเป็นอาการท้องผูกได้ เช่น ยารักษาอาการซึมเศร้า ยารักษาโรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น
3. ภาวะเจ็บป่วยบางอย่างจะส่งผลให้มีอุจจาระตกค้างในลำไส้จนทำให้เกิดอาการเรื้อรัง เช่น เกิดแผลปริที่ขอบทวารหนัก ลำไส้อุดตัน มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
4. ภาวะที่ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุลอาจทำให้เกิดปัญหาเรื้อรังได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคลำไส้แปรปรวน ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ หรือการตั้งครรภ์ เป็นต้น
5. การทำงานของลำไส้ใหญ่ผิดปกติ หรือภาวะลำไส้เฉื่อย เป็นการที่ลำไส้ใหญ่เคลื่อนไหวน้อยลงทำให้อุจจาระเคลื่อนลงมาช้ากว่าปกติ
อาการแบบไหนเข้าสู่ภาวะโรคนี้
ภาวะเรื้อรังหมายถึงการมีอาการใดอาการหนึ่ง ดังนี้
1. การมีอุจจาระแข็ง
2. ความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระลดลงกว่าปกติ หรือน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
3. ใช้เวลานานในการเบ่งถ่าย
4. มีความเจ็บปวดเวลาเบ่งถ่ายหรืออุจจาระมีเลือดปนออกมา
5. หลังถ่ายอุจจาระเรียบร้อยแล้วแต่ยังมีความรู้สึกถ่ายไม่หมดหรือถ่ายอุจจาระไม่สุด
อาจเป็นสัญญาณมะเร็งลำไส้ใหญ่
หากเกิดอาการอาการใดอาการหนึ่ง หรือตั้งแต่ 2 อาการขึ้นไป ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป ได้แก่
• ท้องผูกอย่างต่อเนื่องนานกว่า 2 สัปดาห์
• ท้องเสียเล็กน้อยนาน 1 สัปดาห์
• ท้องเสียอย่างรุนแรงนานเกิน 2 วัน
• ถ่ายเหลวและถ่ายเป็นเลือด
• อุจจาระมีสีดำ
• ปวดถ่ายอุจจาระในแบบที่ต้องถ่ายทันทีอย่างหาสาเหตุไม่ได้
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก หากใครไม่อยากมีปัญหาเรื้อรังได้แก่ ควรฝึกขับถ่ายให้เป็นนิสัย พยายามขับถ่ายให้ตรงเวลา ไม่กลั้นอุจจาระโดยไม่จำเป็น ปวดเมื่อไหร่ควรรีบไปเข้าห้องน้ำ นั่งขับถ่ายในท่านั่งที่เหมาะสม รับประทานผักผลไม้ที่มีกากใย ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวัน ออกกำลังกายตามความเหมาะสม ฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เพราะในบางครั้งปัญหาท้องผูกอาจเกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวทำงานบกพร่อง เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์แนะนำที่ช่วยในการขับถ่ายได้ง่าย
-
Sale Product on saleยาระบาย ชนิดแคปซูล ตราสมุนไพรคุณสัมฤทธิ์350.00 บาท – 1,280.00 บาท