ปัจจัยที่กระตุ้นที่ทำให้เกิดการกำเริบ
อาการปวดศีรษะเกิดได้จากหลายปัจจัย ดังนี้
• ทางตา ได้แก่ แสงจ้า แสงระยิบระยับ การใช้สายตา
• ทางหู ได้แก่ เสียงดัง ๆ หรือเสียงจอแจ จ้อกแจ้ก
• ทางจมูก ได้แก่ กลิ่นฉุน เช่น น้ำหอม บุหรี่ น้ำมันรถ
• ทางลิ้น ได้แก่ การกินอาหาร และเครื่องดื่มต่าง ๆ เช่น กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
• ทางกาย ได้แก่ มีประจำเดือน อากาศร้อน-เย็นเกินไป การอดนอนหรือนอนตื่นสาย
• ทางใจ ได้แก่ เครียด อารมณ์หงุดหงิด โมโห ตื่นเต้น ตกใจ
ปวดศีรษะแบบไหนถึงเรียกว่า ไม-เกรน
• ปวดศีรษะข้างเดียวหรือเริ่มปวดจากข้างเดียวก่อนแล้วค่อย ๆ เริ่มปวดทั้ง 2 ข้าง
• ปวดตุบ ๆ คล้ายมีอะไรเต้นหรือเหมือนโดนอะไรบีบตรงบริเวณขมับปวดเป็นระยะ ๆ
• มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
• การปวดจะกินระยะเวลานานหลายชั่วโมง แต่จะไม่นานเกิน 1 วัน
• ความรุนแรงของอาการปวด มีตั้งแต่ปวดปานกลางจนถึงรุนแรงมาก ระยะเวลาในการปวดแต่ละครั้งส่วนใหญ่ประมาณ 4-7 ชม.
• อาการปวดจะกำเริบหรือรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีความเครียด อากาศร้อน แสงจ้า หรืออดนอน
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้
• ควบคุมปัจจัยสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ อากาศ แสงไฟกะพริบ กลิ่นฉุน
• ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
• หากิจกรรมทำเพื่อลดความเครียด เช่น ฟังเพลง ดูหนัง อ่านหนังสือ
• กินยาตามแพทย์สั่ง
• การนอน ควรนอนให้เป็นเวลา
• งดการใช้ยาเกี่ยวกับฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิด
การดูแลตัวเองเมื่อเกิดอาการนี้
• รับประทานยาตามแพทย์สั่งเมื่อมีอาการปวด
• นอนพักหรือนั่งพักในห้องที่เงียบ และอากาศปลอดโปร่ง
• ผ่อนลมหายใจเข้า-ออกแรง ๆ สักพักแล้วอาการจะดีขึ้น
• ใช้นิ้วมือนวดเบา ๆ หรือใช้น้ำแข็งประคบบริเวณขมับ
การรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคนี้
• หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารไทรามีน (tyramine) เช่น เนยแข็ง เนื้อสัตว์แปรรูป ของหมักดอง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
• หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ
• หลีกเลี่ยงของหวานที่มีส่วนผสมของช็อกโกแลต โกโก้
• รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่