Menstruation ประจำเดือนแบบไหนไม่ปกติ?

Menstruation ประจำเดือนแบบไหนไม่ปกติ?

Menstruation ประจำเดือนแบบไหนไม่ปกติ?

ในผู้หญิงทุกคน เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นก็จะมีสิ่งที่เรียกว่าประจำเดือนออกมาตามรอบเดือน ประจำเดือนนั้นไม่ใช่ของเสียอย่างที่หลาย ๆ ท่านเข้าใจ แต่คือสิ่งที่เกิดจากการหลุดลอกตัวของผนังเยื่อบุโพรงมดลูกที่เตรียมไว้สำหรับรับการฝังตัวของตัวอ่อน เมื่อไม่ได้มีการฝังตัวผนังจึงผลัดออกมาตามการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในแต่ละเดือน ดังนั้น ประจำเดือนจึงควรออกเป็นรอบ ๆ อย่างสม่ำเสมอ ในปริมาณที่เหมาะสม

ประจำเดือนคืออะไร?

ประจำเดือน (Menstruation) หมายถึง การที่มีเลือดออกมาทางช่องคลอดเป็นประจำทุกเดือน
เป็นอาการแสดงความพร้อมของร่างกายสู่การเจริญพันธุ์ ประจำเดือนเกิดจากการที่สมองหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองมากระตุ้นรังไข่ให้สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้จะทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น เพื่อเตรียมรอรับการฝังตัวของตัวอ่อน ในแต่ละเดือนจะมีไข่ตกเดือนละ 1 ฟอง หากไม่มีการปฏิสนธิหรือไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขิ้น เยื่อบุโพรงมดลูกที่เตรียมไว้รอรับตัวอ่อนก็จะหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน

ประจำเดือนที่ปกติมีลักษณะเป็นอย่างไร

• ประจำเดือนมักมีสีแดง ไม่มีลิ่มเลือดหรือชิ้นเนื้อปน บางครั้งประจำเดือนอาจออกมาพร้อมกับตกขาวจึงดูเป็นก้อนได้แต่ไม่อันตราย
• ประจำเดือนมักไม่เกิน 7 วันต่อรอบ และมาเพียง 1 รอบต่อเดือน แต่ในบางครั้ง หากมีรอบเดือนในช่วงต้นเดือน อาจมีรอบเดือนอีกครั้งในช่วงวันท้าย ๆ ของเดือนได้
• โดยเฉลี่ยแล้ว แต่ละรอบประจำเดือนจะห่างกัน 28 วัน แต่สามารถเป็นได้ตั้งแต่ 21 ถึง 35 วัน โดยในแต่ละคนควรมีรอบเดือนที่สม่ำเสมอในทุก ๆ เดือน อย่างไรก็ตามในช่วงปีแรก ๆ ที่เริ่มมีประจำเดือนหรือในวัยใกล้หมดประจำเดือนอาจไม่สม่ำเสมอได้
• ปริมาณประจำเดือน ที่ปกตินั้นไม่ควรเกิน 80 ซีซี โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 35 ซีซีต่อรอบ เทียบได้กับผ้าอนามัยประมาณ 3-4 ผืนต่อวัน

เลือดออกผิดปกติแบบไหนที่ควรมาพบแพทย์

• เลือดออกตามรอบเดือน แต่มาปริมาณมากผิดปกติ เปลี่ยนผ้าอนามัยถี่ขึ้น ใช้ผ้าอนามัยผืนใหญ่ขึ้นหรือต้องใช้ผ้าอ้อมอนามัย มีลิ่มเลือดปน เริ่มมีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม รวมถึงตรวจพบว่ามีภาวะเลือดจาง
• เลือดออกยาวนานขึ้น เช่น จากปกติมีรอบเดือนไม่เกิน 7 วัน แต่มียาวนานขึ้นเป็น 10 วัน
• มีเลือดออกกะปริบกะปรอยนอกรอบเดือน หรือมีประจำเดือนมากกว่า 1 รอบต่อเดือน
• เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์
• เลือดออกหลังหมดประจำเดือน หลังหมดประจำเดือนแล้ว ฮอร์โมนเพศหญิงจะค่อย ๆ ลดลงจนหมดไป จึงไม่ควรกลับมามีประจำเดือนอีก หากมีเลือดออกจากช่องคลอดควรมาพบแพทย์เพื่อประเมินทุกครั้ง
• ประจำเดือนไม่มาตามรอบ หรือประจำเดือนไม่มาติดต่อกันหลายเดือน

ภาวะขาดประจำเดือน (Amenorhea) คืออะไร?

ภาวะขาดประจำเดือน (Amenorrhea) หมายถึง ภาวะใดภาวะหนึ่งที่ทำให้ไม่มีเลือดประจำเดือนออกมาตามปกติ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ภาวะขาดประจำเดือนปฐมภูมิ (Primary Amenortea) คือ ผู้หญิงอายุ 18 ปีแล้ว แต่ยังไม่เริ่มมีประจำเดือน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้หญิงมักจะเริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุ 12 ปี
2. ภาวะขาดประจำเดือนทุติยภูมิ (Secondary Amenorhea) คือ ผู้หญิงที่เคยมีประจำเดือนมาก่อน แต่ต่อมาประจำเดือนขาดหายไปอย่างน้อย 6 เดือน หรือ 3 รอบเดือน

สาเหตุใดที่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ?

1. ความเครียด
2. ตั้งครรภ์ หรือการให้นมบุตร
3. วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุระหว่าง 45-55 ปี เนื่องจากระดับฮอร์โมนเริ่มลดลง ทำให้ไข่ตกไม่สม่ำเสมอหรือไม่ตกเลย
4. น้ำหนักเพิ่มหรือลดมากเกินไป สำหรับผู้ที่น้ำหนักตัวน้อยจะมีไขมันน้อย ซึ่งจำเป็นต่อการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตก ส่วนผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากอาจส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป
5. การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ยารักษาทางจิตเวช ยาต้านซึมเศร้า ทำเคมีบำบัด ยารักษาความดันโลหิตสูง และสารเสพติดอื่น ๆ เป็นต้น
6. ในบางรายอาจเกี่ยวข้องกับการที่อวัยวะสืบพันธุ์มีความผิดปกติ เช่น เนื้องอก หรือการติดเชื้อที่มดลูก ภาวะพังผืดในโพรงมดลูก เป็นต้น

ประจำเดือนมาไม่ปกติบอกปัญหาอะไรได้?

1. เกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ : Polyaystic Ovarian Syndrome (PCOS) เป็นความผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่พบบ่อยในผู้หญิงช่วงอายุ 18-45 ปี เกิดจากความผิดปกติขอฮอร์โมนหลายตำแหน่งรวมทั้งที่รังไข่ ทำให้มีฮอร์โมนเพศชายมากกว่าปกติ อาการแสดงของฮอร์โมนเพศชายเกิน เช่น หน้ามัน สิวขึ้นง่าย ขนดก
2. รังไข่เสื่อมก่อนกำหนด ผู้ที่ประจำเดือนไม่มาจากสาเหตุนี้สามารถรักษาด้วยยาคุมกำเนิดแบบเม็ด หรือกลุ่มยาฮอร์โมนทดแทน

วิธีการดูแลสุขภาพตนเองเมื่อประจำเดือนมาไม่ปกติ

1. ลดภาวะเครียด
2. พักผ่อนให้รู้สึกผ่อนคลาย
3. เลือกรับประทานอาหารให้ครบถ้วนและเหมาะสม
4. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
5. หลีกเลียงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ได้แก่ สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เป็นต้น

แพทย์จะให้การรักษาอย่างไร

• แพทย์จะซักประวัติเบื้องต้น โดยเฉพาะประวัติทางสูตินรีเวช ได้แก่ ประวัติการตั้งครรภ์ ประวัติการคุมกำเนิด ประวัติการตรวจภายในและตัดกรองมะเร็งปากมดลูก รวมถึงประวัติประจำเดือนย้อนหลัง
• ตรวจร่างกาย การตรวจภายใน และอาจใช้การอุลตร้าซาวด์อวัยวะอุ้งเชิงกรานร่วมด้วยหากแพทย์สงสัยว่ามีความผิดปกติ
• ตรวจประเมินว่ามีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ อาจจำเป็นต้องส่งตรวจปัสสาวะเพื่อประเมินการตั้งครรภ์
• ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของเยื่อบุโพรงมดลูก และอาจใช้เครื่องมือดูดชิ้นเนื้อในโพรงมดลูกไปตรวจในรายที่มีความเสี่ยง

ผลิตภัณฑ์แนะนำที่ดูแลภายในสตรี

Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top