Common skin diseases during the rainy season โรคผิวหนังที่พบบ่อยในฤดูฝน

Common skin diseases during the rainy season โรคผิวหนังที่พบบ่อยในฤดูฝน

Common skin diseases during the rainy season โรคผิวหนังที่พบบ่อยในฤดูฝน

เมื่อเข้าสู่ช่วงหน้าฝนหรือมีความชื้นมากในอากาศ ก็มักจะมีเชื้อโรคที่ส่งผลต่อผิวหนังของเรา ซึ่งบทความนี้เราจะมาพูดถึงและทำความรู้จักกับโรคผิวหนังที่สามารถเกิดขึ้นมาได้ พร้อมกับวิธีป้องกันเบื้องต้น

โรคเชื้อราที่ผิวหนัง

โรคเกลื้อน (Pityriasis versicolor) เกิดจากเชื้อรา Malassezia furfur ลักษณะผื่นเป็นวงหลายวง ขอบเขตชัดเจน มีขุยละเอียด เป็นได้หลายสี ทั้งสีขาว แดง ชมพู หรือสีน้ำตาล ขึ้นอยู่กับสีผิวของผู้ป่วย อาจไม่มีอาการ หรือมีอาการคันเล็กน้อยได้ มักพบบริเวณหน้าอก หลัง คอ และพบได้บ่อยในผู้ที่มีเหงื่อออกมาก หรือใส่เสื้อผ้าอับชื้น 
การป้องกัน อาบน้ำ ชำระล้างเหงื่อไคลอยู่เสมอ ไม่ใช้ผ้าเช็ดตัวหรือเสื้อผ้าที่อับชื้น
การรักษา ยาฆ่าเชื้อรา ซึ่งมีทั้งยาทาภายนอก และยารับประทาน
– โรคกลาก (Tinea) เกิดจากเชื้อรากลุ่ม Dermatophytes ลักษณะผื่นเป็นวงกลมสีแดงนูน ขอบชัดและมีขุยที่ขอบ บางชนิดอาจมีการอักเสบรุนแรงเป็นตุ่มหนองได้ มักมีอาการคันร่วมด้วย พบได้หลายบริเวณ เช่น ลำตัว ใบหน้า ขาหนีบ มือและเท้า ผื่นมักขยายออกเป็นวงกว้าง หากไม่ได้รับการรักษา 
การป้องกัน ติดต่อทางการสัมผัส โดยขึ้นกับชนิดและแหล่งของเชื้อรา เช่น ติดจากคน สัตว์ หรือสิ่งแวดล้อม
การรักษา ยาฆ่าเชื้อราชนิดทาภายนอกหรือชนิดรับประทาน ขึ้นกับความรุนแรงของโรค
— โรคเชื้อราแคนดิดาที่ผิวหนัง (Cutaneous candidiasis) เกิดจากเชื้อรากลุ่ม Candida ลักษณะผื่นเป็นปื้นแดงใหญ่ ขอบเขตชัด มีผิวหนังเปื่อย และมีตุ่มแดงเล็ก ๆ กระจายอยู่รอบ ๆ มักมีอาการคัน พบบริเวณซอกพับที่มีการอับชื้น เช่น รักแร้ ใต้ราวนมและขาหนีบ เป็นต้น พบได้บ่อยในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ภาวะอ้วน และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
การป้องกัน ดูแลรักษาความสะอาด คอยซับเหงื่อให้แห้งอยู่เสมอ ลดความอับชื้น
การรักษา ยาทาฆ่าเชื้อรา

ผื่นผิวหนังอักเสบจากแมลง

– ตุ่มแมลงกัด (Insect bite) ลักษณะผื่นจากแมลงโดยทั่วไป เช่น มด ยุง หมัด ไร มักเป็นตุ่มแดง หรือตุ่มที่มีลักษณะคล้ายลมพิษ มักมีอาการคัน และอาจมีรอยดำตามหลังการอักเสบได้ ควรหลีกเลี่ยงการเกา เนื่องจากอาจทำให้เกิดแผลและมีการติดเชื้อตามมาได้ 
การป้องกัน สวมเสื้อผ้าที่ปกปิด กำจัดแมลงบริเวณที่อยู่อาศัย
การรักษา ยาทาลดการอักเสบกลุ่ม steroids หากผื่นเป็นมาก แนะนำให้มาพบแพทย์
– ผื่นผิวหนังอักเสบจากแมลงก้นกระดก (Paederus dermatitis) หากสัมผัสโดนจะเกิดการอักเสบระคายเคืองอย่างรุนแรง ผื่นมักจะขึ้นหลังสัมผัสสารพิษประมาณ 24 ชั่วโมง มีลักษณะเป็นผื่นแดงขอบชัด อาจมีรอยไหม้เป็นทางยาวได้ ซึ่งเป็นรอยที่เกิดจากการปัดแมลง อาจมีผื่นบริเวณข้อพับประกบกัน จากการที่มีแมลงไปอยู่บริเวณซอกพับดังกล่าว มักมีอาการแสบ และอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ 

การป้องกัน

1. สำรวจบริเวณที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามที่นอน
2. ถ้าเจอแมลงก้นกระดก ไม่แนะนำให้บี้หรือสัมผัสโดยตรง อาจใช้อุปกรณ์จับหรือใช้เทปแปะเพื่อนำตัวแมลงออก

การรักษา

1. หากสัมผัสแมลงก้นกระดก ให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำสบู่ทันที แล้วประคบเย็นบริเวณที่สัมผัส
2. หากผื่นอักเสบมาก ให้มาพบแพทย์
– โรคน้ำกัดเท้า (Athlete’s foot) เกิดจากเชื้อรากลุ่ม Dermatophytes โรคน้ำกัดเท้า หรือ “ฮ่องกงฟุต” เป็นโรคที่พบบ่อยในช่วงฤดูฝนที่มีน้ำท่วมขัง ผื่นมักเป็นบริเวณง่ามนิ้วเท้า มีลักษณะเป็นสีขาว ยุ่ย ลอก หรือแตกเป็นแผลได้ มักมีอาการคัน และอาจมีกลิ่นเหม็นที่บริเวณเท้าร่วมด้วย 
การป้องกัน หลีกเลี่ยงการย่ำน้ำขัง หากจำเป็นให้ใส่รองเท้าบูท ล้างเท้าด้วยน้ำและสบู่ เช็ดเท้าให้แห้งอยู่เสมอ
การรักษา ยาฆ่าเชื้อราชนิดทาภายนอกหรือชนิดรับประทาน ขึ้นกับความรุนแรงของโรค
– โรคเท้าเหม็น (Pitted keratolysis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้มีหลุมบริเวณฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้าและเท้ามีกลิ่นเหม็น มักพบในคนที่ต้องใส่รองเท้าบูท รองเท้าคอมแบท รองเท้ากีฬาเป็นเวลานาน หรือคนที่มีเหงื่อออกเท้าเยอะ
การป้องกัน เปลี่ยนรองเท้าและถุงเท้าบ่อย ๆ ทำความสะอาดรองเท้าเป็นประจำ
การรักษา ยาทาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

ทำความรู้จักกับสมุนไพรน่ารู้

ทองพันชั่ง
ชื่ออื่น ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่ (ภาคกลาง)
สรรพคุณ ใบ ดับพิษไข้ แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน แก้โรคไขข้ออักเสบ รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคความดันโลหิตสูง แก้ผมร่วง บำรุงร่างกาย แก้โรค 108 ประการ แก้ปวดฝี แก้พิษงู ถอนพิษ แก้อักเสบ แก้โรคมุตกิต รักษาโรคพยาธิวงแหวนตามผิวหนัง ราก แก้กลากเกลื้อน รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคผิวหนัง ดับพิษไข้ แก้พิษงู แก้พยาธิวงแหวนตาผิวหนัง ทั้งต้น รักษาโรคผิวหนัง แก้น้ำเหลืองเสีย แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน รักษามะเร็ง คุดทะราด ขับพยาธิตามผิวหนัง ตามบาดแผล แก้ไส้เลื่อน ไส้ลาม แก้ปัสสาวะผิดปกติ
องค์ประกอบทางเคมี ใบพบสารสำคัญคือ rhinacanthin และoxymethylanthraquinone รากมี Resin Rhinacanthin (1.9 เปอร์เซ็นต์) มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคได้ มีเกลือโปตัสเซียส และมี Oxymethylanthraquinone นอกจากนี้ยังพบสาร Quinone, Rutin (quercetin – 3 – rutinoside)
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและยีสต์ สาร rhinacanthin C, D และ N จากใบทองพันชั่ง สามารถยับยั้งยีสต์ Candida albicans ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อราในช่องปากและช่องคลอด ฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส

อิมมูตี้ (สมุนไพรพลูคาว) ตราคุณสัมฤทธิ์

400.00 บาท740.00 บาท
Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top