Cramp ตะคริว

Cramp ตะคริว

Cramp ตะคริว

เกิดจากการที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหรือหลายมัดเกิดการหดตัวกะทันหัน ทำให้รู้สึกปวดจี๊ดและมักรุนแรง ซึ่งอาจเกิดจากการที่ออกกำลังกายอย่างหนักโดยเฉพาะในเวลาที่อากาศร้อน ยาหรือโรคบางอย่างอาจส่งผลให้เป็นตะคริวได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามตะคริวเป็นปัญหาที่ไม่ร้ายแรงและสามารถหายได้โดยการนวดเบา ๆ หรือประคบร้อนหรือเย็นด้วยตนเอง
อาการเกร็งตัวหรือหดเกร็งที่ทำให้มีอาการปวดและเป็นก้อนแข็งของกล้ามเนื้อเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ร่วมกับมีอาการปวดหรือเจ็บกล้ามเนื้อมัดที่เกิดการหดเกร็ง โดยมักเกิดขึ้นในขณะออกกำลังกาย เดิน หรือในขณะนั่งพักหรือนอนพักเป็นเวลานาน ๆ

สาเหตุ

สาเหตุของการเป็นตะคริวยังไม่เป็นที่แน่ชัด โดยมีทั้งตะคริวประเภทที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุและประเภทที่มีสาเหตุร่วมด้วย ตะคริวมักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต โรคประจำตัว และการใช้ยาบางชนิด ได้แก่
– การใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป เช่น การออกกำลังกาย ซึ่งตะคริวมักจะเกิดขึ้นขณะที่กำลังพักหลังจากการออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายในที่ที่อากาศร้อน
– โรคตับ หากตับทำงานได้อย่างไม่ถูกต้อง จะทำให้เกิดสารพิษไปยังกระแสเลือด ซึ่งสามารถทำให้กล้ามเนื้อเกิดการกระตุกหรือหดเกร็งตัว
– โรคไต อาจทำให้มีเกลือแร่บางชนิดต่ำ และส่งผลให้มีตะคริวได้
– ภาวะเกลือแร่ในร่างกายต่ำ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม
– โรคที่ทำให้มีภาวะแคลเซียมต่ำ เช่น บกพร่องฮอร์โมนพาราไทรอยด์
– ภาวะขาดน้ำ สามารถกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเป็นตะคริวได้
– ยาบางชนิดสามารถทำให้เกิดตะคริวได้ในบางราย ได้แก่ ยาขับปัสสาวะ ซึ่งจะขับของเหลวออกจากร่างกายและใช้เพื่อรักษาโรคหรือภาวะต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจวายและโรคเกี่ยวกับไตบางประเภท กลุ่มยาสแตติน (Statins) ใช้รักษาผู้ที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยง

ที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นตะคริว
– อายุ ผู้สูงอายุที่เสียมวลกล้ามเนื้อไปมากแล้ว กล้ามเนื้อที่เหลือสามารถเกิดความตึงเครียดได้ง่าย
– การเสียน้ำของร่างกาย นักกีฬาที่อ่อนล้าและเสียเหงื่อมาก ซึ่งเล่นกีฬาในที่ที่มีอากาศร้อนมักจะเกิดตะคริวได้ง่าย
– การตั้งครรภ์ การเกิดตะคริวจะพบได้บ่อยในหญิงที่กำลังตั้งครรภ์
– โรคประจำตัวหรือภาวะทางการแพทย์ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับเส้นประสาท โรคตับหรือไทรอยด์

อาการ

เมื่อเป็นตะคริวจะรู้สึกไม่สบายตัวเล็กน้อยหรืออาจจะปวดทรมาณมาก กล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวจะแข็งและบิดตัว ซึ่งอาจเป็นนานไม่กี่วินาทีหรือมากกว่า 15 นาที และอาจเป็นซ้ำได้หลายครั้ง อาการที่พบได้บ่อย
– รู้สึกเจ็บปวดอย่างรุนแรง และอาการไม่ดีขึ้นหลังจากดูแลตัวเอง
– ขาบวมแดง หรือผิวหนังเปลี่ยนแปลงไป
– กล้ามเนื้ออ่อนแรง

การรักษา

– หากมีอาการสามารถรักษาอาการได้ด้วยตัวเอง เช่น การประคบร้อนและประคบเย็นเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดบริเวณกล้ามเนื้อที่เจ็บ หดเกร็ง หรือกล้ามเนื้อกระตุก
– หากการเป็นตะคริวนั้นรบกวนการนอนแพทย์อาจจ่ายยาให้รับประทานเพื่อบรรเทาอาการปวด แต่ไม่มียารับประทานหรือยาฉีดใด ๆ ที่ช่วยให้หายเป็นตะคริวได้ทันที
– การออกกำลังแบบยืดเหยียดช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นตะคริวได้

การป้องกัน

– ดื่มน้ำให้มาก ๆ ในแต่ละวันเพราะกล้ามเนื้อต้องการน้ำเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ โดยเฉพาะเวลาออกกำลังกายควรจิบน้ำบ่อย ๆ
– รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพที่อุดมไปด้วยแคลเซียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียม โดยเฉพาะผู้ที่ตั้งครรภ์
– ยืดและเตรียมกล้ามเนื้อก่อนการเล่นกีฬาและการออกกำลังกายต่าง ๆ
– ลดปริมาณการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น กาแฟ ช็อกโกแลต เป็นต้น และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การบริหารร่างกายเสริมความแข็งแรงของน่อง เพื่อป้องกันตะคริว

1.Bodyweight Calf Raise
ยืนตรงกางเท้าออกประมาณความกว้างของหัวไหล่ หันหน้าเข้าหากำแพงและเอามือยันไว้ เขย่งปลายเท้าให้ส้นเท้าค่อย ๆ ยกขึ้นจากพื้น สูงขึ้นมากที่สุดจนรู้สึกตึงที่กล้ามเนื้อน่อง หลังจากนั้นค่อย ๆ ลดส้นเท้าลงโดยที่ส้นเท้าไม่แตะโดนพื้น ทำจำนวน 12 ครั้ง 3 รอบ
2. Dumbbell Calf Raise
ยืนตรง เท้าทั้งสองข้างวางห่างกันด้วยความกว้างประมาณหัวไหล่ นำไม้กระดานหนาประมาณ 2-3 นิ้วมารองไว้ที่ปลายเท้า มือทั้งสองข้างถือดัมเบลไว้
เริ่มจากออกแรงเกร็งกล้ามเนื้อน่องเขย่งปลายเท้าเพื่อยกส้นเท้าขึ้นจนสุดและตึงที่กล้ามเนื้อน่อง หลังจากนั้นค่อย ๆ ลดส้นเท้าลงจนแตะพื้น เพื่อกลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำจำนวน 12 ครั้ง 3 รอ
หลังจากฝึกความแข็งแรงไปแล้วอย่าลืมยืดเหยียดกล้ามเนื้อน่องกันด้วยนะครับจะได้ลดความตึงและการเกร็งของกล้ามเนื้อมาลุยกันเลยครับ
3. ท่ายืดกล้ามเนื้อน่องด้วยการดันกำแพง
–  ยืนใกล้กำแพงเหยียดแขนทั้งสองข้างดันกำแพงไว้ โดยให้เท้าข้างหนึ่งอยู่ข้างหน้าอีกข้างหนึ่ง เข่าด้านหน้างอเล็กน้อย
 – ยืดขาด้านหลังให้หัวเข่าตรงกับส้นเท้าติดพื้น แล้วเอนตัวไปด้านหน้าเข้าหากำแพงเล็กน้อยให้น่องด้านหลังรู้สึกตึง
 – ทำค้างไว้ประมาณ 20-30 วินาที จากนั้นสลับขา และทำซ้ำทั้งหมด 3 ครั้ง
4. ท่ายืดกล้ามเนื้อน่องด้วยการยืนบนขั้นบันได
– ยืนบนขั้นบันได  โดยยืนให้เท้าวางอยู่บนขอบบันได วางส้นเท้าข้างหนึ่งลงบนพื้นบันได จากนั้นงอข้อเท้าขาอีกข้างโดยทิ้งส้นเท้าลงด้านล่างให้มากที่สุดจนรู้สึกตึงที่น่อง
– ทำค้างไว้เป็นเวลา 20-30 วินาที แล้วจึงทำซ้ำอีกข้างหนึ่ง ทำสลับกันทั้งหมด 3 ครั้ง

ทำความรู้จักกับสมุนไพรน่ารู้

กล้วยน้ำว้าผลห่ามที่มีรสฝาดออกหวาน จะช่วยบำรุงร่างกาย เนื่องจากผลห่ามมีแคลเซียม แมกนีเซียม และโพแทสเซียมสูง สามารถช่วยชดเชยโพแทสเซียมให้แก่ร่างกาย
สรรพคุณ ตำรายาไทย ผลดิบบดเป็นผง ใช้ป้องกัน บำบัด โรคแผลในกระเพาะอาหาร  โดยจะไปกระตุ้นให้เซลล์ในเยื่อบุกระเพาะหลั่งสาร mucin ออกมาช่วยเคลือบกระเพาะ  ที่เปลือก และเนื้อมี serotonin  ช่วยยับยั้งการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ผลดิบยังใช้รักษาอาการท้องเสีย บิดมูกเลือด  การที่กล้วยสามารถแก้อาการท้องเสียได้  เพราะมีสารแทนนิน ผงกล้วยดิบทั้งเปลือกใช้โรยรักษาแผลเรื้อรัง แผลเน่าเปื่อย แผลติดเชื้อต่างๆ เปลือกผลดิบ รสฝาด สมานแผล
องค์ประกอบทางเคมี    ผลดิบมีสารแทนนิน, gallic acid, เพคติน, sitoindosides I-IV, สารกลุ่มเทอร์ปีนอยด์ เป็นต้น
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา โดยการศึกษาทางดภสัชวิทยา พบว่าป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูขาวที่ถูกกระตุ้นด้วยแอสไพริน กระตุ้นการหลั่งเยื่อเมือกเพื่อเคลือบกระเพาะอาหาร

ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยบำรุงร่างกาย

เอ็นดี (ปวดเมื่อย) ตรา คุณสัมฤทธิ์

400.00 บาท740.00 บาท

Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top