Low Blood Pressure ความดันโลหิตต่ำ
ความดันต่ำ (Low Blood Pressure/Hypotension) หรือภาวะความดันโลหิต-ต่ำ เป็นภาวะที่ความดันโลหิตในหลอดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ หรือมีค่าความดันโลหิต-ต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท (mmHg) ในผู้ใหญ่ ซึ่งหากมีภาวะความดันเลือดต่ำแต่ไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ก็อาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษา แต่หากมีอาการผิดปกติที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเกิดขึ้น ควรเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม
ซึ่งพบมากในผู้หญิงที่ร่างกายอ่อนแอหรือผู้สูงอายุที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมาก่อน และหากใครที่มีความดันโลหิต-ต่ำมากๆ จะส่งผลให้เลือดในร่างกายเกิดการไหลเวียนช้าลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ และเกิดลิ่มเลือดได้ง่ายทำให้บริเวณหลอดเลือดเกิดการอุดตันขึ้นขึ้น
โรคความดันโลหิต-ต่ำ โรคที่มักถูกมองข้าม
สำหรับโรคความดันโลหิต-ต่ำนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ชนิดเรื้อรัง และชนิดเฉียบพลัน โดยความดัน
โลหิตต่ำชนิดเรื้อรังอาจเป็นมาแต่กำเนิดแบบไม่ทราบสาเหตุ หรือเกิดจากพันธุกรรม รวมทั้งการเปลี่ยน
อิริยาบถอย่างรวดเร็วก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ตลอดจนการใช้ยาหรือเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ส่วนความดันโลหิต-ต่ำ ชนิดเฉียบพลันจะมีความดันลดลงอย่างรวดเร็วกว่าปกติ มักหน้ามืดหรือช็อกจนหมดสติ
การวัดค่าความดันโลหิตจะแบ่งออกเป็น 2 ค่า คือค่าความดันโลหิตตัวบนหรือค่าความดันโลหิตซีสโตลิค (Systolic Pressure) เป็นแรงดันในหลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจบีบตัว และค่าความดันโลหิตตัวล่างหรือค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิค (Diastolic Pressure) เป็นแรงดันในหลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจคลายตัว ซึ่งค่าความดันโลหิตปกติของผู้ใหญ่คือค่าความดันตัวบนอยู่ระหว่าง 90–120 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันตัวล่างไม่ต่ำกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท
สาเหตุของความดันโลหิต-ต่ำ
ความดันโลหิตขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่
– จังหวะการหายใจ
– ระดับความเครียด
– ท่าทางและการจัดตำแหน่งของร่างกาย
– ภาวะของร่างกาย
– การรับประทานยาบางชนิด
– อาหาร
– ช่วงเวลาในแต่ละวัน
มีหลายปัจจัยที่ทำให้ความดันโลหิตลดลงรวมถึงสภาวะทางการแพทย์ เช่น
– ภาวะขาดน้ำ
– การตั้งครรภ์
– ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ
– ปัญหาต่อมไร้ท่อ
– การสูญเสียเลือด
– ภาวะโลหิตเป็นพิษหรือการติดเชื้อรุนแรง
– อาการแพ้อย่างรุนแรง
– ขาดสารอาหาร
นอกเหนือจากเงื่อนไขทางการแพทย์เหล่านี้ ความดันโลหิต-ต่ำอาจเป็นผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น
– ยาขับปัสสาวะ
– Alpha blockers
– Beta blockers
– ยาสำหรับโรคพาร์กินสัน
– ยาต้านซึมเศร้าบางประเภท
– ยาสำหรับอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ความดันโลหิต-ต่ำอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ โดยแบ่งออกเป็นหลายประเภทขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ อาจรวมถึง
ภาวะความดันโลหิต-ต่ำหรือตกจากการเปลี่ยนท่า ภาวะความดันโลหิตลดลงอย่างกะทันหันนี้เกิดขึ้นเมื่อคุณยืนขึ้นหลังจากนอนราบหรือจากท่านั่ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นในคนที่มีปัจจัยดังต่อไปนี้
– ผู้สูงอายุ
– ภาวะขาดน้ำ
– นอนพักเป็นเวลานาน
– การตั้งครรภ์
– โรคเบาหวาน
– ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ
– บาดแผลไฟไหม้
– ความร้อนมากเกินไป
– เส้นเลือดขอดขนาดใหญ่
– ความผิดปกติทางระบบประสาทบางอย่าง
ความดันโลหิต-ต่ำหลังรับประทานอาหารมื้อใหญ่ ความดันเลือดต่ำประเภทนี้มักเกิดขึ้นประมาณหนึ่งถึงสองชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร ผู้ที่มีความดันโลหิต-ต่ำหลังประเภทนี้อาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ เป็นลม และหกล้ม ซึ่งมักเกิดขึ้นในผู้มีปัจจัยดังต่อไปนี้
– ผู้สูงอายุ
– ภาวะความดันโลหิตสูง
– ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น โรคพาร์คินสัน
เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะนี้คุณอาจรับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ และหลียกเลี่ยงอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต การดื่มน้ำมากขึ้นและหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ถือเป็นประโยชน์ในการลดอาการได้
อาการของภาวะความดันต่ำ
ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิต-ต่ำกว่าปกติโดยธรรมชาติมักไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ แต่สำหรับผู้ที่เคยมีความดันโลหิตสูงแล้วลดลง แม้จะไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยความดันโลหิตปกติก็ถือว่าเป็นภาวะผิดปกติที่ต้องรักษา ภาวะความดันโลหิต-ต่ำอาจเป็นผลมาจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอหรือมีความผิดปกติเกิดขึ้นภายในร่างกายจนเป็นผลให้ความดันโลหิตลดต่ำลง โดยมักจะแสดงอาการได้ดัง
– มีค่าความดันโลหิต-ต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท
– วิงเวียนศรีษะ หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม
– รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
– มีอาการมึนงง สับสน
– มองเห็นภาพไม่ชัด
– ทรงตัวไม่อยู่
– คลื่นไส้
– กระหายน้ำ
– ใจสั่น ใจเต้นแรง
– หายใจตื้นและถี่
– ตัวเย็น ผิวซีด และหนาวสั่น
อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นชั่วคราว สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเพียงเล็กน้อยสามารถบรรเทาได้ด้วยการดื่มน้ำมาก ๆ หยุดทำกิจกรรมในขณะนั้น และค่อย ๆ นั่งพักหรือนอนลงสักครู่ แต่หากมีอาการเกิดขึ้นบ่อยหรือรุนแรงขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์
การรักษาภาวะความดันต่ำ
การรักษาภาวะความดันต่ำด้วยตัวเอง
ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิต-ต่ำที่ไม่รุนแรงและมีสุขภาพแข็งแรง สามารถดูแลรักษาภาวะความดันโลหิต-ต่ำได้ด้วยตัวเอง ดังนี้
– หากมีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม ซึ่งเกิดจากการมีความดันโลหิต-ต่ำ ควรนั่งพักหรือนอนลงทันทีที่มีอาการ และพยายามยกเท้าให้อยู่สูงกว่าระดับหัวใจ
– หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ในมื้อเดียว โดยควรแบ่งรับประทานอาหารทีละน้อย ๆ แต่รับประทานบ่อย ๆ แทน
– หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในตอนกลางคืน และจำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะความดันโลหิต-ต่ำได้
– หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะความดันโลหิต-ต่ำที่เกิดจากการสื่อสารผิดระหว่างหัวใจและสมอง (Neutrally Mediated Hypotension)
– หมั่นเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำโดยเฉพาะในช่วงเช้าของวัน เพื่อเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจให้สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ร่างกาย
– สวมถุงเท้าที่ช่วยเพิ่มความดันโลหิต (Support Stockings/Compression Stockings) เพื่อช่วยส่งเสริมระบบการไหลเวียนของเลือดและช่วยเพิ่มความดันโลหิต แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้งาน
การรักษาภาวะความดันต่ำทางการแพทย์
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิต-ต่ำอย่างรุนแรงหรือต่อเนื่อง รวมถึงผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิต-ต่ำจากการบาดเจ็บอย่างรุนแรงหรือเกิดภาวะช็อก แพทย์จะทำการรักษาดังต่อไปนี้
– การให้น้ำเกลือ มักใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิต-ต่ำจากภาวะขาดน้ำ การสูญเสียเลือดมาก หรือเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด
– การรักษาต้นเหตุของภาวะความดันโลหิต-ต่ำ เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิต-ต่ำจากฮอร์โมนผิดปกติ จะได้รับการตรวจจากแพทย์ด้านฮอร์โมนโดยเฉพาะ และรักษาด้วยการให้ฮอร์โมนทดแทน
– การรักษาด้วยยา เช่น ยาที่ช่วยเพิ่มความดันโลหิต (Vasopressors) อย่างยากลุ่มแอลฟา อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ (Alpha Adrenergic Receptor Agonists)
ภาวะแทรกซ้อนของภาวะความดันโลหิต-ต่ำ
ภาวะความดันโลหิต-ต่ำอาจนำไปสู่อุบัติเหตุเล็กน้อยจนถึงปัญหาทางการแพทย์ที่ร้ายแรง ผู้ที่มีความดันโลหิคต่ำอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบางอย่างได้ง่าย เช่น การหกล้มเนื่องจากอาการวิงเวียนศีรษะ อ่อนแรง และเป็นลม ภาวะความดันโลหิต-ต่ำที่รุนแรงอาจทำให้ขาดออกซิเจนซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายต่อหัวใจและสมอง
การป้องกันภาวะความดันต่ำ
ภาวะความดันโลหิตต่ำในแต่ละคนมีสาเหตุในการเกิดที่แตกต่างกัน จึงอาจไม่สามารถป้องกันได้เสมอไป แต่สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำได้ด้วยการปฏิบัติตนตามคำแนะนำดังนี้
– หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ
– หลีกเลี่ยงการลุก การนั่ง หรือการเปลี่ยนท่าทางที่รวดเร็วมากเกินไป
– หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก เพราะอาจจะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น
– ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำ และช่วยเพิ่มปริมาณเลือดให้สูงขึ้น
– ควรรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละมื้อ โดยแบ่งรับประทานเป็นมื้อย่อย ๆ หลายมื้อ
– ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสารอาหารครบถ้วน เน้นรับประทานอาหารประเภทผัก ผลไม้ ธัญพืช และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงด้วย
บทความที่น่าสนใจ
Hypoglycemia ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
Hypertension ความดันโลหิตสูง