Protect your kidneys and reduce disease risk ดูแลไตให้แข็งแรง ลดความเสี่ยงโรคไต

Protect your kidneys and reduce disease risk ดูแลไตให้แข็งแรง ลดความเสี่ยงโรคไต

Protect your kidneys and reduce disease risk ดูแลไตให้แข็งแรง ลดความเสี่ยงโรคไต

ไต คืออะไร
ไต เป็นอวัยวะที่รูปร่างคล้ายถั่ว อยู่บริเวณใต้ชายโครงด้านหลังทั้ง 2 ข้าง โดยไตแต่ละข้างจะมีหน่วยไต ซึ่งทำหน้าที่กรองน้ำและของเสียออกจากร่างกาย

หน้าที่ของไต

1. กรองน้ำ และกำจัดของเสียรวมทั้งสารพิษออกจากร่างกาย
2. ควบคุมสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ตลอดจนควบคุมภาวะความเป็นกรด-ด่างในเลือด
3. สร้างฮอร์โมน Erythropoietin ซึ่งสำคัญกับการสร้างเม็ดเลือดแดง และวิตามินดีที่เกี่ยวข้องกับกระดูก
4. กำจัดสารพิษและยาที่ได้รับจากร่างกาย

โรคไตเรื้อรัง

คือ การที่ไตมีภาวะการทำงานผิดปกติ หรือมีการทำงานของไตที่ลดลง โดยดูจากค่าอัตราการกรองของไตที่ผิดปกติในระยะเวลามากกว่า 3 เดือน ขึ้นไป ระยะเริ่มแรกมักไม่มีอาการ แต่เมื่อไตทำงานเสื่อมลงจนหน่วยไตเหลือน้อยกว่าร้อยละ 10 ทำให้มีของเสียคั่งในกระแสเลือดและมีอาการต่างๆ ตามมา เช่น ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ขาบวมและกดบุ๋ม ความดันโลหิตสูง 
1. ผู้มีความเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคไตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เช่น
– มีประวัติโรคไตเรื้อรังในครอบครัว
– มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
– มีโรคประจำตัวที่เป็นสาเหตุของโรคไตเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน
– ได้รับสารพิษหรือยาที่ทำลายไต
– มีมวลเนื้อไตลดลง ทั้งที่เป็นมาแต่กำเนิดหรือเป็นภายหลัง
– มีประวัติโรคไตเรื้อรังในครอบครัว
2. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด หวานจัด
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
4. ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
5. ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรควบคุมอาการของโรคอย่างใกล้ชิด
6. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง
7. หลีกเลี่ยงการรับประทานยาติดต่อกันเป็นเวลานานๆ  เช่น กลุ่มยาแก้อักเสบ ยาชุด เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยา

การลดบริโภคโซเดียม เพื่อสุขภาพที่ดีสามารถทำได้ก้วยวิธี ดังต่อไปนี้

1. รับประทานอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงแต่ง ปรุงอาหารเอง ชิมก่อนปรุง เลี่ยงการปรุงเพิ่ม
2. เลี่ยงการใช้น้ำจิ้ม หรือ น้ำราด
3. เลี่ยงอาหารรสจัด
4. เลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารแปรรูป อาหารกระป้อง อาหารแช่แข็ง ขนมขบเคี้ยว
5. อ่านฉลากโภชนาการเพื่อหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโชเดียมสูง
6. ใช้ส่วนผสมของสมุนไพรและเครื่องเทศ เพื่อแต่งกลิ่นและรสชาติอาหาร
ปรับเปลี่ยนนิสัยการบริโภคค่อย ๆ ลดความเค็มลง 10% ลิ้นจะไม่สามารถจับรสเค็มที่เปลี่ยนไป ทำให้มีความสุขกับการบริโภคเหมือนเดิมและดีต่อสุขภาพ
ข้อแนะนำ การลดบริโภคโซเดียม
– เลือกกินอาหารสดธรรมชาติ
– หลีกเลี่ยงการกินอาหารแปรรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป ขนมกรุบกริบ อาหารหมักดอง/แช่อิ่ม/ตากแห้ง/อาหารกระป๋อง และเบเกอรี่
– ควรลดการใช้เครื่องปรุงรส เช่น น้ำปลา ซีอิ๋ว ผงชูรส ซุปก้อน ผงปรุงรส เป็นต้น
-ปรับนิสัยการกินอาการให้กินจืดลง ไม่เติมเครื่องปรุงรสต่างๆ เพิ่มในอาหารที่ปรุงแล้ว
– อ่านฉลากโภชนาการทุกครั้ง โดยดูที่ปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์นั้น ๆ

อิมมูตี้ (สมุนไพรพลูคาว) ตราคุณสัมฤทธิ์

400.00 บาท740.00 บาท
Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top