5 Lymphatic Dysfunction น้ำเหลืองไม่ดีคืออะไร และ 5 อาการที่ควรสังเกต

5 Lymphatic Dysfunction น้ำเหลืองไม่ดีคืออะไร และ 5 อาการที่ควรสังเกต

5 Lymphatic Dysfunction น้ำเหลืองไม่ดีคืออะไร และ 5 อาการที่ควรสังเกต

“โรคน้ำเหลืองเสีย” หรือในทางการแพทย์แผนปัจจุบันเรียกว่า “Impetigo” ซึ่งโรคน้ำเหลืองเสีย เป็นเพียงภาษาชาวบ้านที่ใช้เรียก โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง โดยเชื้อแบคทีเรียจะเข้าสู่ผิวหนังผ่านทางบาดแผลที่เกิดจากรอยถลอกหรือการแกะเกา บริเวณที่เป็นจะมีลักษณะเป็นผื่นแดง คัน ผื่นแฉะ อาจบวมแดงและมีน้ำเหลืองไหล ร่วมกับมีสะเก็ดสีเหลืองปนน้ำตาลได้ หากได้รับการดูแลรักษาที่ไม่ดีอาจทำให้เกิดการลุกลาม และทำให้หายช้าได้ ซึ่งสามารถสังเกตอาการตัวเองได้ ดังนี้

1.แผลหายช้า แผลเยิ้ม

ผู้ที่มีอาการน้ำเหลืองเสีย ถึงแม้ว่าเป็นแผลแค่เล็กน้อยก็เป็นเรื่องใหญ่เพราะแผลเยิ้มไม่แห้งเสียที ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ นอกจากแผลหายช้าแล้ว เมื่อแผลหายแล้วยังทิ้งรอยแผลเป็นไว้อีกด้วย บางคนโดนแมลงกัดก็เป็นแผลใหญ่ ขาลายเพราะแผลเป็น

2.มีผื่นขึ้นผิวหนังไม่ทราบสาเหตุ

หลายท่านเป็นโรคสะเก็ดเงินโดยไม่รู้ตัว ซึ่งสะเก็ดเงินเป็นหนึ่งในอาการน้ำเหลืองเสีย ที่คนไม่ค่อยรู้ตัวว่าเป็นโรคสะเก็ดเงินเพราะเข้าใจว่าผิวหนังต้องเป็นสะเก็ด ซึ่งในความเป็นจริงแล้วสะเก็ดเงินมีหลายประเภท ทั้งแบบผิวแห้งเป็นขุย ผิวบวมแดง หรือเป็นรอยแดงตามข้อพับ ขาหนีบ เป็นผื่นเยิ้มเมื่อผิวหนังเสียดสีกับเสื้อผ้าหรือนาฬิกาข้อมือ เป็นต้น

3.เป็นฝีบ่อยๆ

“ฝี” เกิดจากการอุดตันคั่งค้างของของเหลวในร่างกายที่ต่อมไขมัน รูขุมขน หรือเนื้อเยื่อต่างๆ จนเกิดการอักเสบเป็นหนอง ถ้าระบบของเหลวในร่างกายหมุนเวียนตามปกติ ก็จะไม่เกิดฝี ในพระคัมภีร์ทิพมาลานั้น มีการระบุชนิดของฝึก ว่า 20 ชนิด อาการคล้ายกับโรคในแพทย์แผนปัจจุบัน เช่น ฝีรวงผึ้ง (ตับอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ) ฝีทันตะมูลา (มะเร็งช่องปาก) ฝีฟองพระสมุทร (ทอนซิลฮักเสบ) เป็นต้น

โรคฝีนี้เป็นโรคเรื้อรัง มีต้นเหตุมาจากน้ำเหลืองเสียและไปกระทบกับอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ท้อง สำไส้ ทวารหนัก (ฝีคัณฑสูตร) การรักษาด้วยการเจาะฝีหรือทายาภายนอกนั้นไม่เพียงพอ ถ้ายังไม่รักษาอาการน้ำเหลืองเสีย ฝีก็จะขึ้นที่เดิมอยู่เรื่อยๆ นั่นเอง

4.ปวดเมื่อยตามตัว

เมื่อน้ำเหลืองไม่หมุนเวียนในร่างกายตามปกติ เช่น น้ำเหลืองข้นเกินไป หรือมีสารพิษในน้ำเหลืองจะทำให้น้ำเหลืองคั่งค้างอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย จนเกิดอาการปวดเมื่อย โดยเฉพาะผู้ที่มีอิริยาบทเดียวนานๆ อย่างพนักงานออฟฟิศ ถ้ามีอาการน้ำเหลืองเสียอยู่แล้ว และไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย จะเกิดอาการปวดเมื่อยได้ง่ายมาก การรักษาเบื้องต้นคือการยืดเส้นสายเป็นพักๆ อาจจะชั่วโมงละครั้ง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของน้ำเหลือง แต่ในรายที่น้ำเหลืองเสียสะสมมานาน จะทำให้เกิดการบวมน้ำเหลืองได้

5.มีการบวมตามข้อ หรือที่เรียกว่าบวมน้ำเหลือง

ภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema) เป็นการคั่งค้างสะสมของน้ำเหลืองชั้นใต้ผิวหนัง
อันเนื่องมาจากทางเดินน้ำเหลืองบริเวณที่ใกล้เคียงกันนั้นอุดกั้นหรือถูกทำลาย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งที่แขน ขา และอวัยวะเพศ โดยมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม และภายหลังจากการผ่าตัดที่ต้องตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณนั้น เช่น การผ่าตัดมะเร็งหรือเนื้องอกบริเวณปากมดลูก เต้านม หรืออัณฑะ และภายหลังได้รับการฉายรังสีรักษาใกล้ขาหนีบ รักแร้ รวมทั้งผิวหนังเกิดภาวะติดเชื้อและอักเสบรุนแรง (cellulitis, erysipelas) อย่างซ้ำๆ การได้รับอุบัติเหตุเป็นแผลลึก ตลอดจนภาวะหลอดเลือดดำขอดหรือตีบตัน ซึ่งพบได้มากที่ขา
และอาจเกิดจากหนอนพยาธิฟิลาเรีย ซึ่งมียุงเป็นพาหะ อาการบวมน้ำเหลืองในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ได้แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

5.1 Lymphedema superficialis จะมองเห็นได้ชัดว่าแขนหรือขาบวม (Proliferation) เป็นสภาวะที่หลอดน้ำเหลืองขยายตัวและแร่พันธุ์ (Dilation and Proliferation) ทำให้มีน้ำคั่งอยู่ในอวัยวะ

5.2 Lymphedema profunda การบวมแบบนี้ มองไม่เห็นจากภายนอก เพราะจะมีอาการบวมเป็นครั้งคราว เช่น ตอนนั่งรถนานๆ สามารถตรวจได้ด้วย MRI เท่านั้น ในทางแพทย์แผนไทยจะสามารถตรวจได้ด้วยการกดแนวน้ำเหลือง หากมีอาการน้ำเหลืองเสีย จะกดแล้วเจ็บขึ้นเป็นแนวตามทางเดินของน้ำเหลือง

ผลิตภัณฑ์แนะนำที่ช่วยให้น้ำเหลืองปกติ

Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top