Osteoporosis โรคกระดูกพรุน หญิงวัยทองต้องระวัง

Osteoporosis โรคกระดูกพรุน หญิงวัยทองต้องระวัง

Osteoporosis โรคกระดูกพรุน หญิงวัยทองต้องระวัง

“กระดูก” อวัยวะสำคัญที่เป็นโครงสร้างยึดเกาะกล้ามเนื้อให้เรามีรูปร่างร่างกายที่เป็นปกติ จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อกระดูกของเรามีภาวะบางลงจากการสูญเสียมวลกระดูก จนทำให้เกิดโรคนี้หรือภาวะกระดูกพรุน ส่งผลให้เราต้องระมัดระวังในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนรุนแรงจนเกิดการแตกหัก หรือในผู้ป่วยบางคนอาจจะทำให้เกิดการเจ็บป่วยเรื้อรังและรุนแรงจนถึงขั้นพิการได้

โรคกระดูกพรุนคืออะไร?

องค์การอนามัยโลก ได้ให้นิยามของโรคกระดูกพรุนไว้ว่าเป็น “โรคกระดูกที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย (systemic skeletal disease) ซึ่งมีมวลกระดูกต่ำ (low bone mass) ร่วมกับการเสื่อมของโครงสร้างระดับจุลภาพของกระดูก (microarchitecture deterioration) ส่งผลให้กระดูกมีความเปราะบางและหักง่าย” และได้กำหนดเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคนี้โดยอาศัยการตรวจความหนาแน่นของกระดูก (ในที่นี้มีความหมายเดียวกันกับมวลกระดูก) โดยจะให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้เมื่อมีความหนาแน่นของกระดูกต่ำกว่า -2.5 ของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (T-score ≤ -2.5) เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของมวลกระดูกในวัยสาวซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่มีมวลกระดูกสูงสุด (peak bone mass)

National Institute of Health แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นิยามของโรคกระดูกพรุนว่าเป็น
“โรคของกระดูกที่มีความแข็งแกร่งของกระดูก (bone strength) ลดลง ส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงต่อกระดูกหัก โดยความแข็งแกร่งของกระดูก (bone strength) ในนิยามนี้ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ได้แก่ ความหนาแน่นของกระดูก (bone density) และคุณภาพของกระดูก (bone quality)” และจากข้อจากัดของประเมินคุณภาพของกระดูก การวินิจฉัยโรค ยังอิงตามผลตรวจความหนาแน่นของกระดูกเป็นพื้นฐาน

อาการแบบไหนที่บ่งบอกว่าเป็น และต้องไปพบแพทย์

ภาวะโรคนี้ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการและจะมาพบแพทย์เมื่อมีภาวะแทรกซ้อนคือ กระดูกหัก ซึ่งมักพบบ่อยบริเวณสะโพก กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อมือเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งกระดูกหักเหล่านี้ โดยเฉพาะกระดูกหักบริเวณสะโพกนำไปสู่อันตราย (mortality) หลังกระดูกหักประมาณ 15% ในปีแรก และประมาณ 70% ของผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เช่นเดิม ส่วนกระดูกสันหลังยุบ (spinal compression fracture) มีผู้ป่วยหลายรายไม่ได้รับการวินิจฉัย ผู้ป่วยเหล่านี้จะมีอาการปวดหลังเรื้อรัง หลังค่อม (kyphosis) และทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวและช่วยตัวเองได้น้อยลง

การป้องกัน

ให้ทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ดื่มนมตั้งแต่อายุน้อยๆ ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องมีการกระทบกระทั่ง การยกของหนัก การหกล้ม ตรวจมวลกระดูกประจำปี ก็จะสามารถป้องกันภาวะกระดูกพรุนนี้ได้

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเป็น

การลดเลิกพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรค โดยพยายามปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

• งดสูบบุหรี่
• ไม่ดื่มสุราเกินขนาด
• งดดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน
• หลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัดและมีโปรตีนสูง
• ปรับวิถีชีวิตให้มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย (physical activities)
• ควบคุมโรคเรื้อรังที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรค
• ระมัดระวังการใช้ยาที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคนี้ เช่น ยาในกลุ่ม Glucocorticoids และ Anticonvulsants
• ออกกำลังกาย

ฮอร์โมนทดแทนบำบัด (hormone replacement therapy)

Estrogen


ฮอร์โมนทดแทนเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคนี้ในวัยหมดประจำเดือน
ซึ่งมีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากการขาดเอสโตรเจน
และเมื่อพิจารณาแล้วว่าประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง รวมทั้งพิจารณาถึงความเหมาะสม
และอาการข้างเคียงถ้าเลือกใช้ยาอื่นๆ

การรักษาด้วยเอสโตรเจน (estrogen
therapy,ET) หรือฮอร์โมนทดแทน (hormone [replacement]
therapy, H[R]T) ในการรักษาผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้รับการรับรองให้ใช้ในรายที่จำเป็นต้องรักษาอาการหมดประจำเดือนด้วย
เช่น ร้อนวูบวาบ อารช่องคลอดแห้ง และใช้เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน
การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในคนที่ยังไม่ได้ตัดมดลูก
จะต้องมีฮอร์โมนโปรเจสตินร่วมด้วยเพื่อป้องกันภาวะเยื่อบุมดลูกหนาตัว

ในปัจจุบันยังไม่แนะนำให้ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน
(Estrogen)
เป็นยาตัวแรกในการรักษา
แต่ให้ใช้เพื่อป้องกันโรคนี้ในสตรีวัยหมดประจำเดือนเฉพาะที่มีความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงของยากลุ่มอื่นเท่านั้น

อาจพิจารณาให้ฮอร์โมนทดแทนเป็นลำดับแรกเพื่อป้องกันโรค
หรือลดความเสี่ยงต่อกระดูกหักในผู้ที่มีคุณลักษณะดังนี้

1. ผู้ที่หมดประจำเดือนก่อนกำหนด (premature ovarian failure หรือ premature menopause หมายถึงหมดประจำเดือนก่อนอายุ 40 ปี)

2. ผู้ที่ได้รับการตัดรังไข่ทั้งสองข้าง (bilateral oophorectomy) ก่อนเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดก่อนอายุ 45 ปี

3. มีภาวะฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ (hypoestrogenic state) ตั้งแต่เยาว์วัย หรือก่อนเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน และยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม เช่น gonadal dysgenesis, ออกกำลังกายมากเกินควร (intense exercise) ได้รับยากดการทำงานของรังไข่เป็นระยะเวลานาน เช่น GnRH agonist หรือ antagonist

ควรใช้ฮอร์โมนทดแทนโดยพิจารณาถึงข้อบ่งชี้ในผู้หญิงวัยหมดประจาเดือนที่อายุต่ำกว่า 60 ปี ที่ไม่ปรากฏข้อห้ามต่อการใช้ฮอร์โมนเพศ เนื่องจากความเสี่ยงที่พบจากการศึกษาของ WHI นั้นมักพบในผู้หญิงที่มีอายุเกินกว่า 60 ปี

ถึงแม้จะยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนที่ชัดเจน แต่การให้ฮอร์โมนทดแทนในผู้หญิงที่หมดประจาเดือนก่อนกำหนด (premature ovarian failure หรือ premature menopause การหมดประจำเดือนก่อนอายุ 40 ปี) น่าจะมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง โดยเฉพาะประโยชน์จากการป้องกันโรคนี้และการเกิดโรคหลอดเลือดโคโรนารี่

การหยุดฮอร์โมนจะทำให้เกิดการเสียมวลกระดูกปีละ 3-6% มีข้อมูลยืนยังว่าหลังจากหยุดใช้ฮอร์โมนประโยชน์ในการลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักจะหมดไปอย่างรวดเร็ว
(catch-up phenomenon) และอุบัติการณ์ของกระดูกหักจะเพิ่มขึ้นจนเท่ากับคนที่ไม่ได้ใช้ฮอร์โมนภายในระยะเวลาหนึ่งปีหยังหยุดใช้ฮอร์โมน

สำหรับระยะเวลาการให้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อรักษาโรคนี้ว่าควรให้นานเท่าใด ควรพิจารณาร่วมกับผู้รับการรักษา ถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเป็นรายๆไป

ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำในการดูแลไขข้อ กระดูก

ผลิตภัณฑ์แนะนำที่ช่วยดูแลวัยทองสตรี

Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top