diabetic retinopathy เบาหวานขึ้นตา

Diabetic retinopathy เบาหวานขึ้นตา

Diabetic retinopathy เบาหวานขึ้นตา

เป็นภาวะแทรกซ้อนในผู้เป็นโรคเบาหวาน หากเป็นหนักส่งผลให้หลอดเลือดฝอยเสื่อมทั่วร่างกาย รวมถึงเส้นเลือดฝอยที่บริเวณจอประสาทตาด้วย ส่วนหนึ่งของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมักจะสูญเสียการมองเห็นในภาวะแทรกซ้อนนี้ โดยภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ก็มีวิธีการรักษาที่หลากหลาย แต่ถ้าเป็นถึงขั้นรุนแรงแล้ว อาจจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และจะตาบอดไปตลอดชีวิต

ภาวะเบาหวาน-ขึ้นตา หรือ ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา เกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติจากเบาหวาน โรคยอดฮิตของผู้สูงอายุ ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดฝอยเสื่อมทั่วร่างกายรวมทั้งหลอดเลือดที่จอตา ทำให้เลือดและสารต่าง ๆ รั่วซึมออกมา ทำให้หลอดเลือดตรงจอประสาทตาได้รับความเสียหาย หากปล่อยไว้ไม่รักษาจะทำให้สูญเสียการมองเห็นได้

ระยะของเบาหวาน-ขึ้นตา

เบาหวาน-ขึ้นตาแบ่งเป็น 2 ระยะตามความรุนแรงของโรค ได้แก่
1. เบาหวาน-ขึ้นตาระยะเริ่มแรกหรือระยะที่ยังไม่มีหลอดเลือดเกิดใหม่ (Nonproliferative Diabetic Retinopathy: NPDR) เป็นระยะที่ผนังหลอดเลือดที่จอตาไม่แข็งแรง ส่งผลให้หลอดเลือดโป่งพอง อาจทำให้เลือดหรือของเหลวรั่วออกมาในจอตา ทำให้เกิดจอตาบวม ในระยะเริ่มแรกอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย หากเกิดหลอดเลือดรั่วบริเวณจุดภาพชัด (Macula) จะทำให้เกิดจุดภาพชัดบวม (Macular Edema) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการมองเห็น  หากมีการอุดตันของหลอดเลือด อาจทำให้เกิดจอตาหรือจุดภาพชัดขาดเลือด (Macular Ischemia) ส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นได้
2. เบาหวาน-ขึ้นตาระยะก้าวหน้า หรือระยะที่มีหลอดเลือดเกิดใหม่ (Proliferative Diabetic Retinopathy: PDR) เป็นระยะที่หลอดเลือดเกิดการอุดตันจนเลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ มีการขาดเลือดที่จอตามากจนเกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่ขึ้นมาทดแทน ซึ่งหลอดเลือดที่สร้างขึ้นใหม่เหล่านี้อาจไม่ได้พัฒนาอย่างเหมาะสม มีผนังไม่แข็งแรง เปราะแตกฉีกขาดได้ง่าย ทำให้มีเลือดออกในวุ้นตา เกิดพังผืดดึงรั้งจอตา ซึ่งเป็นสาเหตุให้จอตาลอก (Retinal Detachment) ตามมาได้ หรือถ้าหากเส้นเลือดใหม่ที่เกิดขึ้นไปรบกวนการระบายน้ำออกจากลูกตา ส่งผลให้ความดันตาสูงขึ้น เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทตาและเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต้อหิน (Neovascular Glaucoma) ได้

ปัจจัยเสี่ยง

1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคนมีโอกาสเป็นเบาหวาน-ขึ้นตา และอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เนื่องจาก 
2. เป็นเบาหวานมานาน 
3. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี 
4. ความดันโลหิตสูง 
5. คอเลสเตอรอลสูง 
6. การตั้งครรภ์ 
7. การสูบบุหรี่

อาการเบาหวาน-ขึ้นตา

เบาหวาน-ขึ้นตาระยะแรก อาจไม่แสดงอาการหรือไม่ส่งผลต่อการมองเห็น ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวและมองข้ามความสำคัญของการตรวจตา จนเมื่อแสดงอาการ อาจสายเกินไป อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แม้อยู่ในระยะรุนแรงแล้วก็ตาม ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานควรเข้ารับการตรวจตากับจักษุแพทย์ รวมถึงหมั่นสังเกตอาการ ดังนี้
– มองเห็นจุดหรือเส้นสีดำลอยอยู่ในสายตา
– มองเห็นภาพซ้อน หรือบิดเบี้ยว
– การมองเห็นแย่ลง
– แยกแยะสีได้ยากขึ้น
– เห็นภาพมืดหรือว่างเปล่าเป็นบางจุด
– สูญเสียการมองเห็น

วิธีป้องกันโรคเบาหวาน-ขึ้นตา

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการป้องกันหรือลดความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานหรือควบคุมความรุนแรงของโรค โดย
1. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นทานอาหารเพื่อสุขภาพ ลดอาหารที่มีรสเค็ม หวาน และมีไขมันสูง ออกกำลังกายเป็นประจำ ควบคุมน้ำหนักโดยให้มีค่าดัชนีมวลร่างกาย (BMI) อยู่ที่ระหว่าง 18.5-24.9
2. งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
3. รับประทานยารักษาเบาหวานตามกำหนดที่แพทย์สั่ง
4. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติ
5. ควบคุมระดับความดันโลหิต ไม่ควรเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท (mmHg)
6. ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้ไม่เกินกว่าค่าปกติ
7. สังเกตความเปลี่ยนแปลงของการมองเห็น และควรไปพบจักษุแพทย์ทันทีหากพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของการมองเห็นอย่างฉับพลัน เช่น ตามัว มองไม่ชัด หรือมองเห็นเป็นจุดดำ เป็นต้น
8. เข้ารับการตรวจสุขภาพตาประจำปีโดยจักษุแพทย์

วิธีรักษาภาวะเบาหวาน-ขึ้นตามีอะไรบ้าง

การรักษามีจุดประสงค์เพื่อชะลอหรือยับยั้งอาการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยวิธีการรักษาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของอาการ
1. การรักษาเบาหวาน-ขึ้นตาระยะเริ่มแรก มุ่งหวังไม่ให้โรคลุกลามไปจากระยะที่เป็นอยู่ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รวมทั้งดูแลโรคประจำตัวอื่น ๆ เช่นโรคความดันโลหิตสูงและโรคไตอย่างเหมาะสม โดยแพทย์จะคอยสังเกตอาการหรือความผิดปกติของดวงตาอย่างใกล้ชิด
2. หากเริ่มมีอาการทางจอประสาทตา แพทย์จะทำการยิงเลเซอร์เพื่อทำลายจอประสาทตาที่ตายแล้วและหลอดเลือดเกิดใหม่ เป็นการป้องกันไม่ให้อาการลุกลามมากขึ้น แต่หากมีอาการเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตาหรือจอประสาทตาหลุดลอก อาจจะต้องรักษาโดยการผ่าตัดซึ่งวิธีการก็จะแตกต่างกันออกไปโดยขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของโรค
3. การรักษาใหม่ๆ ในผู้ป่วยเบาหวาน-ขึ้นตา ปัจจุบันมีการใช้ยาฉีดเพื่อยับยั้งการเกิดของเส้นเลือดงอกใหม่ที่เรียกว่า Anti VEGF โดยการฉีดยาเข้าลูกตา ซึ่งการวิจัยปัจจุบันได้ผลค่อนข้างดีเมื่อมีการรักษาร่วมกับการฉายแสงเลเซอร์ โดยเฉพาะในผู้ป่วยรายที่มีจอตาบวม

ทำความรู้จักกับสมุนไพรน่ารู้

ตำลึง
ชื่ออื่น ผักแคบ (ภาคเหนือ), ผักตำนิน (ภาคอีสาน), แคเด๊าะ (กะเหรี่ยง)
สรรพคุณ รสเย็น ใบสดตำคั้นน้ำแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อยที่ทำให้ปวดแสบร้อนและคัน

อิมมูตี้ (สมุนไพรพลูคาว) ตราคุณสัมฤทธิ์

400.00 บาท740.00 บาท
Minus Quantity- Plus Quantity+

Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า