Frozen Shoulder หัวไหล่ติด

Frozen Shoulder หัวไหล่ติด

Frozen Shoulder หัวไหล่ติด

โรคไหล่ติด (Frozen Shoulder) หรือภาวะไหล่ติดแข็ง (Adhesive Capsulitis) เป็นภาวะที่ข้อไหล่มีการอักเสบและเกิดพังผืดในเยื่อหุ้มข้อ ส่งผลให้ไหล่ขยับได้จำกัดและมีอาการปวด โดยมักพบบ่อยในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ สาเหตุของโรคไหล่ติดยังไม่แน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เช่น การไม่ได้ใช้ข้อไหล่เป็นเวลานานหลังการบาดเจ็บหรือผ่าตัด โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคไทรอยด์ หรือพาร์กินสัน รวมถึงอายุและเพศ ซึ่งพบมากในผู้ที่มีอายุ 40-60 ปี และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

สัญญาณข้อไหล่ติด

อาการของโรคไหล่ติด เกิดจากเส้นเอ็นหุ้มข้อไหล่อักเสบ บวมและหนาตัวขึ้น โดยแบ่งระดับ อาการเป็น 3 ระยะ
1) เจ็บหรือปวดขณะเคลื่อนไหวหัวไหล่ และปวดมากขึ้นเมื่อพยายามยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ แต่ยังไม่รู้สึกถึงภาวะข้อไหล่ติด โดยเฉพาะกลางคืน และเวลาล้มตัวลงนอ
2) อาการปวดค่อยๆ ลดลง ข้อไหล่ติดแข็ง เคลื่อนไหวหัวไหล่ลำบาก รู้สึกตึงรั้งกล้ามเนื้อรอบๆ หัวไหล่จนถึงต้นคอ
3) ความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อไหล่ลดลงจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน

สาเหตุ

เนื้อเยื่อเชื่อมต่อแคปซูลทำหน้าที่ห่อหุ้มข้อไหล่ เมื่อเนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อเหล่านี้เกิดหนาและตึงขึ้นการเคลื่อนไหวของไหล่จะถูกจำกัด สาเหตุที่ทำให้เนื้อเยื่อหนาและตึงยังไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตามโรคที่เกี่ยวข้องกับหลายระบบในร่างกายและการตรึงไหล่เป็นเวลานาน เช่น หลังการผ่าตัดหรือแขนหัก มักจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาของภาวะนี้

ปัจจัยเสี่ยง

มีปัจจัยหลายประการที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะไหล่ติดแข็ง ได้แก่
– อายุและเพศ ผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มที่จะมีอาการไหล่ติดแข็งมากยิ่งขึ้น
– การไม่เคลื่อนไหวหัวไหล่หรือเคลื่อนไหวน้อยลง ความเสี่ยงของภาวะไหล่ติดแข็งมักจะเพิ่มขึ้นในผู้ที่มีไม่เคลื่อไหวหัวไหล่หรือเคลื่อนไหวน้อยลงเป็นเวลานาน สาเหตุของการไม่เคลื่อไหวหัวไหล่หรือเคลื่อนไหวน้อยลง อาจรวมถึงสาเหตุจากอาการแขนหัก การฟื้นตัวหลังการผ่าตัด การบาดเจ็บหรือโรคหลอดเลือดสมอง
– โรคที่เกี่ยวข้องกับหลายระบบในร่างกาย โรคอย่างอาจกระตุ้นให้เกิดภาวะข้อไหล่ติด ยกตัวอย่างเช่น โรคเบาหวาน ไฮโปไทรอยด์ ไฮเปอร์ไทรอยด์ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคพาร์กินสัน วัณโรค

ภาวะแทรกซ้อน

อาการไหล่ติดแทบไม่พบภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักได้รับผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นหลัก เช่น การขับรถ การแต่งตัว การนอน การยืดเหยียดหลัง หรือแม้แต่การล้วงกระเป๋ากางเกงด้านหลังก็อาจทำไม่ได้ และในบางรายอาจกระทบต่อการทำงาน นอกจากนี้ แม้เข้ารับการรักษาก็อาจมีอาการปวดอย่างต่อเนื่องหรือมีโอกาสเกิดแขนหักในระหว่างการผ่าตัดเมื่อใช้แรงมากเกินไป

การป้องกัน

ไหล่ติดเป็นอาการที่อาจป้องกันได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บบริเวณหัวไหล่ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในช่วงการรักษาตัว รวมไปถึงพยายามเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอในช่วงที่พักฟื้น หากผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บรุนแรงจนทำให้ขยับแขนและไหล่ได้ลำบาก ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์เรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมในช่วงนี้

4 ท่าบริหาร บรรเทาอาการ

– ท่าที่ 1 แกว่งแขนแบบลูกตุ้มนาฬิกา – ยืนหันข้าง โดยให้ไหล่ที่ดีหันข้างให้โต๊ะและท้าวแขนไว้บนโต๊ะ โน้มตัวไปด้านหน้า และปล่อยแขนด้านที่มีปัญหาลง แกว่งเป็นรูปวงกลมเบาๆช้าๆ
– ท่าที่ 2 ท่ากางไหล่ – นั่งหันข้างโดยให้แขนข้างที่มีปัญหาชิดกับโต๊ะ นั่งกางไหล่ วางแขนไว้บนโต๊ะ ค่อยๆเลื่อนๆตัวออกในระยะที่พอทนได้ แล้วค้างไว้ประมาณ 10 วินาที
– ท่าที่ 3 ท่ายืดกล้ามเนื้อด้านหน้า – นอนหงาย เอามือไขว้รองศีรษะ ยกศอกตั้งขึ้นในระยะที่พอทนได้ แล้วค้างไว้ประมาณ 10 วินาที
– ท่าที่ 4 ท่ายกไม้ – จับปลายไม้ด้วยมือทั้งสองข้าง แล้วยกขึ้นลงเหนือศีรษะ

ทำความรู้จักกับสมุนไพรน่ารู้

โคคลาน
ชื่ออื่น มะปอบเครือ, กระเปี๊ยะ, โพคาน, แนวน้ำ, เยี่ยวแมว, เยี่ยวแมวเถา
สรรพคุณ  ตำรายาไทย ใช้ เถา แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ครั่นตัว เส้นตึง แก้ปวดหลังปวดเอว แก้กระษัย ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ บำรุงโลหิต แก้พิษภายใน เข้ายาแก้โรคมะเร็ง
           ตำรับยาพื้นบ้านของอำเภอกุดชุม จ.ยโสธร ชื่อ “ตำรับยาโคคลาน” ประกอบด้วยเครื่องยา 4 ชนิด คือ โคคลาน 2 ส่วน ทองพันชั่ง โด่ไม่รู้ล้ม และมะตูม อย่างละ 1 ส่วน ทำเป็นยาต้มหรือยาเม็ด สรรพคุณแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้อักเสบกล้ามเนื้อ และแก้ปวดกระดูก น้ำต้มของตำรับยามีฤทธิ์แก้ปวด และต้านการอักเสบ
           ตำรายาพื้นบ้านอีสาน ใช้ลำต้น 100 กรัม ผสมกับทั้งต้นทองพันชั่ง และทั้งต้นโด่ไม่รู้ล้ม ชนิดละ 1 หยิบมือ ต้มน้ำดื่มแก้ปวดเมื่อย
องค์ประกอบทางเคมี สารกลุ่มไทรเทอร์ปีน, สารกลุ่ม isocoumarin ชื่อ bergenin, สารกลุ่ม diterpene lactone ชื่อ mallotucin C, D และ teucvin สารอื่นๆ เช่น  mallorepine

เอ็นดี (ปวดเมื่อย) ตรา คุณสัมฤทธิ์

400.00 บาท740.00 บาท
Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top