immune อาการเสริมภูมิคุ้มกันในเด็ก
immune อาการเสริมภูมิคุ้มกันในเด็ก เด็กหลายคนเจ็บป่วยง่าย โดยเฉพาะเมื่อเข้าโรงเรียน ขณะที่บางคนมีภูมิต้านทานโรคสูง ไม่ค่อยป่วย วิ่งเล่นออกกำลังกายได้เต็มที่ หนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเจริญเติบโตสมวัย คือ ภูมิคุ้มกันของเด็ก ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโต ความแข็งแรง รวมถึงพัฒนาการและการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เพราะระบบภูมิต้านทาน เป็นกลไกตามธรรมชาติของร่างกาย ทำหน้าที่ต่อต้านและป้องกันเชื้อโรค การมีภูมิคุ้มกันที่ดี จะช่วยลดโอกาสติดเชื้อและการเจ็บป่วยได้
ภูมิต้านทาน หรือ ภูมิคุ้มกัน ทำงานอย่างไร
ภูมิคุ้มกัน หรือ ภูมิต้านทาน (Immune) คือ ระบบการทำงานของร่างกาย มีหน้าที่ปกป้องเซลล์ทุกส่วนให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อ การอักเสบและการถูกทำลาย โดยกำจัดเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกัน เกิดจากการทำงานร่วมกันของหลายระบบภายในร่างกาย ทั้งอวัยวะ เซลล์ สารเคมี และโปรตีนชนิดต่างๆ หากภูมิคุ้มกันอ่อนแอเนื่องจากระบบร่างกายทำงานผิดปกติ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับการติดเชื้อภายนอก จะเกิดการเจ็บป่วยและติดเชื้อได้ง่าย ต้องใช้ระยะเวลารักษานานกว่าปกติ รวมถึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายในอนาคต
ความสำคัญของภูมิคุ้มกันในเด็ก
ระบบภูมิคุ้มกันในเด็กจะเริ่มพัฒนาเต็มที่ในช่วง 3-5 ปีแรกของชีวิต โดยในช่วงนี้ร่างกายจะพัฒนาความสามารถในการสร้างภูมิต้านทานและปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา เมื่อระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้เต็มที่ เด็กจะมีความต้านทานต่อโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อที่อาจทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้เมื่อเด็กโตขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันจะพัฒนาอย่างต่อเนื่องผ่านการสัมผัสกับเชื้อโรคต่างๆ จากการที่เด็กเริ่มเข้าสังคม เช่น การไปโรงเรียน การเล่นกับเพื่อน หรือการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่เต็มไปด้วยเชื้อโรค ซึ่งการสัมผัสเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาด้วยตนเอง
ปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมภูมิคุ้มกันในเด็ก
โภชนาการที่ดี
การทานอาหารที่มีคุณค่าเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในเด็ก อาหารที่มีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น วิตามิน A, C, D, E, และแร่ธาตุต่างๆ เช่น สังกะสี (Zinc) และธาตุเหล็ก (Iron) ซึ่งช่วยเสริมการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ โดยสามารถหาได้จากอาหารเช่น ผักใบเขียว ผลไม้สด เช่น ส้ม, มะละกอ, ผักขม, และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ นอกจากนี้ยังควรให้เด็กทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์, ไข่, ถั่ว และนม เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
การนอนหลับที่เพียงพอ
การนอนหลับเป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เพราะเมื่อเด็กนอนหลับ ร่างกายจะใช้เวลานี้ในการซ่อมแซมและฟื้นฟูตัวเอง รวมทั้งช่วยในการสร้างและกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะในช่วงที่เด็กหลับลึก ซึ่งมีการผลิตโปรตีนที่ช่วยให้ภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น ดังนั้นการให้เด็กนอนหลับอย่างเพียงพอเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการเสริมภูมิคุ้มกัน
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายเป็นวิธีการที่ดีในการกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ลดความเครียด และเพิ่มพลังในการต่อสู้กับเชื้อโรค เด็กที่ออกกำลังกายเป็นประจำจะมีความแข็งแรงทางกายภาพและทางจิตใจ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีกว่าเด็กที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
การป้องกันการติดเชื้อ
การป้องกันการติดเชื้อเป็นเรื่องสำคัญในการเสริมภูมิคุ้มกันให้เด็ก ไม่ว่าจะเป็นการรักษาความสะอาด เช่น การสอนเด็กให้ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังจากการใช้ห้องน้ำหรือการสัมผัสกับสิ่งสกปรก การหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่มีอาการป่วยหรือการอยู่ในพื้นที่ที่มีการแพร่กระจายของโรค การป้องกันที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้
การให้วัคซีน
การให้วัคซีนเป็นวิธีที่สำคัญที่สุดในการเสริมภูมิคุ้มกันของเด็ก เพราะวัคซีนจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างภูมิต้านทานต่อโรคต่างๆ เช่น โรคหัด โปลิโอ และโรคตับอักเสบ เป็นต้น โดยวัคซีนจะช่วยให้เด็กไม่ติดเชื้อหรือลดความรุนแรงของโรคที่อาจเกิดขึ้น
การลดความเครียด
แม้ว่าความเครียดอาจจะไม่เกิดขึ้นบ่อยในเด็ก แต่การเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวัน เช่น การเริ่มเข้าโรงเรียน การต้องปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมใหม่ หรือการถูกกดดันจากการเรียนอาจส่งผลให้เด็กเครียดได้ การเครียดสามารถลดประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้ ดังนั้นการให้ความรักและการดูแลที่ดี เช่น การพูดคุย การเล่นเกม หรือกิจกรรมร่วมกับเด็ก จะช่วยลดความเครียดและเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
ผลกระทบจากภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรง
หากเด็กมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ จะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการด้านต่างๆ เช่น การเรียนรู้ การเจริญเติบโต และความแข็งแรงโดยรวม นอกจากนี้ยังอาจมีปัญหาสุขภาพในระยะยาว เช่น การติดเชื้อที่เกิดขึ้นบ่อยๆ หรือการเป็นโรคเรื้อรังที่ยากต่อการรักษา
การเสริมภูมิคุ้มกันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการดูแลสุขภาพของเด็ก ช่วยให้เด็กสามารถเติบโตและพัฒนาได้อย่างสมวัย และลดโอกาสในการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นได้ การมีภูมิคุ้มกันที่ดีจะช่วยให้เด็กมีสุขภาพที่ดีและลดการเจ็บป่วย ช่วยให้เด็กเติบโตได้ตามวัยอย่างสมบูรณ์และสามารถพัฒนาได้ในทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม
อาหารที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละวัย
เด็กควรรับประทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน ได้รับพลังงาน เสริมสร้างความแข็งแรง การเจริญเติบโตตามวัย พัฒนาการ ความเข้าใจ และการเรียนรู้ โดยควรได้รับอาหารตามวัย ดังนี้
– แรกเกิด- 6 เดือน ให้เด็กดื่มนมแม่เท่านั้น
– 6 เดือนขึ้นไป เริ่มให้เด็กทานอาหารอ่อนตามวัย
– 1-5 ปี เด็กสามารถร่วมรับประทานกับครอบครัว โดยเริ่มให้เด็กรับประทานอาหารที่หยาบขึ้น ข้าวมื้อละ 1 ทัพพีหรือ 5 ช้อนโต๊ะ เนื้อสัตว์ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะหรือไข่ 1 ฟอง สามารถรับประทานไข่ครึ่งฟองและเนื้อสัตว์ 1 ช้อนโต๊ะ
เด็กเล็กควรเริ่มหัดรับประทานผัก โดยเลือกผักสีอ่อน เช่น ผักกาดขาว กวางตุ้ง บรอกโคลีประมาณครึ่งช้อนโต๊ะ เพิ่มน้ำมัน ในเด็กที่มีความจำเป็นต้องใช้พลังงาน เพื่อสร้างเซลล์เส้นประสาทและสมอง แนะนำน้ำมันรำข้าวเพราะมีกรดไขมันจำเป็น คือ โอเมกา 3 และโอเมกา 6 ในอัตราส่วนที่นำไปใช้ได้สร้างเซลล์ประสาทและเซลล์สมอง
อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการ 3-5 วัน หลังจากให้ลูกๆ ลองรับประทานอาหารใหม่ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกไม่แพ้อาหารชนิดนั้นๆ โดยสังเกตว่าลูกมีผื่นขึ้น หรือถ่ายเป็นมูกเลือดหรือไม่
6 ปีขึ้นไป เป็นวัยเข้าเรียน สามารถรับประทานอาหารในโรงเรียนที่มีนักโภชนาการคอยดูได้
อาหารเสริมภูมิคุ้มกันเด็ก
นอกจากการรับประทานอาหารจะช่วยให้เด็กเจริญเติบโตตามวัยแล้ว สารอาหารที่จำเป็นยังช่วยกระตุ้นภูมิต้านทาน ป้องกันเด็กๆ จากภาวะเจ็บป่วย โดยเฉพาะเด็กๆ วัยเรียนที่มักได้รับเชื้อโรคจากการไปพบเจอเพื่อน ๆ ที่โรงเรียน โดยสารอาหารเสริมภูมิต้านทาน และ วิตามินเสริมภูมิคุ้มกันเด็ก มีดังนี้
สังกะสี
สังกะสี เป็นแร่ธาตุที่สำคัญ เป็นตัวช่วยในเอนไซม์ต่างๆ ที่ใช้ในร่างกาย ช่วยในการทำงานของเม็ดเลือดขาว ถ้าขาดสังกะสีทำให้ภูมิคุ้มกันไม่ดี สังกะสีพบมากในสัตว์เนื้อแดง อาหารทะเล ไข่แดง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาว่าการเสริมสังกะสีหรือซิงค์ในเด็ก ทำให้เด็กสูงขึ้นได้ แต่ความสูงของเด็กไม่ได้ขึ้นกับสังกะสีอย่างเดียว ต้องขึ้นกับแคลเซียมและอะมิโนแอซิดหรือโปรตีนด้วย
วิตามินดี (vitamin D)
วิตามินดี ช่วยควบคุมการทำงานของเม็ดเลือดขาว พบในแสงแดด สำหรับในอาหารมีในกลุ่มปลาทะเลน้ำลึก ไข่แดง ตับ เป็นต้น การให้เด็กวิ่งเล่นเป็นวิธีที่ทำให้เด็กได้รับวิตามินดีอีกทางหนึ่งเช่นกัน
วิตามินซี
วิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้ร่างกายแข็งแรง พบในผักใบสีเขียว และผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม ฝรั่ง สตรอว์เบอร์รี เนื่องจากวิตามินซีจะสูญเสียได้ง่าย เมื่อโดนความร้อนหรือแช่ในตู้เย็นเป็นเวลานาน ดังนั้น การปรับกระบวนการปรุง โดยนึ่งหรือผัดที่ใช้ระยะเวลาสั้นๆ
วิตามินเอ
วิตามินเอช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยแหล่งอาหารที่ดีที่ร่างกายสามารถดูดซึมและใช้ประโยชน์ได้สูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง นม ผลิตภัณฑ์จากนม เป็นต้น
ซีลีเนียม
ซีลีเนียมช่วยต้านอนุมูลอิสระ ที่สำคัญกว่าวิตามินซี พบในธัญพืช สัตว์เนื้อแดง
โปรตีน
โปรตีนช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย เสริมภูมิคุ้มกันการทำงานของเม็ดเลือดขาว ถ้าขาดโปรตีนเด็กมักป่วยบ่อย เมื่อป่วยจะมีอาการรุนแรงและหายช้า
ธาตุเหล็ก
สัตว์เนื้อแดงที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับ เนื้อหมู เนื้อไก่
เคล็ดลับ รับมือเด็กกินยาก
– คุณพ่อคุณแม่หลายครอบครัวอาจกำลังประสบปัญหาเด็กเลือกกินหรือกินยาก ทำให้ร่างกายไม่สามารถได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอ วิธีรับมือกับลูกกินยาก ควรทำดังนี้
– อย่าให้ดื่มนมมากเกินไป เมื่อเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป อาหารหลัก คือข้าว ไม่ใช่นมอีกต่อไป เด็กๆ ควรรับประทานข้าวให้ครบ 3 มื้อ นมเสริมประมาณวันละ 2-3 กล่อง การดื่มแต่นมกล่องอาจทำให้ขาดวิตามินซี เนื่องจากนมผ่านความร้อนสูง ซึ่งจะแสดงอาการคือเดินไม่ได้ เนื่องจากมีเลือดออกในข้อเข่า
– จัดระเบียบมื้ออาหารให้ดี มื้อแรกหลังตื่นนอน ควรให้เด็กรับประทานข้าว เว้นระยะสักพักจึงดื่มนม รวมถึงไม่ควรให้ดื่มนมหรือทานขนมก่อนมื้ออาหาร 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้หิวและพร้อมรับประทานข้าวมื้อต่อไป
– จำกัดเวลาต่อมื้อ ไม่ควรปล่อยให้เด็กรับประทานอาหารเกินครึ่งชั่วโมง
– ให้เด็กเรียนรู้พฤติกรรมการกินที่ดีต่อสุขภาพ เด็กใช้เวลาปรับตัวได้ไม่เท่ากัน บางคนใช้เวลา 3-4 สัปดาห์ ขณะที่บางคนอาจต้องใช้เวลานานถึง 1-2 เดือน
– ใจเย็นและให้เวลาเด็กเรียนรู้ คุณพ่อคุณแม่ควรใจเย็นและให้เวลากับลูกกลุ่มเด็กเลือกกิน ลองป้อนสิ่งที่เด็กไม่ชอบซ้ำๆ 10-15 ครั้ง เนื่องจากเป็นธรรมชาติของเด็กที่ไม่คุ้นกับผิวสัมผัสหรือกลิ่นของอาหารใหม่ๆ
– สังเกตความชอบของลูก กรณีเด็กที่รับประทานแต่อาหารที่ชอบ คุณพ่อคุณแม่อาจให้ลองอาหารที่ไม่เคยรับประทานใน 10 นาทีแรก อีก 20 นาที หลัง จึงปล่อยให้รับประทานอาหารที่ชอบ
– ให้เด็กดื่มน้ำเปล่า การดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำอัดลม จะทำให้เด็กติดหวาน เมื่อโตขึ้นอาจมีภาวะน้ำหนักตัวเกิน
– ปรับพฤติกรรมครอบครัว คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นตัวอย่างให้ลูก หากไม่อยากให้ลูกกินหรือดื่มสิ่งใด คุณพ่อคุณแม่ก็ควรงดด้วยเช่นกัน หรือไม่มีอาหารชนิดนั้นติดบ้าน
– เลือกของว่างให้มีประโยชน์ จากขนมหวาน คุณพ่อคุณแม่อาจเลือกเป็นขนมจีบ ซาลาเปา หรือเยลลี่ ลูกอม- ให้เปลี่ยนเป็นผลไม้ ไอศกรีมเปลี่ยนเป็นโยเกิร์ต ผลไม้แช่แข็ง หรือสมูทตี้แทน
– มีข้อตกลง เช่น คุณพ่อคุณแม่อาจทำข้อตกลงกับลูกว่า หลังมื้ออาหาร สามารถกินขนมได้เล็กน้อย
– อาหารแลกเปลี่ยน เพื่อลดความเบื่อหน่าย คุณพ่อคุณแม่สามารถปรับเปลี่ยนอาหารให้มีทางเลือกมากขึ้น เช่น คาร์โบไฮเดรต ข้าว 1 ทัพพี = ขนมปัง 1 แผ่น = ข้าวเหนียว ½ ห่อ มักกะโรนี บะหมี่ 1 ฝ่ามือ โปรตีน หมู ไก่ ปลา เต้าหู้
– ชื่นชมเมื่อลูกรับประทานอาหารได้ดี ด้วยคำพูด หรือให้สติกเกอร์ เป็นรางวัล
– เด็กโตให้มีส่วนร่วมในมื้ออาหาร เช่น ถือจาน จัดโต๊ะ
– ตกแต่งจานให้ดึงดูดเด็ก
– รับประทานอาหารบนโต๊ะกับครอบครัว พร้อมบรรยากาศที่ดี
– กรณีรับประทานอาหารนอกบ้าน ควรเลือกร้านที่สะอาด อาหารปรุงสด สุก สะอาด ปลอดภัยสำหรับเด็ก
ทำความรู้จักกับสมุนไพรน่ารู้
สมุนไพรที่มีการนำมาใช้เป็นยาสมานแผล แก้ท้องร่วงได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้บิดมูกเลือด และมีการใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยาไทย ที่มีสรรพคุณแก้ท้องเสียอีกด้วย
ชื่ออื่น มะเก๊า มะก่องแก้ว หมากจัง (เหนือ) พิลาขาว (น่าน) พิลา (หนองคาย)
สรรพคุณ ใบ รสฝาด แก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด แก้ลำไส้อักเสบเฉียบพลัน ปิดธาตุ สมานแผล พอกแผลฟกช้ำ แก้อาเจียน รักษาตาเจ็บ อมกลั้วคอ ชะล้างแผลมีหนองเรื้อรังบนศีรษะ แก้โรคลักปิดลักเปิด ทับทิมทั้ง 5 (ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล) แก้ท้องเสีย แก้บิด มูกเลือด ขับพยาธิเส้นด้าย และตัวตืด ใบสดนำมาต้ม กรองเอาน้ำใช้ล้างแผลที่มีหนอง หรือใช้ใบสดตำพอกบริเวณที่เป็นแผลถลอก สมานแผล
มีการระบุการใช้ทับทิมในบัญชียาสมุนไพร ซึ่งระบุการใช้ในตำรับ ยาเหลืองปิดสมุทร มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูก หรือมีเลือดปน และท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้
องค์ประกอบทางเคมี ในใบพบสารกลุ่มแทนนินเป็นองค์ประกอบหลัก
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ