Preparation before childbirth and postnatal care การเตรียมตัวก่อนคลอดและการปฎิบัติตัวหลังคลอด

Preparation before childbirth and postnatal care การเตรียมตัวก่อนคลอดและการปฎิบัติตัวหลังคลอด

Preparation before childbirth and postnatal care การเตรียมตัวก่อนคลอดและการปฎิบัติตัวหลังคลอด

การเตรียมของคลอดสำหรับคุณแม่ที่โรงพยาบาล
– ผ้าเช็ดตัว
– อุปกรณ์อาบน้ำ (สบู่ แชมพู โฟมล้างหน้า แปรงสีฟัน ยาสีฟัน)
– เสื้อผ้าคุณแม่สำหรับใส่วันกลับบ้าน
– ยกทรงให้นมลูกและแผ่นซับน้ำนม
– ถุงเท้าและเสื้อกันหนาว (เพื่อให้ร่างกายอบอุ่นระหว่างรอคลอด)
-ของใช้จำเป็นอื่น ๆ ของคุณแม่ เช่น โทรศัพท์มือถือ สายชาร์จ ผ้าอนามัย เป็นต้น
 
การเตรียมเอกสารสำคัญก่อนคลอดและเอกสารสำหรับการแจ้งเกิด
– เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมก่อนคลอดเพราะมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องใช้ในวันเตรียมตัวคลอดที่โรงพยาบาล
– บัตรประจำตัวประชาชนของคุณแม่
– บัตรประจำตัวประชาชนของคุณพ่อ
– บันทึกการฝากครรภ์
– เอกสารประกันสุขภาพ
– สำเนาทะเบียนบ้านที่ต้องการนำชื่อเด็กย้ายเข้า
– ของใช้สำหรับเด็กอ่อน (สำหรับใช้ที่โรงพยาบาล)

ข้อปฏิบัติสำหรับคุณแม่ในวันคลอด

หลังจากการเตรียมความพร้อมเรื่องของใช้สำหรับคุณแม่และคุณลูกแล้ว  การเตรียมตัวก่อนคลอดก็เป็นเรื่องสำคัญสำหรับคุณแม่เช่นกัน  ดังนั้น คุณแม่ควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของทางโรงพยาบาล
– ไม่ใส่เครื่องประดับมาโรงพยาบาลในวันคลอด
– ไม่ควรทาลิปสติกและสีเล็บ  เนื่องจากแพทย์จะสังเกตภาวะออกซิเจนของร่างกายจากสีของริมฝีปากและเล็บ
– วันมาคลอดให้คุณแม่อาบน้ำ สระผม  และตัดเล็บให้เรียบร้อย
– กรณีนัดผ่าตัดคลอดก่อนเวลาผ่าตัดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง  ให้คุณแม่งดน้ำ งดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิด  ควรมาถึงโรงพยาบาลก่อนเวลาผ่าตัด 2-3 ชั่วโมง เพื่อเตรียมความพร้อมต่าง ๆ ก่อนเข้าห้องผ่าตัด

สิ่งที่ควรทราบและควรปฏิบัติตัวหลังคลอด

สุขภาพหลังคลอด และการดูแลทารก
การตั้งครรภ์ และคลอดบุตร ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง และบางส่วนได้รับผลกระทบอย่างมาก
การฟื้นฟูให้ร่างกายกลับมาสู่สภาพปกติ จำเป็นต้องได้รับการดูแลและปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง แต่ก่อนอื่นลอง
มาดูสักนิดว่าส่วนไหนของร่างกายที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
 
การเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังคลอด
ในช่วงหลังคลอดคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งทางด้าน ร่างกายและจิตใจ ร่างกายจะมี
การเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับ การให้นมบุตร และการเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงก่อน
การ ตั้งครรภ์ การมีสมาชิกคนใหม่ในครอบครัวก็จะมีผลทางด้านจิตใจทั้งของ คุณพ่อและคณแม่ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจจะมีผลต่อ คุณแม่เป็นอย่างมาก ถ้าหากมีการเตรียมพร้อมที่จะรับการ
เปลี่ยนแปลงทาง ที่จะเกิดขึ้น ก็จะสามารถผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปได้อย่างราบรื่น สิ่งที่ควรทราบ และควรปฏิบัติตัวหลังคลอดเมื่อกลับบ้านมีดังต่อไปนี้
 
แผลฝีเย็บ/แผลผ่าตัด
– ทำความสะอาดทุกครั้งหลังปัตหาวะหรือดุจจาระด้วยด้วยหมู่และน้ำละอาค แล้วขับแผลให้แผลให้แห้แห้เงล้ง
– แผลเย็บด้วยไหมละลายไม่ต้องตัดไหม แผลจะหายเป็นปกติประมาณ 5 วัน
– ไม่จำเป็นต้องอยู่ไฟอบแผลอีก

แผลผ่าตัด
– สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ ถ้าปิดแผลด้วยแผ่นปิดกันน้ำ
– หลังอาบน้ำควรชับแผ่นปิดแผลให้แห้ง และปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลแผลก่อนกลับบ้าน
– แผลจะหายเป็นปกติประมาณ 7 วัน

การรับประทานอาหาร
ภายหลังคลอดบุตรควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อช่วยเสริมสร้างร่ายกายและให้มี
สารอาหารเพียงพอที่จะสร้างน้ำนมให้ลูก นอกจากนี้การรับประทานผักผลไม้จะช่วยให้ท้องไม่ผูกอีกด้วยซึ่ง
ส่วนมากแล้วคุณแม่จะมีอาการท้องผูก ในสัปดาห์แรกเพราะไม่กล้าเบ่งอุจจาระกลัวเจ็บแผล ในมารดาที่ให้นมบุตรควรรับประทานอาหารให้ครบถ้วนและควรดื่มน้ำหรือนมเพิ่มมากขึ้น
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ อาหารประเภทหมักดอง อาหารรสจัด ชา กาแฟ ยาดองเหล้า และ
อาหารที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ เนื่องจากสารเหล่านี้อานี้อาจถูกขับออกทางน้ำนมได้

การพักผ่อน
ในระยะหลังคลอดคุณแม่ยังคงอ่อนเพลีย จากการสูญเสียเลือดและพลังงานในขณะคลอด ดังนั้นควร
ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพออย่างน้อย วันละ 6-8 ชั่วโมง โดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์แรก
 
การทำความสะอาดร่างกาย
คุณแม่สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ โดยวิธี การอาบหรือฝักบัว ไม่ควรอาบน้ำแบบแชในอ่างน้ำหรือว่ายน้ำเนื่องจากปากมดลูกยังปิดไม่สนิทอาจ ทำให้เชื้อโรคที่อยู่ในน้ำเข้าทางช่องคลอดแล้ว ลุกลามสู้โพรงมดลูกทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นได้ การสระผมสามารถทำได้ตามปกติหรือตามความ เหมาะสม ภายหลังอุจจาระหรือปัสสาวะควรล้าง ให้สะอาดและซับให้แห้ง แล้วจึงใส่ผ้าอนามัย ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยเมื่อเปียกชุ่มหรืออย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง
 
การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ระยะ 6 สัปดาห์หลังคลอด สามารถทำกิจกรรมที่ไม่ต้องออกแรงมาก เช่น ทำอาหาร ไม่ควรยกของหนักหรือทำงานที่ต้องใช้กำลัง ของกล้ามเนื้อหน้าท้องเพราะอาจเจ็บแผลผ่าตัดแ
เคลื่อนลงต่ำได้ เนื่องจากเส้นเอ็นที่ยืดมดลูกมีการขยายตัว ในช่วงนี้สามารถขึ้นลงบันไดได้ แต่ ควระมัดระวัง
เรื่องการลื่นหกล้มหรืออาการหน้ามืดเป็นลมอาจทำให้เกิด อุบัติเหตุพลัดตกได้
นอกจากนี้การขับรถยนต์สามารถกระทำได้ ยกเว้นในรายที่มีอาการ เจ็บหรือเกร็งบริเวณแผลผ่าตัด
หรือแผลฝีเย็บควรงดการขับรถรอจนกว่าแผล จะหายดีประมาณ 4 สัปดาห์หลังคลอดปกติ หรือ 6 สัปดาห์หลังผ่าตัดคลอด และสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

น้ำคาวปลา
น้ำคาวปลา คือ เลือดและเนื้อเยื่อที่หลุดออกจากเยื่อบุมดลูกในระยะหลังคลอด ในช่วงเวลา 2-3 วัน
แรกจะมีสีแดงสดจำนวนค่อนข้างมากจากนั้นสีจะจางลงเรื่อยๆ จนเป็นสีน้ำตาลอ่อนและปริมาณจะค่อยๆ
ลดลงจนหมดไป และมดลูกเข้าอู่ประมาณ 4-6 สัปดาห์หลังคลอด ถ้าน้ำคาวปลาออกน้อยก็ไม่ ควรต้องวิตก
กังวล หากน้ำคาวปลามีกลิ่นและสีแดงสตตลอดเวลาหรือปริมาณ มากขึ้น ควรรีบมาพบแพย์ทันที
นอกจากนี้ จะพบว่าในขณะที่ให้นมบุตร จะมีน้ำคาวปลาจำนวนมากกว่า ปกติและมีอาการปวดมดลูก
(ปวดท้อง) ร่วมด้วย เนื่องจากมดลูกมีการบีบวัด เพื่อจะขับน้ำคาวปลาออกมา
 
ประจำเดือน
ในรายที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะไม่มีประจำเดือน แต่ถ้ามีประจำเดือน ระหว่างให้นมบุตรก็ถือว่าไม่
ปกติ อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงลูกด้วยมแม่ไม่ถือว่าเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ หากเกิน 3เดือน การตกไข่เมื่อใดก็ได้ ถ้าไม่มีการคุมกำเนิดอาจตั้งครรภ์ได้ สำหรับรายที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วย ประจำเดือนภายใน 6-8 สัปดาห์หลังคลอด ประจำเดือนครั้งแรกอาจจะออกนานหรือมากกว่าปกติ ควรคุมกำเนิดภายใน 4-6 สัปดาห์        หลังคลอดหากไม่คุมกำเนิดอาจตั้งครรภ์ได้
 
การดูแลเต้านม
ในรายที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หลังคลอดเต้านมจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม เมื่อเต้า
นมคัดแล้วควรสวมเสื้อชั้นในที่กระชับเพื่อพยุงเต้านมไว้ในระยะ 2-3 วันแรกจะมีน้ำเหลืองที่เรียกว่า โคลรัม
(Colostrum) ออกมาก่อนซึ่งน้ำนมนี้จะมีประโยชน์ต่อลูกมาก
หลังคลอดวันที่ 3 คุณแม่จะรู้สึกคัดตึงที่เต้านม ทำให้รู้สึกปวด บางครั้ง อาจทำให้มีไข้เกิดขึ้นได้ ควร
ให้ลูกดูดนมจนหมด ในรายที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วย นมแม่ ควรแจ้งแพทย์ตั้งแต่ก่อนคลอด เพื่อจะได้ป้องกันไม่ให้น้ำนมไหล ไม่เกิดอาการคัดและปวด แต่ถ้ามีอาการคัดตึงเต้านมอย่ากระตุ้นเต้านมไม่ว่าวิธีใดๆ ทั้งสิ้นให้บีบน้ำนมออกจนเต้านมนุ่ม และหายปวดได้ 1 ครั้ง และ ประคบด้วยความเย็นแล้วจึงใส่เสื้อชั้นในที่รัดและกระชับแน่น
การทำความสะอาดเต้านมเวลาอาบน้ำควรล้างเต้านมและหัวนมด้วย น้ำสะอาดธรรมดาก็เพียงพอ
การล้างด้วยสบู่จะทำให้หัวนมสูญเสียน้ำมันตาม ธรรมชาติ ทำให้หัวนมแตกได้ง่าย
 
การมีเพศสัมพันธ์
ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ภายใน 4-6 สัปดาห์ หลังคลอด เนื่องจากในระยะหลังคลอดจะมี น้ำคาวปลา
และปากมดลูกยังปิดไม่สนิท รวมทั้งอวัยวะภายในต่างๆ ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติดีนัก อาจทำให้เกิดอาการเจ็บ
หรือติดเชื้อได้ง่าย
 
การคุมกำเนิด
เพื่อสุขภาพของมารดาและบุตรในอนาคต ควรเว้นระยะการตั้งครรภ์ประมาณ 1-2 ปี ด้วยการ
คุมกำเนิดซึ่งมีอยู่หลายวิธี จะเลือกใช้วิธีใดควร ปรึกษาแพทย์เพื่อความเหมาะสมในแต่ละราย
 
การตรวจร่างกายหลังคลอดตามแพทย์นัด
ภายหลังการคลอดแล้วประมาณ 4-6 สัปดาห์ แพทย์จะนัดให้มาตรวจ สุขภาพหลังคลอดเพื่อดูว่า
อวัยวะต่างๆ ของคุณแม่กลับคืนสู่ปกติหรือยัง มีภาวะแทรกช้อนเกิดขึ้นบ้างหรือไม่โดยการตรวจหน้าท้องตรวจภายใน ตรวจมะเร็งปากมดลูกและชักถามถึงสุขภาพทั่วๆไปว่าเป็นอย่างไร รวมทั้งให้คำแนะนำการคุมกำเนิดด้วย เพื่อไม่ให้ตั้งครรภ์ใหม่เร็วเกินไป

ทำความรู้จักกับสมุนไพรน่ารู้

ชื่ออื่น ตังกุย (จีน)

สรรพคุณ ตำรายาไทย ใช้แก้ไข้ แก้สะอึก แก้ไอ แก้หอบ แก้เสียดแทงสองราวข้าง รักษาความผิดปกติของประจำเดือน ปวดประจำเดือน ใช้รักษาอาการปวดท้อง ปวดข้อ และอาการปวดหลังจากการผ่าตัด แก้ท้องผูก ตับอักเสบเรื้อรัง บำรุงโลหิต กระจายโลหิต แพทย์แผนจีนใช้เครื่องยาชนิดนี้ในยาเกี่ยวกับโรคเฉพาะสตรี เช่น อาการปวดเอว ประจำเดือนผิดปกติ ภาวะขาดประจำเดือน เช่น อาการร้อนวูบวาบ เป็นยาขับประจำเดือน แก้รกตีขึ้น แก้ไข้บนกระดานไฟ เกี่ยวกับอาการเลือดออกทุกชนิด แก้หวัด แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ตกมูกเลือ

นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร ระบุการใช้โกฐเชียงในการรักษาอาการในระบบต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) คือ ยาหอมเทพจิตร ยาหอมเนาวโกฐ และกลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร คือ ยาธาตุบรรจบ

มีการระบุการใช้ในตำรับยาไทย ได้แก่ พิกัดโกฐทั้ง 5, พิกัดโกฐทั้ง 7, และพิกัดโกฐทั้ง 9
องค์ประกอบทางเคมี   น้ำมันระเหยง่ายราวร้อยละ 0.4-0.7 สารหลักคือ alkylphthalides ในน้ำมันระเหยง่ายมีสารแซฟโรล(safrole) สารไอโซแซฟโรล (isosalfrole) สารคาร์วาครอล (carvacrol) เป็นต้นนอกจากนี้ยังพบสารกลุ่มเทอร์ปีนอยด์  ฟีนิลโพรพานอยด์  คูมาริน  โพลีอะเซทิลีน
         
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา มีฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
         
ข้อควรระวัง ควรระมัดระวังในการใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากเสริมฤทธิ์กัน อาจทำให้เลือดแข็งตัวช้า และเลือดไหลหยุดยากได้

ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยดูแลคุณแม่หลังคลอด

เครื่องดื่มสามสิบ (รากสามสิบแบบน้ำ)

600.00 บาท1,110.00 บาท
Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top