Shingles Around the Body เป็นงูสวัดรอบตัว ตายจริงหรือไม่ ?
คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส VZV ที่ซ่อนอยู่ในปมประสาท ในผู้ที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน โดยเมื่อหายจากโรคอีสุกอีใส ไวรัส VZV จะเข้าไปหลบซ่อนตัวอยู่ใน
ปมประสาทรับความรู้สึก ตราบเมื่อภูมิคุ้มกันร่างกายลดต่ำ ไวรัส VZV ที่ก่อโรคจะกำเริบโดยแสดงออกซึ่งอาการของโรคงูสวัดที่ทำให้มีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน มีผื่นแดงขึ้นเรียงกันเป็นกลุ่มตามแนวเส้นประสาท มีตุ่มน้ำใสขึ้น และอาจมีไข้ร่วม งูสวัดที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น งูสวัดขึ้นตา อาการปวดตามแนวเส้นประสาทหลังการติดเชื้อ (PHN) หรือมีความผิดปกติทางระบบประสาท ผู้ที่มีอาการต้องสงสัยด้วยโรคงูสวัดควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและรับยาต้านไวรัสโดยเร็ว
ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคงูสวัด คือใคร?
• ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
• ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ
• ผู้ที่ทานยากดภูมิคุ้มกัน
• ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
• ผู้ที่เป็นมะเร็ง
• ผู้ป่วยติดเตียง
• ผู้ที่มีความเครียด
• ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ
• ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรง
• ผู้ที่เคยได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
• ผู้ที่รับยาเคมีบำบัด
• ผู้ที่ใช้สเตียรอยด์เป็นเวลานาน
• ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคแพ้ภูมิตนเอง หรือโรคเอสแอลอี (SLE) โรคหัวใจ โรคไต
อาการงูสวัด เป็นอย่างไร ?
อาการงูสวัดแบ่งอาการออกได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
1. งูสวัดระยะเริ่มมีอาการ (Preeruptive phase) เป็นระยะที่เชื้อไวรัส VZV ที่แฝงตัวอยู่ แพร่กระจายไปตามปมประสาทรับความรู้สึก (Sensory ganglion) และรอบปลายประสาทผิวหนังจนทำให้เส้นประสาทอักเสบ ปลายประสาทอักเสบ มีอาการชา เจ็บแปลบ ปวดแสบปวดร้อนข้างใดข้างหนึ่ง (unilateral)
ของผิวหนังตามแนวเส้นประสาท ร่วมกับมีอาการคัน ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดหัว ในบางรายอาจมีไข้ อ่อนเพลีย ท้องเสีย หรือมีภาวะตาสู้แสงไม่ได้ งูสวัดระยะเริ่มมีอาการมีระยะเวลาประมาณ 1-3 วัน แต่จะยังไม่มีรอยโรคขึ้นที่ผิวหนัง
2. งูสวัดระยะออกผื่น (Acute eruption phase) เป็นระยะที่มีรอยโรคขึ้นเป็นผื่นแดงที่ผิวหนัง
ตามแนวปมประสาทรับความรู้สึก ตามด้วยตุ่มน้ำใส (Vesicle) ขึ้นพาดเรียงกันเป็นกลุ่มยาวตามแนวปมประสาทที่บริเวณด้านซ้ายหรือด้านขวาของสีข้างลำตัว แผ่นหลัง หรือขา ด้านในด้านหนึ่งของใบหน้า ดวงตา หรือลำคอ โดยผื่นงูสวัดจะไม่กระจายตัวทั่วไปเหมือนผื่นโรคอีสุกอีใสและจะขึ้นเต็มที่ภายใน 3-5 วัน ผู้ที่เป็นงูสวัดระยะออกผื่นจะมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ อ่อนเพลีย เจ็บแปลบที่ผิวหนังแม้ถูกสัมผัสเพียงเล็กน้อย หรือ
แม้เพียงสัมผัสโดนเสื้อผ้า ต่อมาผื่นจะแตกออกกลายเป็นแผล ค่อยๆ แห้ง ตกสะเก็ด และหลุดออกจากผิวหนังภายใน 10-15 วัน ทั้งนี้ ผื่นงูสวัดในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายเป็นปกติ มักขึ้นที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย
แต่ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ เช่น ผู้ที่เป็นมะเร็ง โรคเอดส์ หรือผู้ที่รับยาเคมีบำบัด ผื่นงูสวัดอาจมีความรุนแรงกว่า และอาจขึ้นแบบพันรอบตัว
3. งูสวัดระยะฟื้นหายจากโรค (Chronic phase) เป็นระยะหลังจากที่โรคงูสวัดสงบลง ผื่นงูสวัด
จะค่อยๆ ยุบตัวลง รอยโรคที่ผิวหนังตามแนวปมประสาทจะค่อยๆ จางหาย แต่จะยังคงมีอาการบางอย่างหลงเหลืออยู่ เช่น อาการปวดแสบปวดร้อน ปวดเหมือนมีเข็มทิ่มตำ หรือเจ็บแปล๊บๆ ตามแนวเส้นประสาทตั้งแต่ระดับปานกลางถึงรุนแรง อาจมีอาการปวดตลอดเวลา หรือปวดแบบเป็นๆ หายๆ บางรายอาจปวดไปอีกนานหลายปี
• งูสวัดหลบใน (Zoster Sine Herpete: ZSH) ผู้ที่เป็นงูสวัดบางรายอาจมีอาการงูสวัดหลบใน โดยจะมีอาการชา คัน ปวดแสบปวดร้อนตามแนวเส้นประสาทรับความรู้สึกแต่กลับไม่มีผื่นขึ้น ผู้ที่สงสัยว่ามีอาการงูสวัดหลบใน ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคเพิ่มเติม
• งูสวัดพันรอบตัวแล้วตาย จริงหรือไม่?
มาถึงคำถามที่เป็น Toppic ของบทความที่ว่า “เป็นงูสวัดรอบตัว แล้วตาย” เป็นความเชื่อที่ไม่จริง ในผู้ป่วยงูสวัดบางราย ผื่นงูสวัดอาจขึ้นพร้อมกันได้ทั้ง 2 ด้าน ทั้งซ้ายและขวา จนทำให้ดูเหมือนว่างูสวัดกำลังพันรอบตัว แต่โดยมากผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคงูสวัด จะเสียชีวิตจากภาวะภูมิคุ้มกันต่ำร่วมกับภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นด้วยโรคงูสวัด ซึ่งการติดเชื้อไวรัส VZV จะยิ่งทำให้ร่างกายอ่อนแอและเสียชีวิตลงในวลาต่อมา ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวพบมากในผู้ป่วยงูสวัดที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
วิธีดูแลตนเองเมื่อเป็นงูสวัด มีวิธีการอย่างไร ?
• รีบพบแพทย์เพื่อรับยาต้านไวรัสทันทีภายใน 48-72 ชั่วโมงที่มีอาการเจ็บแปลบ ปวดแสบปวดร้อนที่ผิวหนัง ร่วมกับมีไข้
• ทานยา และทายาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดเพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรค ลดรอยโรคและลดภาวะแทรกซ้อน
• ประคบเย็นด้วยเจลประคบเย็น และปิดผื่นไว้แบบหลวมๆ
• ไม่ใช้ยาสมุนไพรที่เป็นลักษณะการพ่น หรือยาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ยาตามแพทย์สั่งทาผื่นงูสวัดหรือบริเวณผื่นคัน เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมา ซึ่งทำให้แผลหายช้า หรืออาจทำให้เป็นแผลเป็น
• ไม่เกาที่ผื่นงูสวัดหรือบริเวณผื่นคัน หากเล็บยาว ให้ตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สะอาดเพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อน และเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
• หากมีแผลเปิด ให้ปิดแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย
• หมั่นล้างมือให้สะอาด และรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
• ใส่เสื้อผ้าหลวม ไม่รัดแน่น เพื่อป้องกันผิวหนังเสียดสีกับเสื้อผ้า
บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ
Shingles งูสวัด
Atopic Dermatitis ผิวหนังอักเสบ
Psoriasis โรคสะเก็ดเงินคืออะไร?
พลูคาว สรรพคุณ มีอะไรบ้าง
ผลิตภัณฑ์แนะนำที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและปรับสมดุลน้ำเหลืองภายใน
-
Sale Product on saleยาน้ำผสมพลูคาว450.00 บาท – 840.00 บาท
-
Sale Product on saleยาแคปซูลผสมพลูคาว ตราสมุนไพรคุณสัมฤทธิ์400.00 บาท – 740.00 บาท