Unplanned Pregnancy ท้องไม่พร้อมทำอย่างไร
การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ (Unplanned Pregnancy or Unwanted Pregnancy) หมายถึง
การตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นเมื่อสตรียังไม่ต้องการให้มีบุตรเกิดขึ้น หรือเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่เป็นที่ต้องการ หรือเมื่อไม่พร้อมเป็นการตั้งครรภ์ที่ตนเองไม่ยอมรับ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ่มักเกิดกับวัยรุ่น โดยการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น หมายถึง การตั้งครรภ์ในขณะที่มารดายังมีอายุน้อย โดยทั่วไปหมายถึงการตั้งครรภ์ขณะอายุ 10-19 ปี ในบางประเทศอาจหมายถึงการตั้งครรภ์ขณะอายุ 13-16 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกำหนดของแต่ละประเทศ หรือ เรียกว่าการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
1. ตัววัยรุ่นเอง ปัจจัยของตัววัยรุ่นซึ่งเกี่ยวข้องกับพัฒนาการตามวัยและขาดความรู้ที่ถูกต้อง มีความเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านอารมณ์ ร่างกาย สติปัญญา มักถูกเพื่อนชักชวนไปในทางที่ผิดได้ง่าย
2. ครอบครัว ครอบครัวเป็นปัจจัยที่สำคัญ ถือเป็นสถาบันแรกที่เด็กได้สัมผัสตั้งแต่แรกเกิด รวมถึงการอบรมณ์เลี้ยงดู สถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวล้วนแต่มีผลกับเด็กทั้งสิ้น
3. ปัจจัยทางด้านสังคม จากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ทำให้การได้รับข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ได้รวดเร็วและไร้พรมแดน ทำให้เด็กเสพสิ่งที่ไม่ควรแก่วัยโดยที่ผู้ปกครองไม่รับรู้
จะรู้ได้ยังไงว่าท้อง
หนุ่มสาวที่ไม่ได้วางแผนมีลูกสามารถทราบได้ว่าตนเองตั้งครรภ์หรือไม่ โดยสังเกตจากรอบเดือนที่ขาดไปหรือไม่มาตามปกติ ทั้งนี้ หากรู้สึกคัดเต้านม รวมทั้งคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วยซึ่งเป็นอาการแพ้ท้องก็แสดงว่าอาจกำลังตั้งครรภ์ โดยอาการแพ้ท้องจะเกิดขึ้นเมื่ออายุครรภ์ได้ 6 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย
อย่างไรก็ตาม การตรวจครรภ์จะช่วยระบุผลการตั้งครรภ์ได้อย่างชัดเจน ผู้ที่สงสัยว่าตนเองประสบภาวะท้องไม่พร้อม สามารถตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตนเองได้ โดยซื้อชุดตรวจการตั้งครรภ์ ซึ่งมีจำหน่ายตามร้านขายยา หรือร้านสะดวกซื้อทั่วไปมาตรวจ ควรตรวจปัสสาวะด้วยชุดตรวจครรภ์หลังจากที่ประจำเดือนไม่มาตามปกติ โดยนับจากวันที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน 2 สัปดาห์ เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่แม่นยำ หากคาดว่าตนเองตั้งครรภ์แม้ผลตรวจจะแสดงว่าไม่ใช่ อาจต้องรอประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อตรวจซ้ำอีกครั้ง หรือไปพบแพทย์เพื่ออัลตราซาวด์
ทางเลือกเพื่อรับมือภาวะท้องไม่พร้อม
1.เลี้ยงทารกที่เกิดมา ผู้ตั้งครรภ์ที่ตัดสินใจให้กำเนิดและเลี้ยงทารกเอง ต้องเข้าใจและยอมรับบทบาทหน้าที่ของการเป็นแม่ เนื่องจากผู้ตั้งครรภ์ต้องมีฐานะทางการเงินและความรับผิดชอบในการเลี้ยงดูบุตร
ให้เติบโตขึ้นมามีคุณภาพ โดยต้องเข้าใจเรื่องการดูแลทารก การเลี้ยงดูบุตร และการให้การศึกษาแก่บุตร อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นผู้ตั้งครรภ์ควรปฏิบัติตน ดังนี้
• เริ่มฝากครรภ์และไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
• รับการตรวจคัดกรองโรคเป็นประจำ
• ค้นข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพครรภ์ ทั้งในด้านการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและอารมณ์ เพื่อเตรียมพร้อมและดูแลสุขภาพครรภ์ได้อย่างเหมาะสม
• วางแผนเกี่ยวกับหน้าที่การงาน ฐานะทางการเงิน และความรับผิดชอบต่อเรื่องต่างๆร่วมกับคู่รัก
• ดูแลสุขภาพตัวเองให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และอาหารที่มีกรดโฟลิคหรือยาโฟลิคเพื่อเสริมสร้างสุขภาพทารกในครรภ์ให้แข็งแรงสมบูรณ์
• รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
• ออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำอย่างเหมาะสม
• เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งงดสูบบุหรี่และใช้สารเสพติดต่างๆ
2. คำแนะนำการยุติการตั้งครรภ์ในยุคที่มีกฎหมายทำแท้งใหม่ หรือพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 28 พ.ศ. 2564 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ซึ่งผู้หญิงจะได้รับสิทธิให้ทำแท้งถูกต้องตามกฎหมาย ดังนี้
• อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ เป็นช่วงที่ผู้หญิงมีสิทธิทำแท้งได้ กฎหมายมาตรา 301 จะปกป้องผู้หญิงได้และหญิงยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์เมื่อมีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ตามกฎหมายมาตรา 305 อนุ 4 ซึ่งมาตรานี้จะปกป้องแพทย์ด้วย
• มีเงื่อนไขความจำเป็นตามกฎหมายมาตรา 305 อนุ (1), (2), (3) ซึ่งระบุว่า ผู้หญิงมีโรคทางกาย หรือจิตซึ่งเสี่ยงอันตรายถ้าตั้งครรภ์ต่อ (อนุ1), ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงที่จะมีความผิดปกติ, ทุพพลภาพอย่างร้ายแรง (อนุ2) , หญิงยืนยันว่าตนมีครรภ์จากมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ (อนุ4) เช่น ข่มขืน, ล่วงละเมิดทางเพศ, อายุต่ำกว่า 15 ปี, สำหรับ อนุ 1-3 แม้ไม่ได้กำหนดอายุครรภ์ที่จะทำแท้งไว้ ควรทำเร็ว, อายุครรภ์น้อย และไม่ควรเกิน24 สัปดาห์
• อายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ผู้หญิงที่เลือกยุติการตั้งครรภ์ต้องพบผู้ให้บริการทางการแพทย์ เพื่อยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ ภายหลังการตรวจและ
รับคำปรึกษาทางเลือกจากแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพอื่น เช่น พยาบาล, นักสังคมสงเคราะห์ หรือผู้ที่ได้รับการรับรองจากกรมอนามัย ตามกฎหมายมาตรา 305 อนุ 5 และประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์
ดังนั้นเมื่อผู้หญิงอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์จนถึงท้องโตเกินทำแท้ง 7-8 เดือนซื้อยาทางเน็ตออนไลน์มาทำแท้งเองก็จะถือว่าทำผิดกฎหมาย ถูกจับดำเนินคดี ไม่มีความปลอดภัยจากการทำแท้ง
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
Benefits of Birth Control Pills ประโยชน์ของยาคุมกำเนิด ที่มากกว่าการคุมกำเนิด
Emergency Contraceptive Pills 8 เรื่องที่ต้องรู้ก่อนกินยาคุมฉุกเฉิน
เทคนิคลับการคุมกำเนิดแบบ หน้า 7 หลัง 7
ประเภทของการคุมกำเนิดมีแบบใดบ้าง และเลือกแบบไหนดี
ข้อดีของยาคุมกำเนิด
8 วิธีดูแลสุขภาพระหว่างการตั้งครรภ์
ผลิตภัณฑ์แนะนำที่ช่วยดูแลสตรีหลังคลอด
-
Sale Product on saleผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสามสิบ ตราสมุนไพรคุณสัมฤทธิ์400.00 บาท – 740.00 บาท
-
Sale Product on saleยาน้ำผสมรากสามสิบ600.00 บาท – 1,110.00 บาท
-
Sale Product on saleยาแคปซูลผสมสมุนไพรรากสามสิบ ตรา สมุนไพรคุณสัมฤทธิ์ สูตร 2400.00 บาท – 740.00 บาท
ผลิตภัณฑ์แนะนำที่ช่วยบำรุงเด็กๆ
-
Sale Product on saleยากุมาร500.00 บาท – 930.00 บาท