Pelvic Examination ตรวจภายในคืออะไร

Pelvic Examination ตรวจภายในคืออะไร

Pelvic Examination ตรวจภายในคืออะไร

เมื่อผู้หญิงก้าวเข้าสู่วัยเจริญพันธ์ุ การตรวจภายในเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากจะมีส่วนในการช่วยหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น เป็นการตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายในของผู้หญิง ได้แก่ ช่องคลอด ปากช่องคลอด มดลูก ปากมดลูก ท่อนำไข่ รังไข่ และยังมีส่วนช่วยในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอีกด้วย

การตรวจภายในควรเริ่มตรวจเมื่อไหร่

การตรวจภายในเป็นการเช็กอวัยวะภายในประจำปีของผู้หญิง ซึ่งผู้หญิงควรได้รับการตรวจภายในตั้งแต่อายุ 25 ปี เป็นต้นไป หรือพบว่ามีความผิดปกติ ดังนี้

• ประจำเดือนมาผิดปกติ เช่น มาน้อย มาไม่สม่ำเสมอ
• มีตกขาวผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็น คัน
• เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
• เจ็บหรือแสบเวลามีเพศสัมพันธ์
• กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
• คลำเจอก้อนบริเวณท้อง
• ท้องโตผิดปกติ

วิธีการเตรียมตัวเมื่อตรวจภายใน

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจภายในเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้การตรวจเป็นได้อย่างง่ายได้มากขึ้น
1. งดการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง
2. ไม่สวนล้างช่องคลอดหรือใช้ยาเหน็บทางช่องคลอดเป็นระยะเวลา 2 วัน
3. ปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเข้ารับการตรวจ
4. สวมใส่เสื้อผ้าที่สบาย ไม่รัดรูปจนเกินไป

ขั้นตอน การตรวจภายใน

• แพทย์จะดำเนินการซักประวัติเกี่ยวกับความผิดปกติ เช่น เลือดออกผิดปกติ ปวดท้องน้อย
• เปลี่ยนเสื้อผ้าตามที่โรงพยาบาลจัดเตรียมไว้ให้
• เข้าห้องน้ำทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์
• ขึ้นนอนบนเตียงที่มีขาหยั่ง เพื่อรับการตรวจ 
• ใส่อุปกรณ์ปากเป็ด แพทย์จะเลือกใช้ตามความเหมาะสม ใส่เข้าไปในช่องคลอดเพื่อตรวจดูความผิดปกติของช่องคลอดและปากมดลูก

ทำไมถึงควรมาตรวจภายใน

การตรวจภายในเปรียบเสมือนการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อเช็กอาการเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกาย ซึ่งในผู้หญิงการตรวจภายในจะทำให้ทราบถึงภาวะความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก การติดเชื้อใน
ช่องคลอด เช่น เชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย รวมไปถึงการหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองในแท้
โรคเริม พยาธิช่องคลอดจากการติดเชื้อ หรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) หากมีอาการเหล่านี้เบื้องต้นจะสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที

ผลิตภัณฑ์แนะนำที่ช่วยดูแลภายในสตรี ขับของเสียภายใน

Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top