Myoma uteri VS Adenomyosis เนื้องอกมดลูกกับมดลูกโตต่างกันยังไง

Myoma Uteri VS Adenomyosis เนื้องอกมดลูกกับมดลูกโตต่างกันยังไง

Myoma Uteri VS Adenomyosis เนื้องอกมดลูกกับมดลูกโตต่างกันยังไง

หลายๆคนอาจจะสับสนว่า Myoma Uteri VS Adenomyosis เนื้องอกมดลูกกับมดลูกโตต่างกันอย่างไร เรามีคำตอบมาให้แล้ว

เนื้องอกมดลูก (Myoma Uteri)

เป็นเนื้องอกของกล้ามเนื้อเรียบซึ่งพบได้ในอวัยวะทั่วร่างกายที่มีกล้ามเนื้อเรียบในอุ้งเชิงกรานตำแหน่งที่พบได้มากที่สุดคือ ตัวมดลูก (uterine corpus) บางครั้งอาจพบที่ปากมดลูก,ท่อนำไข่หรือ round ligament ได้ พบบ่อยที่สุดทางนรีเวช และยังเป็นเนื้องอกของมดลูกที่พบบ่อยที่สุดในช่วง 40-50 ปี พบบ่อยในสตรีที่ยังไม่เคยตั้งครรภ์ (nullipara) ยังไม่ทราบแน่ชัดแต่ประมาณ 20-25 % ของสตรีอายุมากกว่า 35 ปี มีเนื้องอกชนิดนี้อยู่

สาเหตุ

สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบ เนื้องอกของกล้ามเนื้อมดลูกแต่ละก้อนมีต้นกำเนิดมาจากเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกเพียงหนึ่งเซลล์ (monoclonal) พบประวัติเนื้องอกชนิดนี้ในครอบครัวได้บ่อย ปัจจุบันเชื่อว่าเนื้องอกเริ่มต้นจาก somatic mutation ของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูก (myocyte) ภายใต้อิทธิพลของเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน และ growth factor ซึ่งทั้งเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนมีส่วนในการกระตุ้นให้เนื้องอกโตขึ้น เพราะพบเนื้องอกชนิดนี้น้อยมากในวัยก่อนมีระดู เนื้องอกเกิดและโตขึ้นในวัยเจริญพันธ์ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กลงภายหลังวัยหมดระดู เนื้องอกโตขึ้นได้บ่อยในสตรีตั้งครรภ์และในสตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิดชนิดที่มีเอสโตรเจนขนาดสูง ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ลดลงในสตรีที่มีบุตรหลายคน ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นในสตรีที่ไม่เคยมีบุตร และน้ำหนักตัวมาก

อาการและอาการแสดง

ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ มีเพียง 20-50 % เท่านั้นที่มีอาการ เช่น

1. เลือดออกผิดปกติ: เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดคือ ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่มีอาการ โดยพบมากสุดคือ ภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติ แต่อาจมีอาการเลือดออกผิดปกติ

2. อาการจากการกดเบียด (Pressure symptoms) : มักเป็นอาการเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ เช่น ปวดปัสสาวะฉับพลัน, ปัสสาวะบ่อย, กลั้นปัสสาวะไม่ได้, ปัสสาวะไม่ออก ในรายที่ก้อนโตมากๆ อาจไปกดท่อไต ทำให้เกิดภาวะท่อไตโปงพองและไตบวม เนื้องอกอาจไปกดลำไส้ส่วน rectosigmoid colon เกิดอาการท้องผูก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดเลือดคั่งในอุ้งเชิงกรานทำให้เกิดเส้นเลือดขอดและบวมที่ขาได้

3. อาการปวดท้องหรือถ่วง ๆ ในอุ้งเชิงกราน หรือ ปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ พบได้ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่มีอาการ สาเหตุแห่งอาการปวดมีหลายสาเหตุ เช่น
• อาการปวดประจำเดือน (dysmenorrheal) พบบ่อยที่สุด
• twisted pedunculated subserous leiomyoma ซึ่งพบบ่อยในระหว่างตั้งครรภ์ และหลังวัยหมดระดู
• การติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง prolapsed pedunculated submucous type

4. Abdominal distortion คลำได้ก้อน firm, irregular nodula ทางหน้าท้อง

5. Rapid growth เนื้องอกที่โตขึ้นเร็วในวัยก่อนหมดระดูอาจมีสาเหตุจากการตั้งครรภ์, การรับประทานยาคุมกำเนิดที่มีเอสโตรเจนขนาดสูง ในสตรีวัยหมดระดูการที่เนื้องอกมีขนาดโตขึ้นควรสงสัยมะเร็งไว้ก่อน

6. ภาวะมีบุตรยาก มีสาเหตุมาจาก leiomyoma พบได้น้อย (2-10 % ของผู้ป่วย) เนื้องอกชนิด submucous หรือ intramural ขนาดใหญ่อาจเป็นสาเหตุของการแท้งได้

7. ภาวะร่วมอื่น ๆ เช่น iron deficiency anemia, polycythemia, bowel obstruction, ascites ฯลฯ

มดลูกโต (Adenomyosis)

โรคที่เกิดจากการที่มีเยื่อบุโพรงมดลูก (endometrial glands และ stroma) เข้าไปเจริญอยู่ในกล้ามเนื้อมดลูก แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. ชนิดกระจายอยู่ในชั้นกล้ามเนื้อมดลูกทั่วไป เรียกว่า diffuse adenomyosis

2. ชนิดที่จำกัดบริเวณและมีเปลือกหุ้ม (encapsulates) เรียกว่า adenomyoma

อุบัติการณ์

พบโรคนี้ประมาณ 20 % ของมดลูกที่ผ่าตัดออกมา, ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยเป็น multiparas วัย 40-50 ปี

สาเหตุ

ทฤษฎีที่ยอมรับกันมากที่สุดเชื่อว่าเซลล์ต้นตอมาจาก mullerian duct โดยเยื่อบุโพรงมดลูกชั้น basalis ได้แทรกตัวลงไปในกล้ามเนื้อมดลูก

อาการ

• พบว่าไม่มีอาการได้บ่อย มักวินิจฉัยได้โดยบังเอิญจากพยาธิวิทยาของมดลูกที่ตัดออกมา
• อาการที่จำเพาะกับโรคนี้คือ ภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติ ร่วมกับอาการปวดประจำเดือน ซึ่งมักเกิดขึ้น 1 สัปดาห์ก่อนมีเลือดระดู และอาจคงอยู่จนกระทั่งระดูหายไป อาการปวดประจำเดือนมักเกิดขึ้นเมื่อ glandular invasion เข้าไปเกิน 80 % ของกล้ามเนื้อมดลูก การที่มีเลือดระดูมามากเนื่องจากมีการเพิ่มพื้นที่ผิวของโพรงมดลูก ร่วมกับการที่กล้ามเนื้อมดลูกไม่สามารถหดรัดตัวได้ตามปกติ

อาการแสดง

มดลูกมีขนาดโตขึ้นทั่ว ๆ ไป มักโตไม่เกิน 2-3 เท่าของขนาดปกติและโตในแนวหน้าหลัง แข็งแต่อาจนุ่มกดเจ็บได้ในขณะที่มีประจำเดือน มดลูกมีลักษณะสมมาตร รูปร่าง globular เพราะส่วนใหญ่เป็นชนิด diffuse type อาจมีลักษณะขรุขระคล้ายเนื้องอกได้ ถ้าเป็นแบบ encapsulated adenomyoma

ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยดูแลภายในสตรี

Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top