Chronic Stress เครียดเรื้อรัง
ความเครียด ความกังวล ในเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นจากการทำงาน การได้รับข่าวสารในแต่ละวัน ซึ่งเหล่านี้เป็นภัยที่ส่งผลต่อจิตใจและเกิดเป็นความเครียดในร่างกายเรา ปกติแล้วร่างกายของเราออกแบบมาให้ตอบสนองต่อความเครียดได้ในระดับหนึ่ง แต่หากเราไม่สามารถจัดการกับความเครียดนั้นได้ ก็จะทำให้สะสมและกลายเป็นความเครียดเรื้อรัง ส่งผลต่อทุกระบบภายในร่างกายของเราไม่ว่าจะเป็น ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบไหลเวียนโลหิต เป็นต้น
การตอบสนองของร่างกายต่อความเครียดนั้น ร่างกายของเราจะมีระบบประสาทอัตโนมัติมีหน้าที่ในการรับมือกับความเครียด โดยส่งสัญญาณจากสมองส่วนไฮโปธาลามัส และไปกระตุ้นต่อมใต้สมองให้ส่งสัญญาณไปที่ต่อมหมวกไตให้หลั่งฮอร์โมนอะดีนาลีนและคอร์ติซอล ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นความดันโลหิตสูง อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น หลอดเลือดมีการขยายตัว เป็นต้น เพื่อเตรียมให้ร่างกายพร้อมสำหรับการสู้หรือการหนีจากภัยคุกคามที่เกิดขึ้น
ผลเสียจากความเครียดเรื้อรัง
ระบบไหลเวียนโลหิต ความเครียดเรื้อรังส่งผลต่อระดับของฮอร์โมนคอร์ติซอลและอะตรีนาลีนในเลือด ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น เป็นการเพิ่มความเสียงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งความดันโลหิตที่สูงอยู่เป็นระยะเวลานานจะกระทำแรงเค้นต่อหัวใจ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองตามไปด้วย
ระบบประสาท หากพิจารณาผลของความเครียดเรือรังต่อการเปลี่ยนแปลงของสมอง พบว่าระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลที่สูงในเลือดจะลดการทำงานของสารสื่อประสาทเซโรโทนินในสมองทำให้ร่างกายทนต่อภาวะความเครียดได้น้อยลง นำไปสู่การเกิดโรควิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าได้ ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลและ อะดีนาลีนที่สูงยังส่งผลกระทบต่อวงจรการนอนหลับ ทำให้ความสนใจใจในการเรียนรู้สิงต่าง ๆ ลดลง ฮอร์โมนคอร์ติซอลและอะดีนาลีนยังเกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์ประสาท การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเป็นระยะเวลานานทำให้ระดับของสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ในสมองลดลง เซลล์ประสาทมีรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้การส่งสัญญาณประสาทระหว่างเซลล์เกิดความบกพร่อง นอกจากนี้ภายในสมองอาจมีการอักเสบเกิดร่วมด้วยอันเนื่องจากภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ลดต่ำลงจากการมีระดับคอร์ติซอลที่สูงเป็นระยะเวลานาน ทำให้เซลล์ประสาทที่ตายมีจำนวนมากขึ้น สภาพแวดล้อมในสมสมองถูกรบกวน จึงเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคความเสื่อมทางระบบประสาท อาทิ โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน และโรคความจำเสื่อมอื่น ๆ ได้
ระบบทางเดินอาหาร ฮอร์โมนคอร์ติขอลสามภรถกระตุ้นการหลังกรควายในกระพาธอาหาร ดังนั้นความหรือตัวซื้อใยใจวัยใงงเพิ่มการหลั่งกรด ส่งผลให้เยื่อบุผิวภายในทางเดินอาหารถูกทำลายและนำไปสู่การเป็นโรคกระเทอักเสบ ความเครียดเรื้อรังยังทำให้สมองส่งสัญญาณยับยั้งการหดตัวของหูรูดทางเดินอาหารส่วนปลายและเพิ่มระยะเวลาของอาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารใช้ระยะเวลาเดินทางไปสู่ลำไส้เล็กนานขึ้นขึ้น จึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคกรดไหล้อนและอาหารไม่ย่อย นอกจากนี้ภายในระบบทางเดินอาหารของคนเรามีจุลินทรีย์ประจำถิ่นที่ทำหน้าที่ช่วยในการย่อยและและดูดซึมอาหาร รวมถึงป้องกันการบุกรุกจากเชื้อโรคภายนอกร่างกาย พบว่าความเครียดเรื้อรังจะทำให้จำนวนจุลินทรีย์เหล่านี้ลดลงและทำให้เยื่อบุทางเดินอาหารไม่แข็งแรงซึ่งเพิ่มโอกาสของการเป็นโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย และระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลที่สูงยังส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอันเป็นการเพิ่มความเสียงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2
ระบบสืบพันธุ์ ผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์เคตหญิงพบว่าฮะโมมคอรติขอลที่เพิ่มสูงขึ้งขึ้นขึ้นเนื่องจากความเครียดจะไปลดการหลังของฮอร์โมน FSH และ LH ทำให้การตกไข่ผิดปกติไปและส่งผลกระทบต่อการฝังตัวตัวตัวอ่อน นอกจากนี้ในมารดาที่กำลังตั้งครรภ์พบว่า ระดับคอร์ติซอลที่สูงขึ้นจากความเครียดจะส่งผลทั้งต่อมารดาและทารกในครรภ์ การเปลี่ยนแปลงทั้งจากมารดาและทารกจะทำให้มดลูกเกิดการบีบตัว เพิ่มโอกาสของการคลอดก่อนกำหนด ส่วนผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์เพศชายนั้นพบว่าฮอร์โมนคอร์ติชอลที่เพิ่มสูงขึ้นจะไปรบกวนกลไกการสร้างอสุจิ อสุจิมีจำนวนลดลง รูปร่างผิดปกติ ส่งผลต่อกระบวนการสืบพับพันธุ์
ระบบกระดูกและข้อ พบว่ากล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ และศีรษะมีแนวโน้มที่จะมีอาการตึงและเกร็งเพิ่มขึ้น และสามารถก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ อาจนำไปสู่โรคไมเกรนได้
การฝึกการหายใจ
โดยปกติแล้วนั้นผู้ที่มีภาวะเครียดมักจะมีลักษณะการหายใจที่ตื้นและถี่ การหายใจลึกและช้าเป็นการช่วยผ่อนคลายความเครียดวิธีหนึ่ง เนื่องจากสัญญาณจากการหายใจลึกจะถูกส่งขึ้นไปยังสมองทำให้ร่างกายของเรารู้สึกสงบลง การฝึกการหายใจจะเริ่มจากการหายใจเข้า 4 วินาที (นับ 1-4) และหายใจออก 8 วินาที (นับ 1-8)โดยการหายใจเข้าลึกจะเริ่มจากการหายใจเข้าผ่านทางจมูก ค่อย ๆ นับ 1-4 ให้อากาศเคลื่อนที่ผ่านจมูกเข้าไปถึงปอดส่วนล่าง อากาศที่เข้าไปจะดันกระบังลมลงต่ำและตันท้องให้พองออก จากนั้นค่อย ๆ หายใจออก นับ 1-8 ไล่อากาศออกจากปอดจนหมดและหน้าท้องแฟบลง ฝึกหายใจเข้า-ออก แบบนี้ติดต่อกัน 4-5 ครั้ง โดยเฉพาะเมื่อรับรู้ว่าร่างกายมีความเครียด หรือมีอารมณ์เชิงลบ
การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
เมื่อมีความเครียดหรืออาการเชิงลบเกิดขึ้น สัญญาณจากสมองจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดความตึงตัวอย่างอัตโนมัติ ในทางกลับกันการคลายตัวของกล้ามเนื้อจะส่งผลให้จิตใจผ่อนคลายและช่วยกำจัดความเครียดได้เช่นเดียวกัน การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นการฝึกแยกแยะความรู้สึกขณะกล้ามเนื้อเกร็งตัวและคลายตัว หากเราสามารถรับรัการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อขณะที่มีความเครียด เราจะสามารถผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้ทันที การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อจะเริ่มจากการอยู่ในท่าทางที่สบาย คลายเสื้อผ้าให้หลวม เริ่มฝึกจากการหายใจลึกช้า ๆ จนรู้สึกว่าผ่อนคลาย จากนั้นให้เกร็งกล้ามเนื้อทีละมัดค้างไว้ 3-5 วินาที ตามด้วยการผ่อนคลายกล้ามเนื้อมัดนั้น และหายใจเข้า-ออกช้า ๆ 2 รอบ ก่อนที่จะเกร็งกล้ามเนื้อมัดต่อไป โดยการเกร็งอจะกระทำทีละมัดอาจเริ่มจากเท้าขึ้นมาศีรษะ หรือจากศีรษะลงไปบริเวณเท้าก็ได้
เท้า – นั่งพิงพนักเก้าอี้ เท้าวางนพื้น ยกฝ้าเท้าด้านหน้าขึ้น ให้สันเท้าอยู่ติดพื้น งอนิ้วทั้งสิบให้
แน่นจนรู้สึกเกร็ง ค้างไว้ 5 วินาที ค่อย ๆ เหยียดนิ้วเท้าออกและวางฝ้าเท้าแนบลงกับพื้น
น่อง – นั่งพิงพนักเก้าอี้ เท้าวางนพื้น ยกส้นเท้าขึ้นจากพื้น โดยฝาเท้าด้านหน้าแนบกดติดพื้นจน
รู้สึกเกร็ง ค้างไว้ 5 วินาที ค่อย ๆ วางส้นเท้าแนบลงกับพื้น
หน้าขา – นั่งพิงพนักเก้าอี้ ยกขาทั้งสองข้างขึ้น เหยียดตรงไปข้างหน้า กระดกปลายเท้าทั้งสองขึ้น
เกร็งค้างไว้ 5 วินาที ค่อย ๆ วางขาลงกับพื้น
หน้าท้อง – นั่งพิงพนักเก้าอี้ แขม่วท้องให้ลึกสุด เกร็งค้างไว้ 5 วินาที ค่อย ๆ คลายหน้าท้องออก
มือ – เหยียดแขนทั้งสองข้างไปด้านหน้า กำมือสองข้างให้แน่นที่สุด เกร็งค้างไว้ 5 วินาที ค่อย ๆ
คลายผ้ามือออกอย่างธรรมชาติ และวางฝ้ามือลงบนต้นขาสบาย ๆ
แขน – กำมือและงอแขนแนบข้างลำตัวให้แน่นที่สุด เกร็งค้างไว้ 5 วินาที ค่อย ๆ เหยียดแขนออก
วางแขนลงบนต้นขาสบาย ๆ
ไหล่ – ยกไหล่ทั้งสองข้างขึ้นชิดหู เกร็งค้างไว้ 5 วินาที ค่อย ๆ เคลื่อนไหล่ลงกลับตำแหน่งเดิม
คอ – ก้มศีรษะและเกร็งค้างไว้ 5 วินาที ค่อย ๆ เงยหน้าขึ้นและมองตรง จากนั้นหันศีรษะไป
ทางขวาและเกร็งค้างไว้ 5 วินาที ค่อย ๆ หันหน้ากลับสู่ตำแหน่งเดิม ทาซ้ำโดยหันศีรษะไปอีกด้าน
แก้ม ตา จมูก – หลับตาปี๋ ทำจมูกย่น เกร็งค้างไว้ 5 วินาที ค่อย ๆ ลืมตาขึ้น
หน้าผาก – เลิกคิ้วขึ้นสูง ค้างไว้ 5 วินาที ค่อย ๆ คลายออก ขมวดคิ้วค้างไว้ ค้างไว้ 5 ค่อย ๆ คลายออก
ทำความรู้จักกับสมุนไพรน่ารู้
สมุนไพรน่ารู้ที่ช่วยบำรุงหัวใจทำให้ชุ่มชื่น บำรุงกำลัง เป็นส่วนประกอบในตำรับยาไทยและพิกัดยาไทยในการดูแลแก้อาการอ่อนเพลีย และใช้ในตำรับยาบรรเทาอาการไข้ ทั้งนี้ยังมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย สมุนไพรที่เรากำลังพูดถึง คือ เกสรบัวหลวง
เกสรบัวหลวง
ชื่ออื่น โช้ค (เขมร บุรีรัมย์) บัว อุบล (กลาง) บัวหลวง (กลาง) ปทุม (กลาง) สัตตบงกช (กลาง) สัตตบุษย์ (กลาง)
สรรพคุณ ตำรายาไทย ใช้บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงกำลัง คุมธาตุ แก้ล้ม แก้ไข้ และในบัญชียาจากสมุนไพร ปรากฏการใช้เกสรบัวหลวง ร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ ดังนี้ ตำรับยาเขียวหอม สรรพคุณ บรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษหัด พิษสุกใส (บรรเทาอาการไข้จากหัดและสุกใส), ตำรับยาตรีเกสรมาศ ปรากฎการใช้เกสรบัวหลวง ร่วมกับเปลือกฝิ่นต้น และลูกมะตูมอ่อน มีสรรพคุณ แก้อ่อนเพลีย ปรับธาตุในผู้ป่วยที่เพิ่งฟื้นจากการเจ็บป่วย เช่น ไข้ ท้องเสีย นอกจากนี้ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม ระบุว่า พิกัดตรีเกสรมาศ มีตัวยาเกสรทอง 3 อย่าง ได้แก่ เปลือกฝิ่นต้น เกสรบัวหลวง และลูกมะตูมอ่อน มีสรรพคุณ เจริญอาหาร บำรุงธาตุ คุมธาตุ บำรุงกำลัง แก้ท้องเดิน
ในตำรายาจีน ใช้แก้ปัสสาวะบ่อย แก้น้ำกามเคลื่อน (ฝันเปียก) แก้ตกขาว ประจำเดือนมามากกว่าปกติ เลือดกำเดาไหล และแก้อาการท้องเสีย
องค์ประกอบทางเคมี :
เกสรบัวหลวง มีฟลาโวนอยด์หลายชนิด เช่น quercetin, luteolin, isoquercitrin, luteolin glucoside และมีรายงานพบแอลคาลอยด์ด้วย
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านเบาหวาน
ข้อควรระวัง:
เกสรบัวหลวงอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ในบางคน (โดยเฉพาะคนที่แพ้เกสรดอกไม้)