Finger Numbness อาการชาที่ปลายมือ
โดยปกติแล้วผิวหนังสามารถรับความรู้สึกได้หลายรูปแบบ ไม่วา่จะเป็น ความร้อน-เย็น ทู่-แหลม นุ่ม-แข็ง เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดกับผิดหวังของเรา การรับความรู้สึกอาการชาที่ปลายมือผิดปกติไปมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ มากไป หรือ น้อยไป หากว่าการรับความรู้สึกที่มากเกินไป ไม่ว่าจะมีอะไรมาสัมผัสผิวหนัง เราก็จะรู้สึกมากกว่าปกติ แต่ในกรณีที่รับความรู้สึกน้อยไปนั้น มักจะเป็นความรู้สึกชา หรือรู้สึกหนา ๆ บริเวณผิวหนังนั้นเอง
ในที่นี้เราจะมาพูดถึงการรับความรู้สึกที่น้อยกว่าปกติ ซึ่งแต่ละสาเหตุและความรุนแรงของอากาารชาก็มีความแตกต่างกัน
อาการชาที่ปลายมือปลายเท้า
อาการนี้เป็นความผิดปกติที่ “ระบบประสาทส่วนปลาย” โดยส่วนมากจะเกิดกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องมาจากความเสื่อมของเส้นประสาท หากท่านมีอาการชาตามปลายมือปลายเท้าลองตรวจน้ำตาลในเลือด เพื่อตรวจวินิจฉัยคัดกรองโรคเบาหวาน และหากพบว่าเป็นโรคเบาหวานควรเข้ารับการรักษาทางการแพทย์
อาการชาตามเส้นประสาท
เมื่อถูกกดทับในบริเวณนั้น ๆ ท่านจะเกิดอาการชา เช่น อาการชาบริเวณฝ่ามือ หรือ นิ้วมือ หากมีการกดทับบริเวณข้อมือที่มีเส้นประสาทมีเดียน (Median nerve) ลอดผ่าน ท่านอาจจะมีอาการชาบริเวณฝ่ามือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และ นิ้วนางครึ่งนิ้วได้
สาเหตุของอาการชาปลายนิ้ว
อาการชาปลายนิ้วมักเกิดจากเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงมือหรือเส้นประสาทที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณจากสมองเพื่อควบคุมการทำงานและการรับความรู้สึกของมือและนิ้วมือถูกกดทับ ได้รับการกระทบกระเทือน หรือเกิดความเสียหาย หรืออาจเป็นเหตุมาจากการเจ็บป่วยด้วยโรคและภาวะต่าง ๆ เช่น
กลุ่มอาการประสาทมือชา (Carpal Tunnel Syndrome) เส้นประสาทที่ควบคุมนิ้วมืออาจถูกกดทับหรืออุดตันอยู่ตรงข้อมือ ซึ่งอาจเกิดจากการใช้งานนิ้วมือบ่อย เช่น การพิมพ์คีย์บอร์ด
โรคปลายประสาทอักเสบ (Peripheral neuropathy) เป็นโรคที่เส้นประสาทที่ทำหน้าที่รับส่งคำสั่งจากระบบประสาทส่วนกลางไปยังอวัยวะต่าง ๆ เกิดความเสียหาย เนื่องจากการได้รับบาดเจ็บหรือปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น ฮอร์โมนขาดความสมดุล โรคไต โรคตับ
โรคเบาหวาน (Diabetes) ผู้ป่วยเบาหวานอาจเกิดภาวะอาการเส้นประสาทจากเบาหวาน (Diabetic Neuropathy) ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่เส้นประสาทบริเวณมือและเท้า นำไปสู่อาการชาปลายนิ้วบริเวณนิ้วมือหรือนิ้วเท้าได้
ภาวะกระดูกคอทับเส้นประสาท (Cervical Radiculopathy) เกิดจากเส้นประสาทบริเวณคออักเสบหรือถูกกดทับ จนทำให้เกิดอาการชาคล้ายกับโรคการกดทับเส้นประสาทข้อมือ
การกดทับเส้นประสาทอัลนาร์ (Ulnar Nerve Entrapment) เกิดการกดทับบริเวณเส้นประสาทอัลนาร์ที่หล่อเลี้ยงควบคุมการทำงานของนิ้วนางและนิ้วก้อย ทำให้เกิดอาการชาปลายนิ้วดังกล่าว
โรคเรเนาด์ (Raynaud’s Disease) เป็นอาการป่วยที่หลอดเลือดแดงเล็กที่อยู่ในนิ้วเกิดการหดตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เลือดไม่ไปเลี้ยงปลายนิ้ว จึงเกิดอาการชาและอาจกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิตได้ด้วย
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการอักเสบบวม และสร้างความเจ็บปวดบริเวณข้อต่อกระดูก ซึ่งทำให้เกิดอาการชา รู้สึกเหมือนเข็มตำ หรือปวดแสบปวดร้อนบริเวณมือและนิ้วมือได้
นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจทำให้เส้นประสาทเสียหาย จนนำไปสู่อาการชาปลายนิ้วได้ เช่น
ภาวะขาดวิตามินบี
โรคพิษสุราเรื้อรัง
ภาวะเส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบตัน (Stroke)
การติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) โรคซิฟิลิส (Syphilis) โรคเรื้อน (Leprosy) โรคไลม์ (Lyme Disease)
ซีสต์ที่ข้อมือ (Ganglion Cyst)
กระดูกข้อมือ หรือกระดูกมือแตกหัก
โรคอะไมลอยโดสิส (Amyloidosis)
โรคจีบีเอส หรือกิลแลง บาร์เร ซินโดรม (Guillain-Barré Syndrome)
โรคเอ็มเอส หรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis)
โรคหลอดเลือดอักเสบ (Vasculitis)
โรคปากแห้งตาแห้ง หรือกลุ่มอาการโจเกรน (Sjogren’s Syndrome)
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น การทำเคมีบำบัด
5 โรคที่เกี่ยวข้องกับอาการชาที่ปลายนิ้ว
1. โรคปลายเส้นประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy) ปกติแล้วเส้นประสาทจะทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างสมองกับอวัยวะต่าง ๆ หากเส้นประสาทมีปัญหาจะส่งผลให้อวัยวะส่วนนั้นทำงานผิดปกติไปด้วย ทำให้เกิดอาการชาตามปลายมือปลายเท้า หรือไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้นได้
2. โรคเรย์นอด (Raynaud’s Disease) เกิดจากการที่หลอดเลือดแดงเล็กของนิ้วเกิดการหดตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เลือดไปเลี้ยงปลายนิ้วไม่ได้
3. โรคเอ็นอักเสบที่ข้อมือ (De quervain’s Tenosynovitis) คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น และเส้นเอ็นบริเวณข้อมือทางฝั่งนิ้วโป้งทำให้เกิดการกดทับของเส้นเอ็นภายใน
4. โรคเบาหวาน (Diabetes) ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจเกิดภาวะเสียหายกับเส้นประสาทบริเวณมือและเท้า นำไปสู่อาการชาปลายนิ้วบริเวณนิ้วมือ หรือนิ้วเท้าได้
5. โรคพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ คือ โรคในกลุ่มที่มีการกดทับของเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ซึ่งเกิดพังผืดที่หนาตัวขึ้นไปกดทับถูกเส้นประสาท ทำให้ช่องที่ให้เส้นเอ็นผ่านขณะงอ หรือเหยียดนิ้วแคบลง ส่งผลให้มีอาการปวดและชาตามนิ้ว เพราะเส้นประสาทถูกกดทับ
การรักษาอาการชาปลายนิ้ว
การรักษาอาการชาปลายนิ้วอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุ ซึ่งอาจแบ่งออกได้ ดังนี้
การรักษาอาการชาปลายนิ้วด้วยตนเอง ผู้ที่มีอาการชาปลายนิ้วอาจบรรเทาอาการชาด้วยตนเองในเบื้องต้นได้ เช่น
1. หยุดพักการทำกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกเจ็บ หรือมีอาการชาปลายนิ้ว
2. ปลดหรือคลายเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและรองเท้าที่สวมใส่อยู่ให้หลวมขึ้น
3. ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย ขยับนิ้วมือแขนขา เพราะการนั่งหรืออยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการชาปลายนิ้ว
4. ออกกำลังบริหารร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณนิ้วและแขนขา เช่น ยืดและกางนิ้วให้ตึง สะบัดแขน หมุนไหล่
5. หากมีอาการอักเสบร่วมด้วย อาจลองนำน้ำแข็งห่อผ้าสะอาดเพื่อประคบเย็น โดยความเย็นอาจช่วยลดอาการบวมอักเสบได้
6. การใช้ยาแก้ปวด หรือยาต้านอาการอักเสบที่ไม่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ (NSAIDs) เพื่อรักษาอาการอักเสบของเส้นประสาทที่ทำให้ชาปลายนิ้ว เช่น พาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน
การรักษาอาการชาปลายนิ้วโดยแพทย์ แพทย์อาจรักษาตามสาเหตุของอาการชาปลายนิ้ว ซึ่งการรักษาอาจแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของอาการของแต่ละบุคคล เช่น
1. การใช้ยารักษาตามสาเหตุ เช่น การใช้ยารักโรคเบาหวาน หากชาปลายนิ้วเกิดจากโรคเบาหวาน หรือมให้วิตามินบี หากชาปลายนิ้วเกิดจากภาวะขาดวิตามินบี
2. การฉีดสเตียรอยด์ หากผู้ป่วยรับประทานยาแล้วไม่ได้ผล แพทย์อาจรักษาด้วยการฉีดสเตียรอยด์เพื่อลดอาการอักเสบที่เป็นสาเหตุของอาการชาปลายนิ้ว
3. การใส่เฝือก ใส่ผ้ารัดบริเวณข้อมือและข้อศอก เพื่อให้กระดูกบริเวณนั้นอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นการรักษาภาวะกระดูกกดทับเส้นประสาท
4. การใส่ถุงมือทางการแพทย์ (Compression glove) หรือถุงเท้าทางการแพทย์ (Compression sock) เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด ซึ่งอาจช่วยให้ชาปลายนิ้วดีขึ้น
5. การทำกายภาพบำบัด โดยแพทย์อาจแนะนำท่าบริหารต่าง ๆ เพื่อช่วยให้สามารถขยับนิ้วได้มากขึ้น บรรเทาอาการปวดและชาที่เกิดขึ้นที่ปลายนิ้วหรือบริเวณมือ
6. การผ่าตัด แพทย์อาจทำการผ่าตัดเส้นประสาทถูกกดทับหรือได้รับความเสียหายในผู้ป่วยบางราย โดยการผ่าตัดนำกระดูก เนื้อเยื่อ หรือสิ่งที่กดทับเส้นประสาทออก
การป้องกันอาการชาปลายนิ้ว
ชาปลายนิ้วเป็นอาการที่สามารถป้องกันได้หลายวิธี เช่น
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และให้สารอาหารครบถ้วน โดยเฉพาะอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี หรืออาจรับประทานอาหารเสริมหากมีภาวะขาดวิตามินและธาตุต่าง ๆ โดยควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้อาหารเสริมเสมอ
ควรหยุดพักจากการทำงาน การอยู่ในท่าเดิม หรือการทำกิจกรรมซ้ำ ๆ เป็นระยะทุก 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง
ใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอาการบาดเจ็บบริเวณมือและข้อมือ เช่น ใช้หมอนรองข้อมือในขณะพิมพ์งานด้วยคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์
ออกกำลังกายเพื่อลดความตึงของกล้ามเนื้อ เช่น โยคะ หรือพิลาทิส
ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บบริเวณกระดูกคอ เช่น ไม่ยกของหนัก ไม่เคลื่อนไหวท่าเดิมซ้ำ ๆ ไม่นั่งหรืออยู่ในท่าที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ
งดดื่ม หรือไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไป
ทำความรู้จักกับสมุนไพรน่ารู้
สรรพคุณ ผล ช่วยเจริญอาหาร แก้อาเจียน บิด ขับเหงื่อ ขับลม เป็นเครื่องเทศ เครื่องแต่งสี กลิ่น รส ที่มีบทบาทสำคัญมากในอาหารไทยแทบทุกชนิด แก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำดำเขียว กลาก หิต บรรเทาอาการปวดเมื่อย ลดอาการไขข้ออักเสบ ปวดบวม แก้เส้นเอ็นพิการ แก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ ใช้ต้นสุกเป็นถ่านแช่น้ำดื่ม ใบ แก้อาการคันจากมดคันไฟ
นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตลดอาการเหน็บชา แต่การใช้ควรระวังหรือปรึกษาแพทย์/แพทย์แผนไทยก่อนเสมอ
องค์ประกอบทางเคมี สารเคมีในพริก แคปไซซิน (Capsaicin) ไดไฮโดรแคปไซซิน (Dihydrocapsaicin) นอร์ไดไฮโดรแคปไซซิน (Nordihydrocapsaicin) โฮโมไดไฮโดรแคปไซซิน (Homodihydrocapsaicin) เป็นต้น
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวด ฤทธิ์ต้านเชื้อรา ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ