Myositis กล้ามเนื้ออักเสบ

Myositis กล้ามเนื้ออักเสบ

Myositis กล้ามเนื้ออักเสบ

กล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis) กล้ามเนื้ออักเสบเกิดขึ้นจากการใช้งานร่างกายอย่างหนัก จึงทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้าทำให้เกิดการอักเสบ ส่วนมากจะแสดงอาการในลักษณะของการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และเป็นเพียงอาการเริ่มต้นของการอักเสบเท่านั้น อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกอิริยาบถ เช่น การทำงานที่ใช้แรงมากเกินไป, การเดิน การยืน และการนั่ง กล้ามเนื้ออักเสบมักจะเกิดขึ้นกับอาการเจ็บและบวมที่กล้ามเนื้อ โดยอาจเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ หรือเป็นอาการเรื้อรัง จากการได้รับบาดเจ็บ เราสามารถสังเกตได้เองจากกล้ามเนื้อตึงหลังจากการออกกำลังกาย หรือ จาการทำงานหนก ซึ่งการปวดเมื่อยและความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นมักจะค่อย ๆ มีอาการแย่ลงเมื่อปล่อยผ่านไปหลายสัปดาห์จะส่งผลต่อกลุ่มกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ทั้งหลาย เช่น คอ หัวไหล่ หลัง ขา และสะโพก ปวดกล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่เกิดจากการได้รับอุบัติเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อตึง หรือเป็นอาการจากโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ที่ก่อนจะเป็นไข้หวัดใหญ่จะมีอาการครั่นเนื้อครั่นทุกครั้ง และโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตนเอง หรือเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ทุกกลุ่มและทุกวัยมีความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้ออักเสบได้เช่นกัน ไม่ใช่แค่กลุ่มที่ชอบออกกำลังกาย และกลุ่มคนทำงานที่ต้องยกของหนัก เป็นต้น
อาการของกล้ามเนื้ออักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับส่วนไหนของร่างกายก็จะส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อ หากปล่อยไว้ไม่รักษาจะทำให้การอักเสบของกล้ามเนื้อที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาในระยะยาวรุนแรงมากขึ้น สาเหตุส่วนใหญ่จะพบว่าการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน, การออกกำลังกายที่ผิดวิธี หรือเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อซ้ำๆ ก็ทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อนำไปสู่การอักเสบที่รุนแรง

ชนิดของกล้ามเนื้ออักเสบ

1. Polymyositis (PM): เป็นโรคกล้ามเนื้ออักเสบที่มีผลกระทบต่อกล้ามเนื้อหลายกลุ่มทั่วร่างกาย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวข้อต่อใหญ่ เช่น สะโพกและไหล่
อาการของ Polymyositis สามารถพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยทั่วไปแล้วจะมีลักษณะ ดังนี้
กล้ามเนื้ออ่อนแรง เริ่มจากกล้ามเนื้อใกล้ลำตัว เช่น สะโพก ไหล่ คอ และหลัง อาการอ่อนแรงนี้สามารถทำให้การทำกิจกรรมประจำวัน เช่น ยืนขึ้นจากเก้าอี้ ปีนบันได หรือยกของเป็นเรื่องยาก
ปวดกล้ามเนื้อ บางครั้งอาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อร่วมด้วย
ปัญหาการกลืนอาหาร ในบางกรณี กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืนอาจได้รับผลกระทบ ทำให้กลืนลำบาก
การอักเสบของปอด ในกรณีที่รุนแรง อาจมีการอักเสบของปอดร่วมด้วย
2. Dermatomyositis (DM): เป็นกล้ามเนื้ออักเสบที่มักจะมีผื่นผิวหนังร่วมด้วย อาการทางผิวหนังอาจเกิดขึ้นก่อนหรือหลังอาการกล้ามเนื้ออักเสบได้ อาการของ Dermatomyositis ประกอบด้วย
ผื่นผิวหนัง มีผื่นแดงหรือม่วงที่เปลือกตา แก้ม จมูก ข้อศอก ข้อเข่า ข้อเท้า และบริเวณอื่นๆ ของร่างกาย ผื่นนี้มักมีลักษณะเฉพาะเรียกว่า “Heliotrope Rash”
กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อใกล้ลำตัว เช่น สะโพก ไหล่ คอ และหลัง
ปวดกล้ามเนื้อ บางครั้งอาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อร่วมด้วย
กลืนลำบาก ในบางกรณี กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืนอาจได้รับผลกระทบ ทำให้กลืนลำบาก
อาการอื่นๆ อาจมีอาการปวดข้อ อ่อนเพลีย และน้ำหนักลด
3. Inclusion Body Myositis (IBM): เป็นกล้ามเนื้ออักเสบที่มีลักษณะเฉพาะคือมีการสะสมของโปรตีนผิดปกติในกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและเสื่อมสภาพไปตามเวลา

สาเหตุการเกิดกล้ามเนื้ออักเสบ

สาเหตุที่กล้ามเนื้ออักเสบเกิดมาจากพฤติกรรมการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของเรา ทำให้เกิดการกระทบ หรือแรงกระแทกกับสิ่งของส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บและฟกช้ำ เช่น
1. ภาวะร่างกายเกิดการติดเชื้อที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้ออักเสบส่วนมากมักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น เชื้อไวรัสโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ และเชื้อไวรัสเอชไอวี
2. การเล่นกีฬาประเภทฟุตบอลเกิดจากแรงปะทะของนักฟุตบอลที่คู่แข่งยกเท้ามายันที่ต้นขาอย่างแรง จึงทำให้กล้ามเนื้อต้นขาเกิดการฟกช้ำ
3. การใส่รองเท้าสั้นสูงเดินเร็วหรือวิ่งทำให้กล้ามเนื้อตึงเครียดสะสมเป็นเวลานานทำให้เกิดการปวดเมื่อยส่งผลทำให้กล้ามเนื้ออักเสบได้
4. โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ก็เป็นต้นเหตุทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบอ่อน ๆ แต่ไม่รุนแรงได้เช่นกัน
5. เกิดจากกล้ามเนื้ออักเสบชนิดฉับพลัน เริ่มจากสภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
6. การออกกำลังกายแบบการยกน้ำหนัก หรือยกเวท ที่เรียกน้ำหนักมากเกินไป เป็นต้น ทั้งนี้กล้ามเนื้ออักเสบก็เกิดจากผลข้างเคียงของการใช้ยาในการรักษาอาจจะเกิดขึ้นทันทีหลังจากเริ่ม กินยา หรือเกิดขึ้นตามมาในภายหลังเมื่อกินยาเป็นเวลานานหลายเดือน หรือเป็นปีก็เป็นได้ และบางครั้งก็อาจเป็นผลจากยา 2 ชนิดที่กินเข้าไปแล้วทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อกัน แต่อย่างไรก็ตาม กล้ามเนื้ออักเสบจากการใช้ยานี้มักพบได้น้อย

การรักษาอาการกล้ามเนื้ออักเสบเบื้องต้น

การรักษากล้ามเนื้ออักเสบเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการหรือปวดไม่มาก สามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยการหยุดพักกิจกรรมหรืองานที่ต้องใช้กล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดบวม และสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยตนเอง
– โดยวิธีประคบด้วยความร้อนตรงบริเวณที่กล้ามเนื้ออักเสบ
– ฝึกการเหยียดยืดกล้ามเนื้อบริเวณลำตัว โดยการประสานมือเข้าด้วยกันแล้วยืดมือออกไปด้านหน้า จากนั้นค่อยยกขึ้นด้านบน โยกไปด้านซ้ายและขวา
– ทานยาคลายกล้ามเนื้อและยาแก้อักเสบ ที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป (ตามคำแนะนำของเภสัชกร)
– ทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันการหดรั้งของกล้ามเนื้อและป้องกันข้อยึดติด
– ถ้าหากอาการยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง ไม่ควรปล่อยไวนานอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อน และเสียชีวิตได้

วิธีการรักษาอาการกล้ามเนื้ออักเสบทางการแพทย์

ทั้งนี้การรักษาทางการแพทย์ก็จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยมีการอักเสบรุนแรงแค่ไหนและดุลพินิจของแพทย์ที่รักษา เช่น
– รักษาโดยการฉีดยา แต่ขึ้นอยู่กับว่ากล้ามเนื้ออักเสบเกิดมาจากสาเหตุอะไร อาทิ เช่น เกิดจากยา,โรคแพ้ภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
– ให้ทำกายภาพบำบัด เพื่อเป็นการยืดกล้ามเนื้อและการเล่นโยคะ ก็ช่วยได้เช่นกัน
– หากอาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้น อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และหลายชนิด ไม่สามารภระบุได้ว่าสาเหตุหลัก ของกล้ามเนื้ออักเสบเกิดจากสาเหตุอะไร แต่เราสามารถป้องกันได้ไม่มากก็น้อย เช่น
– การรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี เพราะไข้หวัดใหญ่ก็เป็นสาเหตุทำให้กล้ามเนื้ออักเสบได้
– ห้ามฉีดสารเสพติดเข้ากับเส้นเลือดหรือเข้ากล้ามเนื้อเด็ดขาด ส่วนยารักษาโรคที่จำเป็นต้องใช้การฉีดก่อนจะทำการฉีดควรทำความสะอาดผิวหนังบริเวณนั้นให้สะอาดเพื่อไม่ให้เชื้อโรคติดเข้าไปกับปลายเข็มฉีดยา
– หากจำเป็นที่จะต้องใช้ยาที่อาจจะทำให้กล้ามเนื้ออักเสบได้ ควรใช้ในปริมาณตามที่แพทย์จะอนุญาตให้ใช้ได้ รวมทั้งควรตรวจเลือดเพื่อดูว่ายาที่ใช้มีผลทำให้กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บหรือไม่
– ออกกำลังกายแต่พอดี อย่าหักโหม เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ

ทำความรู้จักกับสมุนไพรน่ารู้

กำแพงเจ็ดชั้น
ชื่ออื่น ตะลุ่มนก (ราชบุรี) น้ำนอง มะต่อมไก่ (เหนือ) ขาวไก่ เครือตากวาง ตากวาง ตาไก่ (อีสาน)

สรรพคุณ ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ เนื้อไม้ ต้มน้ำดื่ม แก้โรคไต แก้ท้องผูก ยาระบาย แก้ลมตีขึ้น ลำต้น แก้ปวดเมื่อย คลายเส้นเอ็น (เข้ายากับ ตาไก่ ตากวง อ้อยดำ ขมิ้นเกลือ ดูกหิน ตับเต่า ใช้ลำต้นของทุกต้นรวมกัน มาต้มน้ำดื่ม)

ตำรับยาของตาไก้ ใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อย แก้กระษัย บำรุงกำลัง ใช้ตาไก้ ตากวง เถาวัลย์เปรียง เถาวัลย์เหล็ก (เครือเขาแกลบ) ต้มกินเป็นประจำ
ยาพื้นบ้าน ใช้ ต้น รสเมาเบื่อฝาดสุขุม ต้มน้ำดื่ม หรือดองสุรา แก้ปวดเมื่อย หรือเข้ายาระบาย (ผสมกับรากตูมกาขาว รากชะมวง และรากปอด่อน) บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษทำให้ร้อน บำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง แก้ผอมแห้งแรงน้อย ขับระดูขาว แก้ปวดตามข้อ แก้ไขข้อพิการ เข้าข้อ แก้ประดง ขับผายลม ฟอกและขับเลือดระดู รักษาโรคตับอักเสบ (ผสมกับเปลือกต้นมะดูก)

องค์ประกอบทางเคมี  สารกลุ่ม Friedelane-Type Triterpenes   สารกลุ่ม Oleanane-Type Triterpenes    สารกลุ่ม Ursane-Type Triterpenes   สารกลุ่ม Norfriedelane-Type Triterpenes สารกลุ่ม Eudesmane-Type Sesquiterpene สารกลุ่ม Sulfonium   สารกลุ่ม Xanthone

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา มีฤทธิ์ต้านเบาหวาน โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส และเพิ่มการหลั่งอินซูลิน

ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยบำรุงร่างกาย

ยาแคปซูลผสมสมุนไพรกำลังช้างสาร ตรา สมุนไพรคุณสัมฤทธิ์ สูตร2

400.00 บาท740.00 บาท
Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top