Skin Cancer มะเร็งผิวหนัง

Skin Cancer มะเร็งผิวหนัง

Skin Cancer มะเร็งผิวหนัง

มะเร็งผิวหนังคือการเจริญเติบโตบริเวณผิวหนังที่ผิดปกติอย่างไม่สามารถควบคุมได้ และการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังจนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ผิวหนังได้รับความเสียหาย ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด ทำให้เซลล์ผิวหนังขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยสามารถเกิดขึ้นได้กับผิวหนังทุกส่วนของร่างกาย และแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียงหรืออวัยวะส่วนอื่น ๆ ได้ หากระยะของโรครุนแรงขึ้น
1. โรคมะเร็งผิวหนังมีได้หลากหลายชนิด โดยที่พบบ่อย คือ โรคคาร์ซิโนมา (Carcinima) และเมลาโนมา (Melanoma หรือ Malignant melanoma)
ชนิดที่ไม่ใช่เมลาโนมา เป็นมะเร็งที่เกิดกับเนื้อเยื่อบุผิวของผิวหนัง แบ่งได้เป็น 2 ชนิด ดังนี้
1.1 โรคมะเร็งผิวหนังชนิดเบซาลเซลล์ (Basal cell Carcinoma) เป็นโรคมะเร็งผิวหนังที่พบได้บ่อยที่สุด มักพบในอายุ 40 – 50 ปีขึ้นไป พบในผู้ชายพบมากกว่าผู้หญิง ส่วนใหญ่เกิดในบริเวณใบหน้า มีลักษะเป็นก้อนเนื้อสีคล้ำ เมื่อเป็นน้อย ๆ อาจมองดูคล้ายกระ แต่จะโตเร็ว และแตกเป็นแผลเรื้อรังได้ และมักไม่มีการแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด ดังนั้นจึงมักไม่เป็นสาเหตุให้เสียชีวิต แต่อาจลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองได้
1.2 โรงมะเร็งผิวหนังชนิดสะความัส (Squamous cell carcinoma หรือ SCC) เป็นโรคมะเร็งผิวหนังพบบ่อยรองจากชนิดเบซาลเซลล์ มักพบในอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้น ผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดเท่ากัน เป็นมะเร็งที่รุนแรงกว่าชนิดเบซาลเซลล์ สามารถลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง และแพร่กระจายเข้ากระแสเลือดได้สูงกว่าชนิดเบซาลเซลล์ เมื่อก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ หรือเมื่อเป็นเซลล์มะเร็งที่เซลล์มีการแบ่งตัวสูง ซึ่งเมื่อแพร่กระจาย มักแพร่กระจายสู่ปอด

2. โรคมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (Malignant melanoma) เป็นโรคมะเร็งที่เกิดกับเซลล์สร้างเม็ดสีของผิวหนัง เรียกว่า เมลาโนไซต์ (Melanocyte) เป็นมะเร็งพบได้ทั้งในเด็กโต (ในคนอายุต่ำกว่า 20 ปี พบมะเร็งชนิดนี้ได้ประมาณร้อยละ 1 ของมะเร็งชนิดนี้ทั้งหมด) และจะพบสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น จนพบได้สูงสุดในช่วงอายุ 45 – 65 ปี ต่อจากนั้นจะพบได้น้อยลง ผู้ชายพบได้สูงกว่าผู้หญิงเล็กน้อย เป็นโรคมะเร็งที่มีความรุนแรงสูง โรคลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองและแพร่กระจายเข้ากระแสโลหิตได้สูง ซึ่งเมื่อแพร่กระจายมักไปยัง ปอด กระดูก และสมอง

อาการของโรคมะเร็งผิวหนัง

1. มะเร็งผิวหนังชนิด Squamous cell carcinoma ส่วนใหญ่มาจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์โรคขนคุด โรคเยื่อบุผิวเป็นผื่นสีขาวและโรคอื่น ๆ ที่กลายพันธ์เป็นมะเร็งผิวหนังได้ โรคชนิดนี้มีลักษณะโตเร็ว ในระยะแรกเป็นแผลบนผิวหนัง เป็นตุ่มแข็งนูนขึ้นมาบนผิวให้สัมผัสขรุขระเมื่อลูบดู และดูรูปแบบเหมือนดอกไม้ของผักหรือรูปแบบเหมือนผีเสื้อ ที่ลึก ๆ เข้าไปผิวหนังมักจะรุกลามเป็นพื้นใหญ่ มีลักษณะร้ายแรงทั่วไปจะลามไปกระดูกและมีอาการเป็นหนอง มีกลิ่นมาก มีอาการปวดเป็นต้น หากโรคเป็นที่จะมีอาการเป็นหนองเยอะมากและเลือดออกง่าย ลามไปต่อมน้ำเหลืองที่คอเร็ว
2. มะเร็งผิวหนัง Basal cell carcinoma เป็นมะเร็งผิวหนังที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากการสัมผัสแสงแดดมาก มะเร็งชนิดนี้แพร่กระจายช้า หากพบเร็วการรักษาจะหายขาด พบมากที่บริเวณที่เจอแสงแดดมาก เช่น ในหน้า หนังศีรษะ หู จมูก หน้าอก หลัง ขา มีลักษณะดังนี้ ลักษณะจะเป็นก้อนกลมนูนสีขาว อาจจะเห็นเส้นเลือดที่ผิวของเนื้องอก หลายคนอาจจะมีลักษณะเหมือนสิวที่เป็นๆหายๆ บางคนจะมีลักษณะก้อนแบน ๆ เหมือนไขมัน
 
การสังเกตลักษณะของผิวหนังที่ผิดปกติโดยใช้หลัก ABCDE rules of skin cancer

ความหมายของ ABCDE มีดังนี้
A = Asymmetry มีรูปร่างไม่สมมาตร
B = Border irregularity ขอบไม่เรียบ มีลักษณะขรุขระ
C = Color สีไม่สม่ำเสมอ มีหลายเฉดในจุดเดียว
D = Diameter มีขนาดใหญ่กว่า 6 มิลลิเมตร
E = Evolving มีการเปลี่ยนแปลงของขนาด สี หรือรูปร่าง

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง

เกิดจากสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็ง มีดังนี้
1. โรคทางพันธุกรรมบางโรค
2. คนผิวขาว หรือคนผิวเผือก
3. แสงแดด
4. สารเคมี เช่น สารหนู (Arsenic)
5. ไวรัสหูด (Human Papilloma Virus)
6. แผลเรื้อรัง
7. การได้รังสีรักษา
8. ภาวะภูมิต้านทานต่ำ
9. การสูบบุหรี่

การรักษา

1. การผ่าตัด
2. การรักษาร่วม ได้แก่ การฉายรังสีรักษา, การให้ยาเคมีบำบัด, ภูมิคุ้มกันบำบัด
การรักษามีหลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิด ตำแหน่ง และการลุกลามของโรค โดยทั่วไปมักใช้วิธีผ่าตัดเอามะเร็งผิวหนังออกให้หมด แต่ในบางครั้งมะเร็งถูกทิ้งไว้จนมีขนาดใหญ่เกินที่จะตัดออกหมด อาจรักษาโดยการใช้รังสีรักษา หรือถ้ามีการแพร่กระจาย จะต้องให้เคมีบำบัดร่วมด้วย

ทำความรู้จักกับสมุนไพรน่ารู้

ทองพันชั่ง

ทองพันชั่ง
ชื่ออื่น หญ้ามันไก่ ทองพันดุล ทองคันชั่ง
สรรพคุณ ใบ และราก  รักษากลาก เกลื้อน ผื่นคัน โดยใช้ใบสด และรากโขลกให้ละเอียด แช่เหล้าโรง 1 สัปดาห์ เอาน้ำเหล้าทาบริเวณที่มีอาการ วันละ 2-3 ครั้ง ใบ รสเบื่อเย็น ดับพิษไข้ แก้ไข้ตัวร้อน แก้พยาธิผิวหนัง นำใบสดหรือคั่วแห้ง มาชงในน้ำดื่ม เป็นยาขับปัสสาวะ ยาระบาย  ราก รสเบื่อเมา แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน และโรคผิวหนังที่เป็นน้ำเหลืองบางชนิด
องค์ประกอบทางเคมี ใบพบสารสำคัญคือ rhinacanthin และ oxymethylanthraquinone
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและยีสต์ ฆ่าเชื้อรา Trichophyton rubrum ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคกลาก และมีผลยับยั้งเชื้อรา Epidermophyton floccousm, Microsporum gypseum, Trichophyton mentagrophytes และ T. rubrum ที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง และมีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส สามารถยับยั้งเชื้อไวรัส Herpes simplex type 1 (HSV-1) ซึ่งเป็นสาเหตุของเริม
ข้อห้าม/ข้อควรระวัง สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคหืด โรคโลหิตจาง โรคมะเร็งในเลือด โรคความดันโลหิตต่ำ ไม่ควรรับประทาน

ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน

อิมมูตี้ (สมุนไพรพลูคาว) ตราคุณสัมฤทธิ์

400.00 บาท740.00 บาท
Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top