Obsessive-Compulsive disorder โรคย้ำคิดย้ำทำ

Obsessive-Compulsive disorder โรคย้ำคิดย้ำทำ

Obsessive-Compulsive disorder โรคย้ำคิดย้ำทำ

โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive disorder) เป็นโรคที่ผู้ที่เป็นมีพฤติกรรมที่มีความคิดซ้ำ ๆ ทำให้เกิดความกังวลใจ และมีการตอบสนองต่อความคิดด้วยการทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ เพื่อลดความไม่สบายใจที่เกิดขึ้น ผู้ที่เป็นรับรู้ได้ว่าเป็นสิ่งไม่มีเหตุผล แต่ก็ไม่สามารถหยุดความคิดและการกระทำดังกล่าวได้ และหมดเวลาไปกับอาการดังกล่าว

อาการ

อาการย้ำคิด (obsession) เป็นความคิด ความรู้สึก แรงขับดันจากภายใน หรือจินตนาการ ที่มักผุกขึ้นมาซ้ำ ๆ โดยผู้ป่วยเองก็ทราบว่าเป็นสิ่งที่ไร้เหตุผล เช่น มีความคิดซ้ำ ๆ ว่ามือตนเองสกปรก, คิดว่าลืมปิดแก๊สหรือลืมล็อคประด, จินตนาการเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ หรือการกระทำสิ่งไม่ดีอย่างซ้ำ ๆ, คิดซ้ำ ๆ ว่าตนลบหลู่หรือด่าว่าสั่งศักดิ์สิทธิ ซึ่งความคิดดังกล่าว ทำให้ผู้ป่วยความกังวลใจ ความไม่สบายใจอย่างมาก และรู้สึกรำคาญต่อความคิดนี้
อาการย้ำทำ (compulsion) เป็นพฤติกรรมซ้ำ ๆ ที่ผู้ป่วยทำขึ้น โดยเป็นการตอบสนองต่อความย้ำคิด หรือตามกฎเกณฑ์บางอย่างที่ตนกำหนดไว้ เพื่อป้องกันหรือลดความไม่สบายใจที่เกิดจากความย้ำคิด หรือป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้าย ๆ ตามที่ตนหวั่นเกรง เช่น ต้องล้างมือซ้ำ ๆ, ตรวจสอบลูกบิดประตูหรือหัวแก๊สซ้ำ ๆ , พูดขอโทษซ้ำ ๆ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มากเกินปกติและไม่สมเหตุสมผล
โรคย้ำคิดย้ำทำ พบได้ร้อยละ 2 – 3 ในประชากรทั่วไป โดยเริ่มมีอาการโดยเฉลี่ยที่อายุ 20 ปี โดยพบได้พอ ๆ กันทั้งในผู้ชายและผู้หญิง นอกจากนี้ยังพบร่วมกับโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ได้ เช่น พบโรคซึมเศร้าร่วมด้วยถึงร้อยละ 60 – 90 โรคอื่น ๆ ที่พบร่วมกับโรคย้ำคิดย้ำทำ ได้แก่ โรคกลัวสังคม, โรควิตกกังวลทั่วไป, โรควิตกกังวลแพนิค รวมทั้งการดื่มเหล้าจนก่อให้เกิดปัญหาได้

สาเหตุ

ปัจจัยทางชีวภาพ
1. ในด้านการทำงานของสมอง พบว่าผู้ป่วยมีการทำงานของสมองเพิ่มขึ้นในสมองส่วน orbitofrontal cortex, cingulate cortex, caudate และ thalamus ทั้งนี้บริเวณเหล่านี้อาจรวมกันเป็นวงจรที่มีการทำงานมากเกินปกติในผู้ป่วย OCD
2. ในด้านระบบประสาทสื่อนำประสาท เชื่อว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติในระบบซีโรโทนิน (serotonin) โดยพบว่า ยาแก้ซึมเศร้าที่ออกฤทธิต่อระบบซีโรโทนิน มีประสิทธิภาพในการรักษา OCD
3. ในด้านพันธุกรรม พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค โดยพบว่าอัตราการเกิดโรคในแฝดไข่ใบเดียวกัน (monozygotic twins) เท่ากับ ร้อยละ 60 – 90 ในขณะที่ในประชากรทั่วไป พบร้อยละ 2 – 3

ปัจจัยด้านพฤติกรรมการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ เชื่อว่าการเกิดภาวะเงื่อนไข มีบทบาทสำคัญในการเกิดอาการย้ำคิด โดยสถานการณ์ปกติถูกเชื่อมโยงกับสถานการณ์อันตราย จึงทำให้เกิดความวิตกกังวล สำหรับอาการย้ำทำนั้น ผู้ป่วยเรียนรู้ว่า การกระทำบาบางอย่าง ช่วยลดความกังวลลงได้ จึงเกิดเป็นแบบแผนพฤติกรรมดังกล่าว

การรักษา

การรักษาด้วยยา
1. ยาแก้ซึมเศร้า ยาที่รักษาได้ผลดีใน OCD เป็นยาที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อ ระบบซีโรโทนิน เช่น clomipramine และยาในกลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors (SSRI) ทุกตัว ได้แก่ fluoxetine, fluvoxamine, paroxetine, sertraline และ escitalopram โดยทั่วไปมักใช้ในขนาดที่ใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้า อาการข้างเคียงที่อาจพบได้แก่ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ
2. ยาคลายกังวล ในผู้ป่วยที่มีความวิตกกังวลอยู่สูงอาจใช้ยาในกลุ่ม benzodiazepine ในระยะสั้น ๆ ยาในกลุ่มนี้ไม่มีผลในการักษาอาการย้ำคิด หรืออากาการย้ำทำ
3. ยาต้านโรคจิต ในผู้ป่วยบางรายที่ได้รับการรักษาด้วยยาแก้เศร้าแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านโรคจิต เช่น risperidone ควบคู่ไปกับยาแก้ซึมเศร้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา

การรักษาวิธีอื่น
การรักษาที่ได้ผลดีคือ พฤติกรรมบำบัด โดยการให้ผู้ป่วยเผชิญกับสิ่งที่ทำให้กังวลใจและป้องกันไม่ให้ มีพฤติกรรมย้ำทำทำที่เคยกระทำ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่มักล้างมือก็ให้จับของที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าสกปรก ให้รออยู่ช่วงหนึ่งจึงอนุญาตให้ล้างมือ การฝึกจะทำตามลำดับขั้น เริ่มจากสิ่งที่ผู้ป่วยรู้สึกกังวลน้อยไปหามากและระยะเวลาที่ไม่ให้ล้างมีออาจเริ่มจาก 10 – 15 นาทีไปจนถึงเป็นชั่วโมง หากการรักษาได้ผลผู้ป่วยจะกังวลน้อยลงเรื่อย ๆ จนสามารถจับสิ่งต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องรีบไปล้างมือ
นอกจากนี้ การให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยมีความสำคัญอย่างยิ่ง แพทย์ควรแนะนำสมาชิกในครอบครัวถึงอาการของโรค แนวทางการรักษาและการดูแลผู้ป่วย รวมทั้งแนะนำให้มีท่าทีเป็นกลางต่ออาการของผู้ป่วย โดยไม่ร่วมมือและช่วยเหลือผู้ป่วยเมื่อผู้ป่วยมีอาการ ในขณะเดียวกันก็ไม่ต่อว่าผู้ป่วย เนื่องจากอาจทำให้ผู้ป่วยเครียด และยิงกระตุ้นให้อาการเป็นมากขึ้นได้
การรักษาวิธีอื่นๆ ได้แก่ การทำจิตบำบัดรายบุคคล เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวกับอาการได้ กลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด ในรายที่อาการรุนแรง อาจมีการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การฝังแท่งกำเนิดไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นสมองส่วนลึก ( deep brain stimulation ) หรือ การผ่าตัด ( cingulotomy)

ภาวะแทรกซ้อนของโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)
– ปัญหาด้านสุขภาพ เช่น โรคทางผิวหนังที่เกิดจากการล้างมือบ่อย ๆ
– ปัญหาที่โรงเรียน ที่ทำงาน หรือการเข้าร่วมสังคม
– ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์
โรคซึมเศร้า
– การทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตาย

ทำความรู้จักกับสมุนไพรน่ารู้

พิกุล

ชื่ออื่น กุน แก้ว ซางดง พิกุลเขา พิกุลเถื่อน พิกุลป่า

สรรพคุณ  ดอกแห้ง ใช้เข้ายาหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ ยานัตถุ์ ยาแก้ไข้ แก้ปวดหัว แก้เจ็บคอและแก้ร้อนใน แก้ไข้จับ แก้ไข้หมดสติ แก้ไข้เพ้อคลั่ง แก้อ่อนเพลีย แก้หอบ บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่นใจ แก้ลม บำรุงโลหิต แก้เสมหะ แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิต แก้ปวดตามร่างกาย แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ดอกสด เข้ายาหอม ทำเครื่องสำอาง ฝาดสมาน แก้ท้องเสีย

ตำรายาไทยนำดอกพิกุลมาเข้าในเครื่องยาไทยใน พิกัดเกสรทั้งห้า, พิกัดเกสรทั้งเจ็ด และพิกัดเกสรทั้งเก้า มีสรรพคุณ บำรุงหัวใจ ทำให้ชื่นใจ แก้ลมกองละเอียด วิงเวียน หน้ามือ ตาลาย บำรุงครรภ์ และตำรายาแผนโบราณของไทย พิกุล ถูกนำมาจัดอยู่ใน พิกัดจตุทิพยคันธา ซึ่งประกอบด้วยตัวยาที่มีกลิ่นหอมดั่งยาทิพย์ 4 อย่าง คือ ดอกพิกุล รากชะเอมเทศ รากมะกล่ำเครือ เหง้าขิงแครง มีสรรพคุณบำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ แก้เสมหะ แก้พรรดึก และมีอยู่ในบัญชียาจากสมุนไพร มีการใช้พิกุลในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต 2 ตำรับ คือ ยาหอมเทพจิตร และยาหอมนวโกศ มีการใช้ในตำรัยยาแก้ไข้ คือ ยาเขียวหอม

องค์ประกอบทางเคมี น้ำมันหอมระเหย : ประกอบด้วย 2-phenylethanol 37.80% , methyl benzoate 13.40% , p-methyl-anisole 9.94% , 2-phenylethyl acetate 7.16% , (E)- cinnamyl alcohol 13.72% , 3-hydroxy-4-phenyl-2-butanone 4.74%

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย ทดสอบกับเชื้อแบคทีเรีย 9 ชนิด คือ ชนิด Gram-positive bacteria ได้แก่ Bacillus cereus, Staphylococcus aureus และ Enterobacter faecalis ชนิด Gram-negative bacteria ได้แก่ Salmonella paratyphi, Escherichia coli, Klebsiella pneumoniae, Pseudomonas aeruginosa, Proteus vulgaris และ Serratia marcescens ทดสอบด้วยวิธี agar well diffusion ผลการทดสอบพบว่าสารสกัด methanol ในขนาด 500 μg/well  ออกฤทธิ์สูงสุดต่อเชื้อทุกชนิด

ผลิตภัณที่ช่วยบำรุงร่างกาย

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเอ็นดี ตรา คุณสัมฤทธิ์

400.00 บาท740.00 บาท
Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top