Stages of liver damage ไขมันพอกตับ
ตับทำหน้าที่เหมือนแบตเตอรี่เก็บสะสมพลังงาน การรับประทานอาหารมากเกินไปทำให้เกิดไขมันก่อตัวขึ้นในตับ เมื่อตับไม่ได้นำไขมันไปใช้หรือไม่ย่อยสลายไขมันตามที่ควรจะเป็นก็จะเกิดไขมันสะสมขึ้นที่ตับ ในผู้ที่มีภาวะของโรคอื่นๆ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง รวมถึงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไป การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว และภาวะขาดสารอาหารก็อาจทำให้เกิดโรคไขมันพอกตับได้ อย่างไรก็ตามอาจมีผู้ป่วยบางรายที่เกิดไขมันพอกตับได้โดยไม่มีโรคเหล่านี้
ไขมันพอกตับ(Fatty liver หรือ Fatty liver disease tiอว่า FDI) คือ โรคที่มีใชมันในเลือดเข้าไปจับสะสมอยู่ในตับเกินปกติ คือ ประมาณ 5-10% ของน้ำหนักตับ ทั่วไปมักเป็นไขมันชนิด Triglyceride ไขมันพอกตับเป็นโรคพบบ่อย คือ ประมาณร้อยละ 10-35 ของประชากร อย่างไรก็ตามพบถึงประมาณร้อยละ 75 ในคนเป็นโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน เมื่อตรวจเลือดจากตรวจสุขภาพประจำปีแล้วพบว่า มีการทำงานผิดปกติของตับ ไขมันพอกตับ พบได้ทุกช่วงอายุ ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ

สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค
สาเหตุของStages of liver damage โรคไขมันพอกตับสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (alcoholic fatty liver disease) ความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับประเภท ปริมาณ และระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์
ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (non-alcoholic fatty liver disease) โดยกลุ่มที่ไม่ดื่ม มีสาเหตถและปัจจัยได้หลากหลาย เช่น
มีโรคที่ทำให้ระบบเผาผลาญไม่ดี เรียกว่า กลุ่มอาการเมตาโบลิก (Metabolic syndrome) เช่น โรคอ้วน และน้ำหนักตัวเกิน โรคเบาหวาน โรคความกันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง
ภาวะที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ ยาต้านไวรัสบางชนิด เป็นต้น
การสูบบุหรี่
การติดเชื้อต่าง ๆ เช่น HIV ไวรัสตับอักเสบซี เป็นต้น
ระยะการดำเนินโรค
Stages of liver damage โรคไขมันพอกตับแบ่งระยะการดำเนินโรคได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะแรก เป็นระยะที่มีไขมันสะสมอยู่ในเนื้อตับ แต่ยังไม่มีการอักเสบหรือพังผืดเกิดขึ้นในตับ
ระยะที่สอง เป็นระยะที่เริ่มมีอาการอักเสบของตับ ในระยะนี้หากไม่ควบคุมดูแลให้ดีและปล่อยให้การอักเสบดำเนินไปเรื่อยๆ เกินกว่า 6 เดือนอาจกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง
ระยะที่สาม การอักเสบรุนแรง ก่อให้เกิดพังผืดในตับ เซลล์ตับค่อยๆ ถูกทำลายลง
ระยะที่สี่ เซลล์ตับถูกทำลายไปมาก ตับไม่สามารถทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป ทำให้ตับแข็งและอาจกลายเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุด
อาการ
โดยทั่วไปโรคไขมันพอกตับไม่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย หรือหากมีอาการก็อาจเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจงมากพอที่จะบ่งบอกโรคได้ เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้เล็กน้อย รู้สึกตึงบริเวณใต้ชายโครงขวา โดยส่วนใหญ่การตรวจพบโรคไขมันพอกตับจึงมักพบเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการเจาะเลือดตรวจสุขภาพประจำปีหรือตรวจทางการแพทย์ด้วยเหตุผลอื่นๆ
การป้องกันและลดความเสี่ยงจากไขมันพอกตับ
หากมีน้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนักโดยให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย เช่น 0.25-0.5 กิโลกรัม/สัปดาห์ จนกระทั่งน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน หากเป็นไปได้ควรออกกำลังกายทั้งแบบแอโรบิกและแบบมีแรงต้าน เช่น เดินเร็วครึ่งชั่วโมง แล้วตามด้วยการยกน้ำหนักแบบแรงกระแทกต่ำ
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีไขมันต่ำ กากใยสูง และให้พลังงานต่ำ
หากเป็นเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมโรคให้ดีด้วยการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย
หลีกเลี่ยงการรับประทานยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
ทำความรู้จักกับสมุนไพรน่ารู้
ชื่ออื่น กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว ส้มพอเหมาะ ส้มเก็งเค็ง ส้มปู ส้มพอดี แกงแดง ส้มตะเลงเครง
สรรพคุณ กลีบเลี้ยงมีรสเปรี้ยว แก้อาการขัดเบา แก้เสมหะ ขับน้ำดี ลดไข้ แก้ไอ ขับนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ แก้อ่อนเพลีย บำรุงธาตุ แก้กระหายน้ำ รักษาไตพิการ ขับเมือกมันให้ลงสู่ทวารหนัก ละลายไขมันในเลือด
ตำรายาโบราณ ใช้ทั้งต้นใส่หม้อต้มน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวไฟให้งวดเหลือ 1 ส่วน ผสมกับน้ำผึ้งกึ่งหนึ่ง รับประทานวันละ 3 เวลา หรือจะรับประทานน้ำยาเปล่าๆก็ได้จนหมดน้ำยานั้น เป็นยาฆ่าพยาธิตัวจี๊ด
องค์ประกอบทางเคมี มีสาร Anthocyanin และกรดอินทรีย์หลายตัว เช่น citric acid, mallic acid, tartaric acid, vitamin c ทำให้ปัสสาวะมีฤทธิ์เป็นกรด
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อราอะฟลาทอกซิน ไวรัสเริม ลดความดันโลหิต ยับยั้งเนื้องอก ลดอาการบวม เป็นยาระบาย ขับน้ำดี ขับปัสสาวะ ขับกรดยูริก คลายกล้ามเนื้อเรียบ ลดไข้และลดความเจ็บปวด ปกป้องตับ มีฤทธิ์ระงับปวด และฤทธิ์ลดไข้
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
Ulcerative Colitis ลำไส้อักเสบ
Irritable Bowel Syndrome ภาวะลำไส้แปรปรวน