Ovarian Cancer มะเร็งรังไข่ เนื้องอกรังไข่ ใครบ้างที่เสี่ยง

Ovarian Cancer มะเร็งรังไข่ เนื้องอกรังไข่ ใครบ้างที่เสี่ยง

Ovarian Cancer มะเร็งรังไข่ เนื้องอกรังไข่ ใครบ้างที่เสี่ยง

มะเร็งรังไข่ คืออะไร ?

หมายถึง โรคที่เกิดจากการที่มีเซลล์เจริญเติบโตในรังไข่ผิดปกติ เป็นมะเร็งชนิดหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในรังไข่ ซึ่งเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิงที่ทำหน้าที่ผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิงมะเร็งชนิดนี้เป็นมะเร็งที่เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเนื้อเยื่อบริเวณรังไข่ (Ovary) หรือท่อนำไข่ (Fallopian Tube) ทำให้รังไข่มีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดมีการแพร่กระจาย ซึ่งมักกระจายไปตามเยื่อบุช่องท้องหรือเข้าสู่กระแสเลือด หรือทางเดินน้ำเหลืองจนไปปรากฏยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลือง ปอด หรือ ตับ มะเร็งรังไข่ระยะนี้เรียกว่า ระยะแพร่กระจาย (Metastasis)

มะเร็งชนิดนี้มีกี่ระยะ ? ระยะไหน ที่เพิ่มโอกาสรอด ?

การแบ่งระยะของมะเร็งใช้ระบบของ FIGO (International Federation of Gynecology and Obstetrics) เป็นหลัก โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะใหญ่ๆ ดังนี้

ระยะ 1 (Stage I) มะเร็งจำกัดอยู่เฉพาะในรังไข่
ระยะ 1A มะเร็งอยู่ในรังไข่เพียงข้างเดียว
ระยะ 1B มะเร็งลุกลามไปที่ทั้งสองรังไข่
ระยะ 1C มีการแพร่กระจายออกมานอกรังไข่เช่นผิวรังไข่, มีเซลลมะเร็งในน้ำในช่องท้อง

ระยะ 2 (Stage II) มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ภายในบริเวณอุ้งเชิงกราน
ระยะ 2A มะเร็งลุกลามไปยังมดลูก และ/หรือท่อนำไข่
ระยะ 2B มะเร็งลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ในอุ้งเชิงกราน

ระยะ 3 (Stage III) มะเร็งลุกลามไปนอกบริเวณอุ้งเชิงกรานอยู่ในช่องท้องส่วนบน
ระยะ 3A มะเร็งกระจายนอกอุ้งเชิงกราน แต่ขนาดเล็กไม่สามารถเห็นด้วยตาเปล่า ขนาดไม่เกิน 2 ซม.
ระยะ 3B มะเร็งกระจายนอกอุ้งเชิกกราน ขนาด > 2 ซม. หรือกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน
ระยะ 3C มะเร็งแพร่กระจายไปที่เยื่อบุชายแดนบริเวณช่องท้อง

ระยะ 4 (Stage IV) มะเร็งลุกลามไปอวัยวะนอกช่องท้อง เช่น ปอด ตับ สมอง
ทั้งนี้การพยากรณ์โอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งชนิดนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยระยะของมะเร็งชนิดนี้ที่ตรวจพบในระยะเริ่มแรก และเข้ารับการรักษาทันทีจะมี โอกาสรอดชีวิตก็จะสูงขึ้น

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

1.ปัจจัยทางพันธุกรรม (Genetic factor) โดยเฉลี่ยมะเร็งชนิดนี้ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Hereditary ovarian cancer syndrome) พบได้ร้อยละ 5 ของมะเร็งชนิดนี้ทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นมะเร็งรังไข่ชนิด Serous carcinoma เชื่อว่ามีการถ่ายทอดแบบ Autosomal dominant ซึ่งมีผลทำให้ บุตรแต่ละคนมีโอกาสเกิดมะเร็งชนิดนี้ได้ร้อยละ 50 และจากการศึกษา พบว่า ถ้าไม่มีญาติสายตรงหนึ่งคน เป็นมะเร็งชนิดนี้ สตรีคนนั้นมีโอกาสเกิดมะเร็งชนิดนี้ 5% และโอกาส จะสูงขึ้นเป็น 7% ถ้ามีญาติสายตรงสองคนขึ้นไป
เป็นมะเร็งชนิดนี้ ความเสี่ยงส่วนใหญ่นี้เกิดจากการกลายพันธุ์ของ BRCA1 และ BRCA2 พบญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมพบความเสี่ยงการกลายเป็นมะเร็งชนิดนี้ 6.8% พบการกลายพันธุของหน่วยพันธุกรรม BRCA1 ประมาณ 49% BRCA2 ประมาณ 25% และมีโอกาสเกิดมะเร็งชนิดนี้ในช่วงชีวิตของสตรีคนนั้นสูงถึง 49%

2. อายุ (Age) มะเร็งชนิดนี้พบได้น้อยในสตรีที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี อุบัติการณ์ของมะเร็งชนิดนี้จะสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้นและสูงสุดในช่วงอายุ 50–79 ปี จากสถิติพบอายุค่ามัธยฐานที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งชนิดนี้คือ 63 ปี

3. การมีระดู สตรีที่เริ่มมีระดูเร็ว (ก่อนอายุ 12 ปี) มีและหมดระดูช้า (หลังอายุ 52 ปี) มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งชนิดนี้มากกว่าสตรีที่เริ่มมีระดูช้าและเข้าสู่วัยหมดระดูเร็ว เทียบกับวัยหมดประจำเดือนที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 45 ปี

4. ปัจจัยด้านการเจริญพันธุ์ (Reproductive factor) เชื่อว่าการตกไข่อย่างต่อเนื่องซ้ำซากเป็น Capsular trauma ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติของผิวรังไข่จนทำให้เซลล์เยื่อบุรังไข่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งได้ นอกจากนี้ ยังมีรายงานการใช้ยากระตุ้นการตกไข่ในสตรีมีบุตรยากทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งชนิดนี้เพิ่มขึ้น 2-3 เท่า สตรีที่มีบุตรยากหรือมีบุตรน้อยจะมีโอกาสเสี่ยง ต่อการเป็นมะเร็งรังไข่ชนิดเนื้อเยื่อบุผิวสูงขึ้นราว 1.9-2.7 เท่า

5. การมีบุตรและการตั้งครรภ์ จัดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ไม่เกี่ยวกับพันธุกรรมที่สำคัญที่สุดของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ โดยพบว่าการคลอดครบกำหนดแต่ละครั้ง จะลดการเกิดมะเร็งชนิดนี้ลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งชนิดนี้จะลดลงเรื่อยๆ ตามจำนวนครั้งของการ ตั้งครรภ์ และสตรีที่ไม่มีบุตรมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดนี้มากกว่าสตรีที่มีบุตรถึง 2.4 เท่า และการตั้งครรภ์หนึ่งครั้งสามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวได้ร้อยละ 60

6. การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน พบว่าสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ สตรีที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทานเป็นระยะอย่างน้อย 5 ปีจะลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งชนิดนี้ลงประมาณร้อยละ 50 และการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน พบว่ายาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ 42%

7. การใช้ฮอร์โมนทดแทน การใช้ฮอร์โมนทดแทนหลังหมดประจำเดือน (Hormone Replacement Therapy: HRT) มีข้อดีคือช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ แสบร้อนในช่องคลอด ปัสสาวะบ่อย ลดปวดจากการมีเพศสัมพันธ์ ทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น ลดความเครียด ซึมเศร้า กังวล ทำให้ดูแข็งแรงขึ้น ลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ด้วย แต่การใช้ฮอร์โมนทดแทนก็มีข้อเสียเช่นกัน คือ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดนี้ เมื่อใช้ฮอร์โมนทดแทนมากกว่า 10 ปี ขึ้นไป
8. การฉายรังสีในอุ้งเชิงกราน มีประวัติของการฉายรังสีในอุ้งเชิงกรานในการรักษามะเร็งทวารหนัก อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งชนิดนี้ ร้อยละ 0.29

9. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental factor) โดยเฉพาะในประเทศอุตสาหกรรม มักจะพบอุบัติการณ์ของมะเร็งชนิดนี้สูงกว่าประเทศอื่นๆ โดยเชื่อว่าสารบางชนิดที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งชนิดนี้ ได้แก่ Asbestos แป้งฝุ่น (Talc) ที่ใช้ทาบริเวณอวัยวะเพศภายนอก การบริโภคอาหารประเภทเนื้อและไขมันจากสัตว์ การสัมผัสกับสารกัมมันตภาพรังสี และรังสีที่ปริมาณสูง รวมทั้งการที่ร่างกายเคยได้รับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคคางทูม (Mump) มาก่อน

10. พฤติกรรม (Lifestyle)

10.1 โภชนาการและอาหาร สตรีที่มีค่าดัชนีมวลกาย (body mass index, BMI) มากกว่า 30 ถึง 39 มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดนี้ 15 เท่าเทียบกับสตรีที่มีดัชนีมวลกายปกติ ความเสี่ยงของมะเร็งชนิดนี้ สัมพันธ์กับปริมาณคอเลสเตอรอลที่สูง และความเสี่ยงจะลดลงด้วยการบริโภคผัก วิตามินเสริม เบต้า แคโรทีนและวิตามินบีรวม

10.2 คาเฟอีน ไม่พบความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งชนิดนี้ แต่การสูบบุหรี่ทุกวันมีผลเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งชนิดนี้

ผลิตภัณฑ์แนะนำดูแลภายในสตรี

Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top