Ulcerative Colitis ลำไส้อักเสบ
โรคลำไส้อักเสบ (Ulcerative Colitis) คือ โรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหารชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดการอักเสบที่เยื่อบุผนังบริเวณลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้เกิดแผลที่ผนังทางเดินอาหาร โดยอาการอักเสบที่เกิดขึ้นส่งผลให้เกิดเลือดออกที่ผนังลำไส้ ทำให้ลำไส้บีบตัวตัวเร็วขึ้น ผู้ป่วยจึงมีอาการปวดท้อง ท้องร่วง ถ่ายมีมูกเลือดปนออกมา ทั้งนี้เกิดจากการหลุดลอกของเยื่อบุผนังลำไส้ที่มีเกิดการอักเสบนั่นเอง
โรคลำไส้อักเสบเกิดจากสาเหตุใด
ทางการแพทย์ยังไม่พบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ แต่สาเหตุที่เป็นไปได้นั้นอาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานผิดปกติ เพราะโดยปกติแล้วระบบภูมิคุมกันจะทำหน้าที่ป่องกันและกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายอย่างเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย แต่เมื่อระบบภูมิคุมกันทำงานผิดปกติจึงทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น ดังนั้นจึงทำให้เกิดการติดเชื้อและการอักเสบที่ลำไส้ตามมา
ส่วนในกรณีที่ผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานผิดปกติเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดอาการลำไส้อักเสบเรื้อรังได้ และนอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ได้แก่ โรคลำไส้อักเสบจากยาปฏิชีวนะ, ภาวะลำไส้อักเสบเน่าตาย, โรคลำไส้อักเสบจากภูมิแพ้, อักเสบจากลำไส้ใหญ่ขาดเลือด, การฉายรังสีรักษา เป็นต้น
อาการที่บ่งชี้ว่าคุณกำลังเป็นโรคลำไส้อักเสบ
อาการที่พบได้บ่อยในโรคลำไส้อักเสบ คือ ท้องเสียหรือท้องร่วงร่วมกับปวดท้อง โดยอาการปวดท้องนั้นจะมีลักษณะแบปวดบีบ ๆ นอกจากนั้นอาจมีอาการอื่นที่พบร่วมด้วย เช่น
– ลักษณะอุจจาระอาจเหลว เป็นน้ำ เป็นมูกหรือเป็นมูกเลือด
– มีไข้สูง หรือ ไข้ต่ำ รู้สึกหนาวสั่น
– คลื่นไส้ อาเจียน
– อ่อนเพลีย
หากท้องเสียมาก มีอาเจียนร่วมด้วย และดื่มน้ำได้น้อย อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้ ซึ่งถ้ามีอาการดังที่กล่าวมาอย่างรุนแรง อาการไม่ดีขึ้นหรืออาการแย่ลงภายใน 24 ชั่วโมง ควรรีบไปโปโรงพยาบาลพบแพทย์ แต่ถ้ากรณีมีไข้สูง ปวดท้องมากและเกิดอาการจากภาวะขาดน้ำ เช่น ตาโหล ปากแห้ง วิงเวียน เป็นลม ใจสั่น ตองรีบไปโรงพยาบาลโดยทันที
ทางการแพทย์ยังไม่พบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ แต่สาเหตุที่เป็นไปได้นั้นอาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานผิดปกติ เพราะโดยปกติแล้วระบบภูมิคุมกันจะทำหน้าที่ป่องกันและกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายอย่างเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย แต่เมื่อระบบภูมิคุมกันทำงานผิดปกติจึงทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น ดังนั้นจึงทำให้เกิดการติดเชื้อและการอักเสบที่ลำไส้ตามมา
ส่วนในกรณีที่ผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานผิดปกติเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดอาการลำไส้อักเสบเรื้อรังได้ และนอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ได้แก่ โรคลำไส้อักเสบจากยาปฏิชีวนะ, ภาวะลำไส้อักเสบเน่าตาย, โรคลำไส้อักเสบจากภูมิแพ้, อักเสบจากลำไส้ใหญ่ขาดเลือด, การฉายรังสีรักษา เป็นต้น
อาการที่บ่งชี้ว่าคุณกำลังเป็นโรคลำไส้อักเสบ
อาการที่พบได้บ่อยในโรคลำไส้อักเสบ คือ ท้องเสียหรือท้องร่วงร่วมกับปวดท้อง โดยอาการปวดท้องนั้นจะมีลักษณะแบปวดบีบ ๆ นอกจากนั้นอาจมีอาการอื่นที่พบร่วมด้วย เช่น
- ลักษณะอุจจาระอาจเหลว เป็นน้ำ เป็นมูกหรือเป็นมูกเลือด
- มีไข้สูง หรือ ไข้ต่ำ รู้สึกหนาวสั่น
- คลื่นไส้ อาเจียน
- อ่อนเพลีย
การตรวจวินิจฉัยโรคลำไส้อักเสบ
โดยการวินิจฉัยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังประกอบด้วย
– การตรวจร่างกาย ตรวจอุจจาระ ตรวจเลือด (CBC) เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไม่
– การตรวจค่าเกลือแร่ในร่างกาย เพื่อตรวจดูภาวะขาดน้ำ
– การตรวจเพาะเชื้อจากอุจจาระหรือจากเลือด และแพทย์อาจสั่งตรวจรายการอื่น ๆ เพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยที่แพทย์ตราจพบและดุลพินิจของแพทย์ เช่น การเอกซเรย์ภาพของช่องท้องกรณีที่คนไข้ปวดท้องมาก เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อน
หากโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น
– ภาวะลำไส้ทะลุ ผนังลำไส้ใหญ่เปราะบางลงและแตกได้ง่าย หากมีการทะลุเป็นรูเกิดขึ้นมา เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ลำไส้ใหญ่อาจออกมาและไปอยู่ในช่องท้องทำให้เกิดการติดเชื้อในช่องท้อง นำไปสู่การติดเชื้อในกระแสเลือดได้
– ภาวะลำไส้ใหญ่โป่งพองชนิดรุนแรง การอักเสบที่รุนแรงอาจทำให้ผนังลำไส้ใหญ่ขยายตัวและขัดขวางการหดตัวของกล้ามเนื้อ นำไปสู้การอุดตันของลำไส้ใหญ่จากการที่ลำไส้บีบหรือเคลื่อนตัวไม่ได้ อาการท้องอืด
– ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังอาจพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ หากเป็นลำไส้อักเสบเรื้อรังมาเป็นระยะเวลานานอาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้
การรักษาโรคลำไส้อักเสบ
– การรักษาตามอาการ คือ การป้องกันภาวะขาดน้ำด้วยการให้กินผงละลายเกลือแร่โออาร์เอส หรือถ้าขาดน้ำมากจะให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ และให้รับประทานอาหารอ่อนหรืออาหารเหลว โดยแพทย์อาจให้ทานยาแก้ปวดและยาแก้คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
– การรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะ กรณีเกิดการอักเสบจากติดเชื้อแบคทีเรีย หรือการให้ยาฆ่าเชื้อราเมื่อมีการอักเสบเกิดจากเชื้อรา เป็นต้น
การป้องกันโรคลำไส้อักเสบที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อสามารถป้องกันได้โดย
1. รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
2. รักษาความสะอาดของอาหาร น้ำดื่มโดยเฉพาะน้ำแข็ง ห้องครัว เครื่องใช้ในการปรุงอาหาร
3. อาหารควรปรุงให้สุกอย่างทั่วถึง
4. ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
5. ใช้ส้วมเสมอในการขับถ่าย เพื่อลดโอกาสเกิดโรคระบาดติดต่อทางอุจจาระ
6. กรณีที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ ควรศึกษาสุขอนามัยของประเทศที่จะไปก่อนเสมอ โดยเฉพาะเรื่องน้ำดื่มและอาหารการกิน
สำหรับการป้องกันโรคลำไส้อักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุจากการติดเชื้อ เป็นโรคที่ไม่สามารถป้องกันได้ดังนั้นเราจึงควรใส่ใจความสะอาดของอาหารที่รับประทานและการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งนี้เพื่อช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ
ทำความรู้จักกับสมุนไพรน่ารู้
ชื่ออื่น กฏุกกโรหินี ข่าตาแดง ข่าหยวก ข่าหลวง ข่าใหญ่
สรรพคุณ เหง้าแก่ รสเผ็ดร้อน ขม รับประทานเป็นยาขับลม บำรุงธาตุ เป็นยาระบายอ่อน ๆ แก้ไอ ช่วยย่อยอาหาร แก้บิด แก้ปวดท้องจุกเสียด กินแก้โรคปวดข้อ และโรคหลอดลมอักเสบ ขับน้ำคาวปลา ขับรก ใช้ภายนอกทารักษากลากเกลื้อน แก้ไฟลวด แก้น้ำร้อนลวก แก้ลมพิษ และโรคลมป่วงแก้สันนิบาตหน้าเพลิง ตำกับน้ำมะขามเปียกและเกลือให้สตรีกินหลังคลอดเพื่อขับน้ำคาวปลา แก้ฟกบวม โดยใช้ข่าแก่ฝานเป็นชิ้นบางๆชุบเหล้าโรงทา
องค์ประกอบทางเคมี น้ำมันระเหยง่าย มีกลิ่นฉุน และรสเผ็ด ประกอบด้วย eugenol, cineol, camphor, methyl cinnamate, pinene, galangin, chavicol, trans-p-coumaryl diacetate, coniferyl diacetate, p-hydroxy-trans-cinnamaldehyde, kaemferol, quercetin
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา จากการศึกษาพบว่าน้ำมันหอมระเหยจากเหง้า มีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด เช่น แบคทีเรียที่ทำให้กเดโรคท้องเสีย วัณโรค เป็นต้น และมีฤทธิ์ต้านเชื้อรา จำพวกกลาก และยีสต์ นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยยังมีฤทธิ์ฆ่าแมลง
ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยบำรุงภายใน