Allergic Rhinitis โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

Allergic Rhinitis โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

Allergic Rhinitis โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

Allergic Rhinitis โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นโรคที่พบได้บ่อย ซึ่งโรคนี้เป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายชนิดหนึ่ง โดยเป็น IgE mediated type I hypersensitivity reaction เกิดที่เยื่อบุจมูก จากร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไป ทำปฏิกิริยากับ IgE ชนิดที่จำเพาะต่อสารก่อภูมิแพ้นั้น แล้วเกิดการอักเสบของเยื่อบุจมูกทำให้มีอาการคัน จาม น้ำมูกไหล และคัดจมูก อาการมีตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงมาก อาการดังกล่าวทำให้คุณภาพชีวิตทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ การนอน การทำงาน การเรียน และการเข้าสังคมแย่ลง เมื่อเทียบกับคนปกติทั่วไป

โรคจมูกอักเสบภูมมิแพ้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ดังนี้
1. อาการเป็นช่วง ๆ (Intermittent) คือมีอาการเป็นบางครั้ง โดยอาการน้อยกว่า 4 วันต่อ 1 สัปดาห์ หรือมีอาการติดต่อกันน้อยกว่า 4 สัปดาห์
2. อาการเป็นคงที่ (Persistent) คือมีอาการตลอดเวลา โดยมีอาการมากกว่าหรือเท่ากับ 4 วันต่อ 1 สัปดาห์ และมีอาการติดต่อกันนานกว่าหรือเท่ากับ 4 สัปดาห์

ความรุนแรงของโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้

สามารถแบ่งได้ 2 ระดับ โดยใช้อาการทางคลินิก
1. อาการน้อย (Mild) คือ
– สามารถนอนหลับได้ตามปกติ
– ไม่มีผลต่อกิจวัตรประจำวัน การเล่นกีฬา และการใช้เวลาว่าง
– ไม่มีปัญหาต่อการทำงาน หรือการเรียน
– อาการไม่ทำให้รู้สึกรำคาญ

2. อาการปานกลางหรือมาก (Moderate to Severe) คือมีอาการต่อไปนี้หรือมากกว่า
– ไม่สามารถนอนหลับได้ตามปกติ
– มีผลต่อกิจวัตรประจำวัน
– มีปัญหาต่อการทำงาน การเรียน
– อาการที่ทำให้รู้สึกรำคาญ

สาเหตุของการเกิดโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้

1. Predisposing factor ปัจจัยที่เป็นสาเหตุหลัก ได้แก่ พันธุกรรม โดยที่เป็นโรคภูมิแพ้มีความผิดปกติของ immune response gene ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย และ gene ที่ผิดปกติสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้
2. Primary or Specific factor ปัจจัยที่เป็นสาเหตุโดยตรง ได้แก่ สิ่งที่แพ้ หรือสารก่อภูมิแพ้ ที่พบบ่อยที่สุดคือ สารที่อยู่ในอากาศและเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ เช่น ฝุ่น ตัวไรในฝุ่นบ้าน เกสรพืช ชิ้นส่วนหรือสิ่งขับถ่ายของแมลงที่อาศัยอยู่ในบ้าน เช่น แมลงสาบ ยุง เป็นต้น
3. Secondary and Precipitating factor ปัจจัยเสริมที่ทำให้อาการแสดงออกมา หรืออาการมากขึ้นได้ เช่น โรคติดเชื้อ สารระคายเคืองต่าง ๆ เช่น กลิ่นฉุน ควันต่าง ๆ ฝุ่นละออง และยังมี Physical factor เช่น การออกกำลังกาย การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของอุณหภูมิ ทั้งนี้อาจมี Psychic factor เช่น เครียด วิตกกังวล และความผิดปกติของกายวิภาคในจมูก เช่น ผนังกั้นช่องจมูกคด เป็นต้น

อาการและอาการแสดงของโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้

อาการ
เมื่อสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่นบ้าน จะมีอาการคันจมูก และอาจมีอาการจามติด ๆ กันหลายครั้ง และมีน้ำมูกใส ๆ คัดจมูก อาการมักเป็นอยู่เป็นนาที หรือชั่วโมงหลังจากนั้นจะหายได้เอง อาจมีอาการคันที่ตา คอ หู หรือเพดานปากด้วย และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาการปวดศีรษะ เสียงเปลี่ยน จมูกไม่ได้กลิ่น น้ำมูกไหลลงคอมีลักษณะใส

อาการแสดง
สำหรับผู้ที่มีอาการตั้งแต่อายุยังน้อย และเป็นมานาน ทำให้ต้องหายใจทางปากเสมอ อาจทำให้การเจริญเติบโตของกระดูกใบหน้าและฟันผิดปกติที่เรียกว่า long-face syndrome คือใบหน้าส่วนล่างจะยาวกว่าปกติ เนื่องจากต้องอ้าปากหายใจตลอดเวลา เพดานปากจะแคบและโค้งสูง เวลายิ้มจะมองเห็นส่วนของเหงือกที่อยู่เหนือฟันบนได้มาก เรียกว่า gummy smile และในเด็กที่มีอาการคันจมูก เด็กมักจะยกมือขึ้นขยี้ หรือเสยที่ปลายจมูกบ่อย ๆ เรียกว่า Allergic salute
ขณะที่กำลังมีอาการ ถ้าตรวจจมูกโดยวิธี anterior rhinoscopy จะพบว่าเยื่อบุจมูกโดยเฉพาะ inferior turbinate จะบวม อาจมีสีซีดหรือสีคล้ำ มีน้ำมูกใส ๆ จำนวนมาก เยื่อบุจมูกอาจมี polypoid change หรือมีริดสีดวงจมูกร่วมด้วยได้

การรักษา
แนะนำการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม เช่น รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และรักษาสุขภาพจิตให้สดชื่น แจ่มใส
หากมีอาการของโรคหืด หรือโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง ก็ควรให้การรักษาร่วมด้วย การรักษามี 3 ขั้นตอน คืน
1. การจำกัดหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้, สารระคาย และควบคุมสิ่งแวดล้อม
2. การใช้ยาบรรเทาอาการ ยาที่ใช้รักษา เช่น ยาต้านฮิสทามีน ยาหดหลอดเลือด ยาสเตีนรอยด์ เป็นต้น
3. การฉีดวัคซีน เป็นการฉีดสารก่อภูมิแพ้ที่คิดว่าทำให้เกิดอาการเข้าไปในร่างกายของผู้ที่สามารถพิสูจน์ได้ แต่มีข้อบ่งชี้ในการพิจารณาการรักษาด้วยวิธีนี้ คือ
– ผู้ที่แพ้สารก่อภูมิแพ้ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
– มีอาการมาก โดยมีอาการตลอดทั้งปีและเป็นมานานไม่ต่ำกว่า 1 – 2 ปี หรือมีอาการหืดร่วมด้วย
– ไม่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยยา หรือไม่สามารถทนอาการข้างเคียงของยาได้

ภาวะแทรกซ้อน ในรายที่มีอาการมากและไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ ดังนี้
1. Upper respiratory tract infection เช่น โรคไซนัสอักเสบ, ต่อม adenoid หรือ ต่อม tonsil อักเสบ, ผนังคออักเสบเรื้อรังบางรายการติดเชื้อ
2. Otitis media with effusion (OME) เนื่องจากเยื่อบุจมูก ติดต่อกับเยื่อบุของ nasopharynx และเยื่อบุรอบ ๆ รูเปิดของท่อ eustachian tube เมื่อมีการอักเสบและบวม อุดตันของรูเปิดท่อนี้ก่อน แล้วเกิด OME ตามมา
3. หอบหืด (Asthma)
4. Nasal polyposis
5. Rhinitis medicamentosa

ทำความรู้จักกับสมุนไพรน่ารู้

หอมแดง


ชื่ออื่น หอมแดง (ภาคกลาง  ภาคใต้)  หอมไทย  หอมเล็ก  หอมหัว (ภาคกลาง)  หอมหัวขาว หอมบัว หอมปั่ว (พายัพ)  ผักบั่ว (อีสาน)

สรรพคุณ ใช้หัวแก่จัดๆ กินเป็นยาขับลมในลำไส้  แก้ปวดท้อง  บำรุงธาตุ  แก้หวัดคัดจมูก  ใช้หัวตำสุมหัวเด็กแก้หวัด  ตำผสมพิมเสนและเปราะหอมพอกกระหม่อมเด็กไว้ราว 1 ชม.  แก้หวัดคัดจมูกขยี้ดมแก้ซางชัก  สลบ แก้ไข้เพื่อเสมหะ  อันครืดคราดอยู่ในทรวงอก  แก้ไข้ลดความร้อน แก้ไอ  บำรุงผมให้งอกงาม  ทำเนื้อหนังให้สดชื่น  แก้ไข้ที่ทำให้ร้อนใน  ปวดกระบอกตา  แสบร้อนตา  น้ำตาไหล  ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน แก้โรคปากคอ ฆ่าเชื้อโรค ใช้ภายนอกแก้ลมพิษ ทาแก้สิว แก้พิษแมลงกัด ทาแก้อาการปวดบวมตามข้อ ทำให้ระบบย่อยอาหารดี เจริญอาหาร ทำให้ความดันโลหิตต่ำ ลดไขมันในเลือด แก้อาการอักเสบต่างๆ  น้ำหัวหอมใช้ดมเวลาเป็นลม  เป็นยาบำรุงหัวใจ  และหยอดหูแก้ปวดหู  เมื่อนำมาย่างไฟใช้พอกแผลฝี  แผลช้ำ  ใช้ได้ทั้งกินทั้งทาภายนอก   น้ำหัวหอมเป็นยาบำรุงกำหนัด
บัญชียาจากสมุนไพร ระบุการใช้หัวหอมแดงในตำรับ ยาประสะไพล มีสรรพคุณรักษาระดูมาไม่สม่ำเสมอหรือมาน้อยกว่าปกติ บรรเทาอาการปวดประจำเดือน  และขับน้ำคาวปลาในหญิงหลังคลอดบุตร

องค์ประกอบทางเคมี หัวหอมมีน้ำมันระเหยง่ายที่มีกำมะถัน diallyl disulphide เป็นองค์ประกอบ มีธาตุฟอสฟอรัสสูง

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา จากการศึกษาหอมแดงมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และมีฤทธิ์ปกป้องตับ ไต

อาการไม่พึงประสงค์
น้ำมันนี้มีรสเผ็ดร้อน  ทำให้เคืองตา  แสบจมูก  และอาจทำให้ผิวหนังปวดแสบปวดร้อน

ข้อห้าม/ข้อควรระวัง
หอมแดงอาจชะลอการแข็งตัวของเลือด ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงของการมีเลือดออก ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลือด ผู้ที่วางแผนเข้ารับการผ่าตัด รวมถึงผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ แพทย์แผนไทยก่อนที่จะใช้

ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน

ยาแคปซูลผสมพลูคาว ตราสมุนไพรคุณสัมฤทธิ์

400.00 บาท740.00 บาท
Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top