Neck Twist นวดบิดคอ อันตรายที่ต้องรู้

Neck Twist นวดบิดคอ อันตรายที่ต้องรู้

Neck Twist นวดบิดคอ อันตรายที่ต้องรู้

จากประเด็นดังในช่วงที่ผ่านมา กรณีที่นักร้องสาวเข้าไปใช้บริการนวดที่ร้านแห่งหนึ่ง ซึ่งก่อนหน้านี้มีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ หลังจากไปใช้บริการยวดอยู่หลายครั้ง จนต่อมาอาการชาแขน ขา ตามลำตัว ก่อนจะกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ทราบต่อมาว่ามีการนวดบิดคอ Neck Twist
การนวดบิดคอนั้นมีความเสี่ยงมากๆ ในกรณีที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและอยากบรรเทาอาการด้วยการนวดสามารถนวดได้ไหม สามารถนวดได้แต่ต้องทำการตรวจโดยละเอียด หาสาเหตุอย่างชัดเจนจากแพทย์ แพทย์แผนไทย/แผนไทยประยุกต์ นักกายภาพก่อน เพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้การนวดสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. การนวดไทย/การแพทย์แผนไทย คือ การกระทำโดยมีวัตถุประสงค์เป็นการบำบัด การรักษา และการส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพ โดยผ่านการตรวจ การวินิจฉัยจากแพทย์แผนไทย/แผนไทยประยุกต์ ซึ่งจะไม่สามารถกระทำได้หากไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ตาม พรบ.วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2556

2. นวดแผนไทย/นวดเพื่อสุขภาพ คือ การนวดเพื่อวัตถุประสงค์ในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ความเมื่อยล้า ความเครียด เท่านั้น

ข้อควรระวังในการนวด

1. สตรีมีครรภ์
2. ใส่อวัยวะเทียมหลังผ่าตัดกระดูก
3. ความดันสูงเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท
4. สภาวะข้อหลวม

ข้อห้ามในการนวด

1. มีไข้เกิน 38.5 องศาเซลเซียส หรือ อีสุกอีใส งูสวัด
2. โรคผิวหนังที่มีการติดต่อ
3. ไส้ติ่งอักเสบ
4. โรคติดต่อ เช่น วัณโรค
5. กระดูกแตก หัก ปริ ร้าวที่ยังไม่ติดกัน
6. สภาวะผิดปกติของเลือด เลือดไม่แข็งตัว
สภาวะที่มีการอักเสบทั้งระบบร่างกาย

ดังนั้นหากร่างกายแข็งแรงดี พิจารณาโดยถี่ถ้วนแล้วว่าสามารถนวดได้ก็สามารถเลือกได้ตามจุดประสงค์ของแต่ละบุคคล

การบริหารร่างกายเมื่อมีอาการปวดเมื่อย

ท่ายืดกล้ามเนื้อคอ

ท่านี้เป็นท่ายืดกล้ามเนื้อแก้ปวดคอ เริ่มจากนั่งสบาย ๆ บนพื้น แล้วเอามือข้างซ้ายจับศีรษะบริเวณเหนือหูด้านขวา จากนั้นค่อย ๆ โน้มคอไปทางซ้ายจนรู้สึกตึง ทำค้างไว้ประมาณ 20 วินาที แล้วสลับข้าง ทำซ้ำกัน 3 เซ็ต (ซ้าย + ขวานับเป็น 1 เซ็ต)

ท่านี้จะช่วยยืดกล้ามเนื้อบริเวณคอด้านหลัง โดยให้เอามือทั้งสองข้างประสานไว้ที่ท้ายทอย จากนั้นค่อย ๆ โน้มคอลงไปข้างหน้า ทำค้างไว้ 20 วิ ประมาณ 3 เซ็ต จะรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น

ท่ายืดกล้ามเนื้อไหล่ แขน และสะบัก

ท่ายืดกล้ามเนื้อไหล่และแขนส่วนบน เป็นท่าเบสิกยอดฮิต เริ่มจากยืดแขนขวาไปด้านซ้าย แล้วพับแขนซ้ายขึ้นมาทับไว้ จากนั้นค่อย ๆ เอี้ยวตัวไปด้านซ้ายเล็กน้อยจนรู้สึกตึงที่แขนและกลางหลัง ทำค้างไว้ประมาณ 10 วิ แล้วสลับข้าง ทำ 3 เซ็ต (ซ้าย + ขวานับเป็น 1 เซ็ต)

ท่ายืดกล้ามเนื้อบริเวณสะบักและต้นแขนด้านหลัง เริ่มจากยกแขนขวาแล้วพับศอกไปที่ด้านหลัง จากนั้นใช้แขนซ้ายจับข้อศอกขวาเอาไว้ แล้วดึงศอกขวาลงจนเริ่มตึง ทำค้างไว้ 10 วิ แล้วสลับข้าง ประมาณ 3 เซ็ต (ซ้าย + ขวานับเป็น 1 เซ็ต)

ท่ายืดกล้ามเนื้อไหล่ บ่า และหลัง

ท่ายืดกล้ามเนื้อบริเวณบ่าและหลัง เริ่มจากนั่งหลังตรง เอามือขวาเอื้อมไปด้านหลัง มือซ้ายจับที่เข่าขวา แล้วค่อย ๆ เอี้ยวตัวไปด้านขวาให้ช่วงสะบักตึง ทำค้างไว้ 20 วิ แล้วสลับข้าง ทำ 2-3 เซ็ตน่าจะเพียงพอแล้ว

ท่ายืดกล้ามเนื้อแก้ปวดไหล่และหลัง เริ่มต้นจากยืนตัวตรง เอามือประสานไว้ที่ด้านหลังให้แขนตึง อกแอ่น จากนั้นค่อย ๆ ยกแขนขึ้นจนรู้สึกตึง หรือเจ็บแปลบ ๆ ที่เส้นบริเวณสะบัก ทำค้างไว้ 10 วิ ประมาณ 3 เซ็ต แล้วหลังจะค่อย ๆ หายตึง

ผลิตภัณฑ์แนะนำที่ช่วยบรรเทาอาการปวดตามกล้ามเนื้อและคอ

Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top